การพาลูกไปพบ จิตแพทย์เด็ก ก็เพราะว่าการพบคุณหมอด้านพัฒนาการหรือจิตแพทย์เด็ก เป็นหนึ่งในวิธีรักษาและคำแนะนำที่ถูกต้องเหมือน ๆ กับการป่วยด้วยโรคไข้หวัด ไอ เจ็บคอ นั่นเอง
จิตแพทย์เด็ก (Child Psychiatrist) ถือว่าเป็นแพทย์หรือหมอสาขาหนึ่ง แต่คนทั่วไปอาจจะไม่คุ้นเคยมากนัก และไม่คิดว่าจำเป็นที่จะต้องพบแพทย์ในสาขานี้ บางคนค่อนข้างที่จะปฏิเสธทเสียด้วยซ้ำ ด้วยความเชื่อที่ว่า การพบจิตแพทย์หมายถึงผู้ที่เป็นโรคทางประสาทเท่านั้น
แต่ในความจริงแล้ว ไม่เสมอไปว่าจะต้องถูกวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคทางประสาทแล้วจึงค่อยพบจิตแพทย์ ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่… ทั้งนี้ จิตแพทย์เด็ก ไม่ได้ให้คำปรึกษาเฉพาะเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการทางสมองหรือร่างกายเท่านั้น แต่ยังให้คำปรึกษากับเด็กที่ดูและเห็นว่ามีพัฒนาการปกติโดยทั่วไปด้วย
โรงพยาบาลทั่วประเทศไทย ที่มี จิตแพทย์เด็ก คอยแนะนำ
เพราะในชีวิตประจำวันเราเจอเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมายที่ส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิด แต่ไม่ได้แสดงผลในทางไม่ดีหรือทางจิตในทันที แต่จะเป็นในลักษณะสะสมและส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรมในที่สุด หากรอจนถึงวันที่คิดหรือมีคำสั่งจากแพทย์ว่าควรจะต้องพบจิตแพทย์อาจจะสายเกินไปแล้วก็เป็นได้
สำหรับผู้ใหญ่อาจมีภูมิคุ้มกันที่ดีเนื่องจากผ่านสิ่งต่างๆ มามาก สามารถที่จะเอาตัวรอดจากสภาวะหรือสิ่งต่างๆ รอบตัวได้ แต่สำหรับเด็กซึ่งอยู่ช่วงของการเรียนรู้และซึมซับสิ่งรอบตัว การได้พบจิตแพทย์บ้างถือเป็นสิ่งที่ดี
⇒ Must read : 5 พฤติกรรมพ่อแม่ ทำลูกเครียดร้องไห้
⇒ Must read : ภาวะเครียดในเด็ก แก้ไขอย่างไร ?
การพาเด็กมาพบจิตแพทย์ยังไม่เป็นที่นิยมกันนักเพราะเกรงคนจะนินทาว่า “ลูก เป็นบ้า” กลัวจะเสียประวัติเด็ก ทั้งนี้เป็นเพราะสังคมไทยยังไม่ใคร่ยอมรับในเรื่องปัญหาทางจิตใจนัก แต่ในปัจจุบันก็มีผู้เริ่มสนใจบ้างตามสมควร การมาพบจิตแพทย์ก็เช่นเดียวกับการไปพบแพทย์อื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นการไปพบเพื่อ
1. ปรึกษาเพื่อการป้องกัน เช่น พ่อแม่ที่สนใจหรือสงสัยในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก โดยเฉพาะในด้านจิตใจอุปนิสัย ก็ไปพบเพื่อซักถามปัญหาและขอคำแนะนำ หรือบางครั้งอาจมีปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ภายในครอบครัวที่พ่อแม่ไม่แน่ใจว่าจะมีผลต่อจิตใจหรือการแสดงออกของ เด็กหรือไม่ ก็มาปรึกษาเพื่อความสบายใจและจะได้ปฎิบัติให้ถูกต้อง เช่นปัญหาญาติผู้ใหญ่ ปัญหาการอบรมเด็กที่แตกต่างกันในพ่อแม่ เป็นต้น
ในบางครั้งพ่อแม่อาจไม่แน่ใจในเรื่องความถนัดของเด็กในการเรียน การเข้าโรงเรียนประจำ การเลือกวิชาชีพ การรับทุนไปเรียนเมืองนอกว่าจะเหมาะสมกับนิสัยและความสามารถ ของเด็กหรือไม่ สิ่งเหล่านี้จิตแพทย์จะช่วยศึกษาวิเคราะห์ถึงสถานการณ์และตรวจสุขภาพจิตของ เด็กแล้วให้ความเห็นและคำแนะนำได้
คนที่จะขอบุตรบุญธรรมมาเลี้ยงบางคนก็อาจจะมาปรึกษาขอความเห็นว่าสถานการณ์ในครอบครัวของเขาเหมาะสมหรือไม่ เด็กที่จะขอมามีสติปัญญา สุขภาพจิตเป็นอย่างไร และต้องการอะไรเป็นพิเศษบ้าง
คลิกที่นี่! >> เพื่อดูรายชื่อโรงพยาบาลทั่วประเทศไทย ที่มีจิตแพทย์เด็ก คอยแนะนำ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
2. มาขอตรวจสุขภาพจิต เช่นเดียวกับการตรวจสุขภาพทั่วไปว่าร่างกายแข็งแรงดีหรือไม่ ขณะนี้ในมหาวิทยาลัยบางคณะก็มีการตรวจสุขภาพจิตในการคัดเลือกนักศึกษาแล้ว
3. เมื่อเด็กมีอาการหรือความประพฤติที่สงสัยว่าอาจมีความผิดปกติทางจิตใจ ซึ่งอาจ แบ่งเป็น 3 จำพวก คือ
ก. อาการทางกาย กุมารแพทย์ที่สนใจทางด้านจิตใจและอารมณ์ของเด็กจะบอกได้ว่ามีเด็กเป็นจำนวนไม่น้อยที่มีอาการปวดหัว ปวดท้อง ท้องเดิน อ่อนเพลีย ปวดขา ฯ ซึ่งมีเหตุมาจากจิตใจกังวล เพราะตรวจทางร่างกายแล้วไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด แต่เมื่อได้ซักไซ้เรื่องราวทางส่วนตัวและครอบครัว ก็พบว่ามีเค้าถึงความไม่สบายใจในเด็ก เช่น ปวดท้อง เพราะกลัวถูกดุ ปวดขาเพราะไม่อยากไปโรงเรียน แต่ในบางรายต้องการวิธีการพิเศษมากไปกว่า การถามคำถามตามปกติ
อาการที่ควรสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคทางประสาท ได้แก่ ขยิบตาอยู่ตลอดเวลา กัด เล็บ ดูดนิ้ว ปัสสาวะรดที่นอน ปัสสาวะบ่อย ๆ กระแอมบ่อย ๆ ติดอ่าง ดึงผมตัวเอง หน้ากระตุก ถ่มน้ำลายบ่อย ๆ สะอาดจนเกินไป นอนไม่หลับ ซุกซนอยู่ไม่สุข มือขากระตุกหรือ เปลี้ย ชัก เป็นต้น
ข. อาการทางใจ ได้แก่ท่าทีหงอยเหงา แยกตัว บ่นกลุ้มใจ (พบในเด็กโต) เศร้าซึม ไม่กินอาหาร หวาดกลัวไม่สมวัย อิจฉาน้อง เป็นต้น
ค. อาการทางความประพฤติ ได้แก่ เกเร ก้าวร้าว ชอบรังแกสัตว์ รังแกเพื่อนฝูง พูดหยาบคาย เล่นอวัยวะเพศตนเองบ่อย ๆ หรือไม่ก็แยกตัว เลือกอาหาร กิริยาแปลก ๆ ที่ไม่เหมาะสม เช่นพูดเพ้อเจ้อ มีความหลงผิดระแวงว่าคนจะทำร้าย ไม่ยอมไปโรงเรียนโดยไม่มีสาเหตุ ประพฤติในสิ่งที่ไม่เคยประพฤติ เช่น ทำลายของ ด่าว่าโดยไม่มีเหตุผล พูดคนเดียว เป็นต้น
ง. เด็กมีโรคทางกาย แต่มีการแสดงออกผิดปกติทางความประพฤติด้วย
ทั้งนี้มิได้หมายความว่าเด็กที่มีอาการเหล่านี้ จะเป็นโรคทางจิตเสมอไป แต่สมควรที่จะได้รับการตรวจวินิจฉัย อาจจะโดยพาไปหากุมารแพทย์ก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีโรคทางกายหรือจะตรงไปพบจิตแพทย์เลยก็ได้ เมื่อพบข้อมูลและสาเหตุที่เพียงพอจึงจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคอะไร และควรรักษาอย่างไร
การตรวจของจิตแพทย์ก็คือการสัมภาษณ์พ่อแม่ สัมภาษณ์เด็ก หรือใช้เครื่องเล่นเป็น สื่อในการตรวจเด็กเล็ก ๆ รวมทั้งการตรวจร่างกายและการตรวจพิเศษที่จำเป็น พ่อแม่ควรติดต่อกับจิตแพทย์ก่อนเพื่อจะได้เตรียมในการบอกเด็ก ไม่ควรใช้วิธีหลอกเด็กมา แต่ก็ต้องมีศิลปในการอธิบายกับเด็กด้วย
การรักษามีหลายวิธี อาจกระทำเพียงแนะนำการปฏิบัติของพ่อแม่ต่อเด็ก หรือพบทั้งพ่อแม่และเด็กเพื่อแก้ไขไปพร้อม ๆ กัน หรือพบแต่เด็กเพื่อพูดคุยกันหรือใช้ของเล่นเป็นสื่อความหมายในการแก้ไขสภาพจิตใจที่ผิดปกติ และในบางรายก็อาจต้องใช้ยาช่วยด้วย
⇒ Must read : รวม 11 โรค กับวิธีสังเกต ลูกมีปัญหาสุขภาพจิต
⇒ Must read : จิตแพทย์เตือน! ลูก ชอบดึงผม อาจมีผลกระทบมาจากจิตใจ
พบจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น (ตรวจผู้ที่อายุน้อยกว่า 18 ปี) ที่ไหนดี?
รายชื่อโรงพยาบาลและคลินิคที่มีจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ถ้าใครสนใจสามารถโทรศัพท์ไปสอบถามรายละเอียด (หาเบอร์ได้ไม่ยากจากกูเกิ้ล/1133) เช่น หมอตรวจวันไหน ไปได้เลยหรือต้องนัด เตรียมเอกสารอะไรไปบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ต้องนัดล่วงหน้า นอกจากมีความเร่งด่วนก็สามารถไปได้เลย (แต่เจ้าหน้าที่จะประเมินอีกทีว่าเร่งด่วนขนาดไหน ถ้าไม่ด่วนจริง จะต้องนัดล่วงหน้าค่ะ) ซึ่งถ้าหากลูก ของคุณเป็นเด็กที่มีปัญหาด้านจิตเวช คุณต้องการพาลูกไปพบกับจิตแพทย์ สามารถติดต่อกับโรงพยาบาลใกล้บ้านได้ ดังนี้…
อ่านต่อ “รวมโรงพยาบาลทั่วประเทศไทยที่มีจิตแพทย์เด็กคอยแนะนำ” คลิกหน้า 3
โรงพยาบาลในเขตกรุงเทพฯ ที่มีจิตแพทย์เด็กคอยแนะนำ
โรงพยาบาลในเขตปริมณฑล ภาคกลาง ภาคตะวันออก-ตะวันตก และภาคใต้ตอนบน ที่มีจิตแพทย์เด็กคอยแนะนำ
โรงพยาบาลในจังหวัดภาคเหนือ ที่มีจิตแพทย์เด็กคอยแนะนำ
อ่านต่อ “รวมรายชื่อโรงพยาบาลภาคใต้และอีสาน ที่มีจิตแพทย์เด็กคอยแนะนำ” คลิกหน้า 4
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
โรงพยาบาลในจังหวัดภาคใต้ ที่มีจิตแพทย์เด็กคอยแนะนำ
โรงพยาบาลในจังหวัดภาคอีสาน ที่มีจิตแพทย์เด็กคอยแนะนำ
หากพ่อแม่มั่นใจในการเลี้ยงดู ความอบอุ่นของครอบครัว และที่สำคัญมั่นใจในการเป็นแบบอย่างที่ดีของลูก และลูกมีพัฒนาการที่ปกติดี การพาเด็กไปพบจิตแพทย์อาจไม่จำเป็น
แต่สำหรับพ่อแม่ที่ไม่ได้มีเวลาเลี้ยงดูเต็มที่ หรือไม่มั่นใจนักกับการเป็นแบบอย่างที่ดีของลูก เช่น อาจจะเป็นคนเสียงดัง ใจร้อน เจ้าระเบียบ หรือมีการทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัว กรณีเช่นนี้มีความเป็นไปได้ที่เด็กจะซึมซับพฤติกรรมเหล่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อเด็กแน่นอน นอกจากส่งผลต่อพัฒนาการทางอารมณ์แล้ว ยังส่งผลถึงพัฒนาการทางความคิดและสติปัญญาด้วย
สุดท้ายนี้หากแก้ปัญหาด้วยการพาลูกไปพบจิตแพทย์เด็กแล้ว ผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยอาจจะเป็นทั้งคุณพ่อคุณแม่ คุณตาคุณยาย เพราะบุคลิกภาพของผู้คนรอบข้างหากปฏิบัติด้วยกฎที่ไม่เหมือนกันจะทำให้เด็กรู้สึกสับสน ดังนั้นอย่าโทษใครสักคนว่าเป็นคนผิด เพราะการเลี้ยงดูเด็กสักคนในบ้านนั้นต้องอาศัยการใส่ใจจากทุกคนค่ะ
อ่าน “บทความดี ๆ น่าสนใจ” ได้ที่นี่!
- เด็กฆ่าตัวตาย ปัญหาใหญ่ของสังคม!
- แวร์ โซว ป่วยหนักซึมเศร้า คิดฆ่าตัวตายพร้อมลูกสาว
- พ่อหนุ่มเผย!“น้องมายู” ดื้อจนรับมือไม่ไหว ต้องพาพบจิตแพทย์ (มีคลิป)
ข้อมูล : กองบรรณาธิการ AMARIN Baby & Kids, ทีมสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต, ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย, www.childanddevelopment.com
, หมอไปป์_แฮปปี้คิดส์ ขอบคุณข้อมูลภาพอินโฟกราฟิค จาก : พญ.โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ กรมสุขภาพจิต