คอนแท็กเลนส์สำหรับเด็ก เหมาะสำหรับลูกวัยประถมแล้วหรือยัง?
คอนแท็กเลนส์สำหรับเด็ก

คอนแท็กเลนส์สำหรับเด็ก เหมาะสำหรับลูกวัยประถมแล้วหรือยัง?

Alternative Textaccount_circle
event
คอนแท็กเลนส์สำหรับเด็ก
คอนแท็กเลนส์สำหรับเด็ก

คอนแท็กเลนส์สำหรับเด็ก นั้น เจฟฟรีย์ เจ แวลีน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจักษุมาตร จากมหาวิทยาลัยประจำรัฐโอไฮโอ ให้ความเห็นว่า การใส่คอนแท็กเลนส์ ช่วยเพิ่มความมั่นใจเรื่องภาพลักษณ์และการเข้าสังคม ให้เด็กก่อนวัยรุ่น (โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง) และเพิ่มความคล่องตัวในการเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวด้วย  หากจะตัดสินว่าลูกควรใส่แว่นต่อไป หรือเปลี่ยนมาใส่คอนแท็กเลนส์ ควรพิจารณาจากปัจจัยต่อไปนี้

คอนแท็กเลนส์สำหรับเด็ก วัยประถม

  • ความเห็นของจักษุแพทย์

    ใส่คอนแทคเลนส์ได้ตอนอายุเท่าไร
    ลูกสามารถใส่คอนแทคเลนส์ได้ตอนอายุเท่าไร

    เด็กที่สายตาสั้นมากๆ จักษุแพทย์อาจแนะนำให้ใส่คอนแท็กเลนส์แทนการใส่แว่นเพื่อไม่ให้สายตาสั้นลงอีก แต่เด็กอีกกลุ่มหนึ่ง การใส่คอนแท็กเลนส์อาจทำให้สายตาสั้นขึ้นได้ด้วย ดังนั้นจึงควรปรึกษาจักษุแพทย์และวัดสายตาใหม่ก่อน

  • ลูกดูแลเรื่องความสะอาดได้หรือไม่

    ใส่คอนแทคเลนส์
    ลูกสามารถใส่คอนแทคเลนส์ได้ตอนอายุเท่าไร

    คอนแท็กเลนส์เพิ่มความสะดวกให้แก่ชีวิตประจำวัน แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากจะใส่คอนแท็กเลนส์ ลูกต้องรู้จักรักษาความสะอาด ล้างมือบ่อยๆ ระวังไม่ให้ฝุ่นหรือสิ่งสกปรกเข้าตา รวมทั้งถอดคอนแท็กเลนส์ออกล้าง เก็บใส่ตลับ และไม่ใส่คอนแท็กเลนส์ขณะนอนหลับ

  • ลูกมีปัญหาด้านสายตามากกว่า 1 ข้อหรือเปล่า

    ปัญหาด้านสายตา
    ลูกสามารถใส่คอนแทคเลนส์ได้ตอนอายุเท่าไร

    หากลูกของคุณสายตาสั้นและสายตาเอียงรวมกัน เขาจะต้องใส่คอนแท็กเลนส์ที่ผลิตขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งราคาสูงกว่าปกติ

มาชมคลิปวิธีการใส่คอนแท็กเลนส์สำหรับเด็ก

 

โรคตาในเด็กเล็ก (ข้อมูลจาก รพ. กรุงเทพ)

เด็กเล็กๆ ส่วนใหญ่มักเป็นโรคทางกล้ามเนื้อตา เช่น ตาเขเข้า โรคตาขี้เกียจ โดยพบในวัยก่อนวัยเรียน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ควรใส่ใจ โดยก่อนอายุ 5 ปี ควรพาลูกไปพบจักษุแพทย์ พ่อแม่ควรมีแนวทางการดูแลสุขภาพตาของลูกด้วยตนเองไว้บ้าง ช่วงอายุที่ควรจะพาลูกไปพบจักษุแพทย์อาจแบ่งได้เป็น 3 ระยะ โดยทั่วไปโอกาสที่จะเกิดโรคตาในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนมี 3 ช่วงเวลา ได้แก่ อายุแรกเกิด-6 เดือน อายุ 1-3 ปี และอายุ 3-5 ปี

 

อายุแรกเกิด- 6 เดือน

ถ้าพ่อแม่สังเกตเห็นลูกมีตาเขเข้าในหัวตา อย่างชัดเจน หรือคิดว่าตาดำมีลักษณะผิดสังเกต เช่น ตาดำสองข้างไม่เท่ากัน ควรพาลูกไปตรวจ เพื่อที่จะได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องว่า ตาเขที่สังเกตเห็นเป็นตาเขปลอม หรือตาเขจริงที่ต้องแก้ไข ที่สำคัญคือไม่ควรปล่อยไว้จนลูกโตเกินไป การ สื่อสารกับเด็กวัยทารกไม่มีผลต่อผลการตรวจของจักษุแพทย์ เนื่องจากปัจจุบันสามารถใช้เทคนิคต่างๆ ในการตรวจประสาทตา และการตรวจสายตาอื่นๆ มาประกอบกัน ซึ่งจะทำให้ได้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง

อายุ 1-3 ปี

ถ้าพ่อแม่สังเกตเห็นลูกมีตาดำเขเข้าในหัวตาเป็นบางครั้ง โดยเฉพาะเวลาดูอะไรใกล้ ๆ ในช่วงอายุ 2-3 ปี ควรรีบพาลูกมาพบจักษุแพทย์ทันที ไม่ ควรปล่อยไว้ พ่อแม่บางคน เมื่อลูกไม่บ่นว่าเจ็บปวด ก็ละเลย ไม่รีบพาไปหาหมอ เพราะรู้สึกว่าแค่ดูไม่สวยงามเท่านั้น คงไม่มีอันตรายอะไร ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าใจไม่ถูกต้อง

ในบางรายถ้าพาลูกมาตรวจช้าเกินไป ก็อาจมีปัญหาเรื่องการมองเห็นและกลายเป็นโรคตาขี้เกียจได้ คือมีสายตามัวไปข้างเดียว โดยตรวจไม่พบโรคตาอื่น ๆ ใส่แว่นแก้ ก็ไม่ทำให้ระดับสายตาดีขึ้น นอกจากต้องกระตุ้นสายตาด้วยการปิดตาข้างดีเพียงอย่างเดียว การรักษาต้องใช้เวลานานขึ้น อาจจะเป็นปี สาเหตุก็เนื่องมาจากการปล่อยให้ตาเขเข้าในตาข้างใดข้างหนึ่งนาน ๆ จนเด็กไม่มีพัฒนาการด้านการใช้สายตาสองข้างทำงานร่วมกัน เด็กจะมีปัญหาในการดูภาพแบบคนปกติ ไม่สามารถดูภาพสามมิติได้ ทำให้การรักษาต้องใช้เวลาเนิ่นนานต่อไปอีก

อายุ 3-5 ปี

ถ้าพ่อแม่สังเกตเห็นเด็กตาดำเขเข้าหรือเข ออกเป็นครั้งคราวเวลาเด็กเผลอตัว เวลาดูทีวี หรือเข้าไปดูทีวีในระยะใกล้เกินไป พ่อแม่ควรจะพาลูกไปตรวจตา เพราะอาจมีความผิดปกติของสายตาเกิดขึ้นได้ จึงต้องหาสาเหตุกันต่อไป

วิธีสังเกตความผิดปกติของตาลูก

  • สังเกตดูรูปหน้าเปรียบเทียบกันว่าสมดุลกันดีหรือไม่ ด้านซ้ายด้านขวาแตกต่างกันหรือไม่
  • ตาดำสองข้าง มีขนาดเท่ากันหรือไม่รูปตาข้างใดโตกว่าหรือเล็กกว่ากัน
  • เมื่อลืมตาเต็มที่ หนังตาเปิดกว้างเท่ากันหรือไม่ บางคนหนังตาตกข้างเดียว ทำให้มีอุปสรรคต่อการมองเห็น
  • มีสีขาวขุ่นอยู่ตรงกลางโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • น้ำตาไหลเอ่อตาอยู่เสมอ
  • ขยี้ตาอยู่บ่อย ๆ ตาขาวไม่ขาว มีสีแดงเรื่อ ๆ
  • เวลามองแสงจ้าจะหรี่ตาข้างใดข้างหนึ่งเป็นประจำ หรือเงยหน้าดูจึงจะเห็นชัด
  • ลูกตาควรใสสะอาด ไม่ควรมีขี้ตา ลูกตาดำทั้งสองข้างไม่ควรมีสีขุ่นขาว ต้องดูใส
  • ลูกตาดำมีลักษณะเขเข้าและดูแวววาว คล้ายตาแมวในเวลากลางคืน
  • ลูกตาดำเขเข้าหรือเขออก เป็นบางครั้ง หรือเห็นว่าเขตลอดเวลา
  • เห็นภาพสองภาพ ปวดศีรษะ ตามัว
  • ตาดำสั่นอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถควบคุมการสั่นของลูกตาดำได้
  • มีพัฒนาการทางร่างกายช้า ไม่สัมพันธ์กับการมองเห็น เช่น เด็กอายุ 3-4 เดือน ควรจะมองหน้าและประสานสายตากับแม่ได้ สามารถแสดงกิริยายิ้ม โต้ตอบเมื่อมีอารมณ์พอใจ

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสาร AMARIN Baby & Kids
ข้อมูลโรคในตาเด็ก www.bangkokhealth.com

เด็กสายตาสั้น ป้องกันได้ตั้งแต่ยังเล็ก มาดูกันว่าทำอย่างไร?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up