นักจิตวิทยาแนะวิธีเลี้ยงลูกให้ห่างไกล ภัยจากโซเชียลมีเดีย - amarinbabyandkids
ภัยจากโซเชียลมีเดีย

นักจิตวิทยาเด็กแนะเทคนิค! เลี้ยงลูกให้ห่างไกล ภัยจากโซเชียลมีเดีย

event
ภัยจากโซเชียลมีเดีย
ภัยจากโซเชียลมีเดีย

การเลี้ยงลูกในโลกยุคไอที ตัวแปรใหม่ของศตวรรษที่ 21ซึ่งให้คุณประโยชน์มาก แต่สามารถให้โทษได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ต้องพึงระวัง นั่นคือ ภัยจากโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นอันตรายอย่างหนึ่งที่อาจทำให้ลูกน้อยสูญเสียความเป็นคนไปเลยก็ว่าได้

สำหรับเรื่องนี้ นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้ากลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ได้เขียนเตือนคุณพ่อคุณแม่ให้ระวังลูกๆ ของภัยที่มาจากโซเชียลมีเดีย สำหรับเด็กในวัย 0-8 ปี ซึ่งจะมีอะไรบ้าง และคุณพ่อคุณแม่ต้องรับมือ หรือป้องกันอย่างไร มาดูกันค่ะ

ภัยจากโซเชียลมีเดีย สำหรับเด็กในวัย 0-8 ปี มีอะไรบ้าง

เข้าโซเชียลมีเดีย เด็กได้อะไร

ไอทีหรือ IT ย่อมาจาก Information and Technology ไอที เป็นตัวแปรใหม่ของศตวรรษที่ 21 ซึ่งให้คุณประโยชน์มาก แต่สามารถให้โทษได้ด้วยเช่นเดียวกับเทคโนโลยีชนิดอื่นๆ

ซึ่งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเป็นนวัตกรรมที่ไม่เพียงเปลี่ยนวิถีชีวิตของทุกคนรวมทั้งปู่ย่าตายายและพ่อแม่ที่ก้มหน้าเพื่อใช้เครื่องมือสองชิ้นนี้ แต่ไอทีเปลี่ยนสมองและวิธีทำงานของสมองด้วย

>> ประเด็นแรกคือ “สมอง” ลูกกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา พ่อแม่ควรมั่นใจหรือควรกังวลว่า… สมองลูกจะพัฒนาเป็นรูปแบบใด และท้ายที่สุดแล้ว สมองที่ได้มาจะเหมาะสมหรือดีพอต่ออนาคตของเขาหรือไม่?

>> ถัดจากสมอง คือ “จิตใจ” ไอทีและเครื่องมือ 2 ชิ้นนี้รบกวนการอบรมเลี้ยงดูในรูปแบบเดิมที่มักจะสั่งสอนให้ลูกช่วยงานหรือทำงาน ซึ่งเด็กแทบทุกคนใช้เวลาในแต่ละวันส่วนหนึ่งแทนที่จะเล่นจริงๆ หรือทำงานจริงๆ ไปกับการใช้ไอทีด้วย!

>> วัตถุประสงค์อื่นๆ พ่อแม่ควรมั่นใจหรือกังวลว่า… จิตใจของลูกจะพัฒนาไปอย่างไร และกลายเป็นรูปแบบใด

แต่อย่างไรก็ดีต้องยอมรับว่าทักษะสำคัญสำหรับการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 คือ ทักษะไอที (IT Skills) ทักษะไอทีประกอบด้วย

  1. ทักษะการเสพข้อมูล
  2. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล
  3. ทักษะการใช้เครื่องมือ

ยกตัวอย่าง = เด็กโต เมื่อครูให้การบ้านมาชิ้นหนึ่งที่ต้องการการค้นคว้าหาข้อมูล เด็กจะเข้าไปในเน็ตแล้วใช้เครื่องมือค้นหาสักชิ้นหนึ่ง เช่น กูเกิ้ล ผลลัพธ์ที่ได้มีเป็นร้อยๆ จนถึงหลักแสน เด็กจะต้องเสพข้อมูลมหาศาลนี้เพื่อเขียนรายงานส่งครูตามกำหนด ดังนั้นจึงไม่สามารถอ่านทั้งหมดได้แน่นอน เด็กจึงจำเป็นต้องฝึกทักษะการคัดสรรแล้วอ่านด้วยความเร็วที่ใช้ได้ ควรอ่านชิ้นไหนและไม่อ่านชิ้นไหน รู้ได้อย่างไรว่าชิ้นไหนเป็นเอกสารชั้นต้นและน่าเชื่อถือ ชิ้นไหนเป็นเอกสารที่คัดลอกกันต่อๆมาหรือไม่น่าเชื่อถือ เป็นต้น และเมื่อลูกเข้าโซเชียลมีเดีย ก็ควรได้ฝึกทักษะนี้อยู่เสมอ ควรอ่านข่าวอะไรและไม่ควรอ่านข่าวอะไร ควรใส่ใจการสนทนาอะไร และไม่ควรสนใจการสนทนาอะไร เป็นต้น หรือ ดราม่าไหนน่าสนใจ และดราม่าไม่ควรเสียเวลาด้วย คือทักษะที่ต้องการการฝึกฝน นี่คือขั้นที่ 1ทักษะการเสพ

เมื่อได้ข้อมูลที่ผ่านการคัดสรรมาระดับหนึ่งแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือวิพากษ์ ข้อมูล ข้อมูลที่ได้มามีความน่าเชื่อถือระดับใด เรามีข้อแย้งหรือเห็นต่างอะไรบ้าง ด้วยเหตุผลอะไร เหตุผลนั้นควรมาจากความฉลาดทางปัญญา มิใช่อารมณ์
จากวิพากษ์ถึงวิเคราะห์ สามารถวิเคราะห์ไปจนถึงสังเคราะห์ ความรู้ใหม่ จะทำเช่นนี้ได้เมื่อเด็กได้เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ บางสิ่งเป็นข้อมูล บางสิ่งเป็นข่าวสาร และบางสิ่งเป็นความรู้ นี่คือขั้นที่ 2 ทักษะการวิเคราะห์

เด็กไม่เพียงใช้ไอทีเป็น แต่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือไอทีที่เหมาะสมเป็นด้วย เพราะเครื่องมือไอทีพัฒนาทุกปีด้วยความเร็วที่น่าตกใจ เพียงไม่กี่ปีเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะก็ไม่สามารถทำงานได้รวดเร็วทันการณ์ เหตุเพราะเราไม่สามารถทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะได้ทุกเวลา เราทำงานได้เร็วกว่าและอาจจะดียิ่งกว่าจากทุกสถานที่และเวลาเมื่อใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตที่สะดวกใช้และเป็นมิตรกับผู้ใช้

ยกตัวอย่าง เด็กโตหรือวัยรุ่น ในประเทศที่มีขนส่งมวลชนหลากหลายทั้งรถเมล์ รถไฟใต้ดิน รถไฟ รถยนต์ และเครื่องบิน การเดินทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งสามารถคำนวณความเร็วและราคาได้ด้วยเครื่องมือไอทีและแอปพลิเคชั่นที่เหมาะสม ต่างจากการสำรวจเส้นทางและราคาในเอกสารกระดาษทีละแผ่นๆอย่างมาก ความเร็วที่ต่างกันถึงที่หมายเร็วช้าต่างๆกัน การทำงานก็เช่นกัน ใครเร็วกว่าด้วยความถูกต้องมากกว่ามีโอกาสมากกว่า นี่คือขั้นที่ 3 ทักษะการใช้เครื่องมือ

แท็บเล็ตเสริมพัฒนาการ

จะเห็นว่าเมื่อเด็กๆ เข้าสู่โซเชียลมีเดีย พ่อแม่คาดหวังว่าเขาจะมีทักษะไอทีทั้ง 3 ประการนี้ดีขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามจะดีหรือไม่ดีขึ้นกับคำสำคัญคำหนึ่งคือ เป้าหมายเด็กๆเข้าสู่โซเชียลมีเดียโดยมีเป้าหมายหรือตั้งเป้าหมายอะไร เข้าไปเพื่อสนทนา เพื่อเล่นเกม เพื่ออ่านข่าว หรือเพื่อทำงาน เหล่านี้มีเป้าหมายต่างกัน และพัฒนาทักษะ 3 ประการต่างๆกัน ประเด็นจึงกลับไปที่เรื่อง “เวลา” เด็กๆ ควรบริหารเวลาอย่างไร?

อ่านต่อ >> “ภัยจากโซเชียลมีเดีย สำหรับเด็กในวัย 0-8 ปี มีอะไรบ้าง” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up