AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกไฮเปอร์ กับสมาธิสั้น แตกต่างกันอย่างไร?

เด็กไฮเปอร์ คือเด็กสมาธิสั้นจริงหรือไม่ เป็นคำถามที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนสงสัย จริงๆ แล้ว “ไฮเปอร์” เป็นเพียงแค่อาการอยู่ไม่สุข ไม่อยู่นิ่งของเด็กๆ ไม่จำเป็นว่าเด็กทุกคนที่มีอาการไฮเปอร์จะมีสมาธิสั้นด้วยเสมอไป เพราะสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการไฮเปอร์นั้นมีอยู่มากมาย

เด็กไฮเปอร์ เกิดจากอะไร?

ไฮเปอร์นั้นเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยนั้น ได้แก่ เกิดจากสมาธิสั้น, เกิดจากการที่เด็กมีไอคิวสูง, เกิดจากพัฒนาการทางระบบประสาทล่าช้า, เกิดจากการที่เคยได้รับความกระทบกระเทือน หรือติดเชื้อของสมอง และเกิดจากไฮเปอร์โดยธรรมชาติ

เด็กสมาธิสั้น เกิดจากอะไร?

อาการสมาธิสั้น เกิดจากความผิดปกติของสมอง โดยที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ว่าอะไรทำให้สมองมีความผิดปกติ แต่จากวิทยาการทางวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า เกิดจากพันธุกรรม ซึ่งมีส่วนในการถ่ายทอด และส่งผลต่อสมอง ทำให้สมองบางส่วนบกพร่อง โดยเฉพาะส่วนของสมาธิ เกิดการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กัน และอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

วิธีสังเกตให้รู้ว่าลูกไม่ได้ สมาธิสั้น

อาการหลักๆ ของโรคสมาธิสั้นนั้น มีเพียงไม่กี่อาการเท่านั้น โดยจะมีอาการมาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ซึ่งสังเกตได้ดังนี้

1.เป็นเด็กขี้ลืม เพราะความจำระยะสั้นไม่ดี วอกแวกง่าย อยู่กับอะไรได้ไม่นาน ยกเว้นเกม ทีวี คอมพิวเตอร์

2.มีอาการเหม่อลอย จัดลำดับความสำคัญก่อนหลังไม่ได้ หลงๆ ลืมๆ มึนงงตลอดเวลา ซึ่งพบได้ในเด็กโต

3.อยู่ไม่นิ่ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา ใจร้อน และมีอารมณ์รุนแรง

อ่านต่อ “ไฮเปอร์ หรือสมาธิสั้น รักษาได้หรือไม่?” คลิกหน้า 2

เด็กไฮเปอร์ หรือ สมาธิสั้น รักษาได้หรือไม่?

สำหรับอาการของเด็กไฮเปอร์นั้น สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ แต่อาการของโรคสมาธิสั้น สามารถรักษาได้เพียง 10-15% เท่านั้น ซึ่งจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แต่ก็จะไม่หายขาด จะเหลือประมาณ 60% ที่ติดตัวไปจนโต โดยจะเริ่มทำการรักษาเมื่อ

1.การเรียนตกลง โดยจะเริ่มตั้งแต่เด็กประมาณชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ไปจนถึงเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

2.สำหรับเด็กที่มีไอคิวสูง อาจไม่มีผลกระทบกับการเรียน แต่ถ้าเด็กคนนั้นมีสมาธิสั้นก็จะทำให้เด็กมีปัญหา

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

3.คุณครูเริ่มทนพฤติกรรมของเด็กไม่ได้ เริ่มเบื่อหน่ายกับเด็ก คุณพ่อ คุณแม่รู้สึกกังวลสงสัย

4.เพื่อนๆ ของเด็กได้รับบาดเจ็บจากการเล่นที่รุนแรง ผาดโผนมากจนเกินไป

5.เด็กถูกทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยว หรือเริ่มแยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อน

อย่างไรก็ตาม ทั้งอาการไฮเปอร์และสมาธิสั้นนั้น ก็ยังสามารถรักษาได้ ถ้ารู้สาเหตุ การเรียนจะดีขึ้น และเด็กจะภูมิใจในตัวเองมากขึ้น

อ่านต่อ “การรักษาเด็กไฮเปอร์ และสมาธิสั้น” คลิกหน้า 3

การรักษา เด็กไฮเปอร์ และสมาธิสั้น มีดังนี้

1.ฝึกปรับพฤติกรรม และกระตุ้นพัฒนาการ (เหมาะสำหรับเด็กที่มีอาการไม่มาก และยอมอยู่นิ่งๆ ให้ฝึก)

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

2.การกินยา ซึ่งจะได้ผลประมาณ 70-80% ส่วนใหญ่จะดีขึ้นภายใน 1-4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของยา

3.ช่วยเหลือเด็กเรื่องการเรียน ในกรณีที่เด็กมีปัญหาเรื่องการเรียนรู้ หรือมีพัฒนาการทางระบบประสาทช้า เรียนไม่ทันเพื่อน ด้วยการสอนแบบตัวต่อตัวจะช่วยเด็กได้

4.ดูแล และทำความเข้าใจ แนะนำเทคนิคในการเลี้ยงดูลูกน้อยกับผู้ปกครอง

5.การรักษาทางเลือก โดยการใช้ออกซิเจนแรงดันสูง ซึ่งพบว่าได้ผลดี โดยไม่ต้องกินยา หรือใช้ยาน้อยลง ใช้เวลาในการรักษาสั้น และเห็นผลไม่เกิน 1-2 เดือนโดยประมาณ

เครดิต: น.พ. ชลภัฏ จาตุรงคกุล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น, น.พ. จอม ชุ่มช่วย ร.พ. ยุวประสารทไวทโยปถัมภ์, Breastfeedingthai.com

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

สัญญาณเตือนสมาธิสั้น 7 ข้อที่พ่อแม่ต้องสังเกต

เทคนิคดูแลเรื่องเรียน เมื่อลูกสมาธิสั้น

ภัยจากทีวี อย่าปล่อยให้ลูกน้อยเป็นเด็กสมาธิสั้น และออทิสติก

Save

Save