AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

วิธีรับมือเมื่อลูกน้อยก้าวร้าว พูดจารุนแรง

วิธีรับมือเมื่อลูกน้อยก้าวร้าว พูดจารุนแรง

คำพูดรุนแรง วิธีการพูด และเรื่องที่จะพูดของลูกน้อย ในบางครั้งก็อาจจะทำให้คุณพ่อ คุณแม่หลายคนปวดหัว ต้องกุมขมับ และอยากได้ยินคำพูดที่เข้าท่า เมื่อต้องอยู่ในพื้นที่สาธารณะ การที่ ลูกพูดจารุนแรง อาจเป็นเพราะต้องการสร้างตัวตนของตัวเอง คุณพ่อ คุณแม่จะรับมืออย่างไร

เมื่อ ลูกพูดจารุนแรง ก้าวร้าว

บทสนทนาของลูกชาย มักจะออกไปในทางขี้โม้ พูดเกินจริง ล้อเลียนเรื่องเพศ หรือพูดคำด่าคำ ส่วนสำหรับลูกสาว ก็เน้นไปในเรื่องความสัมพันธ์ต่างเพศ การมีแฟน หรือต่อว่าคนอื่น เมื่อเห็นคนอื่นทำตัวแตกต่าง เช่น ไม่เห็นสวยเลย น่าเกลียด ฯลฯ คุณพ่อ คุณแม่ต้องคอยดูแลพฤติกรรมลูกน้อย ไม่ให้รุนแรงเกินไป

พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก เป็นสิ่งที่พบบ่อยในปัจจุบัน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และมุมมองที่แตกต่างกัน บางครั้งพฤติกรรมก้าวร้าวอาจมีประโยชน์ ในการช่วยปกป้องลูกน้อยจากภัยคุกคาม หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายกับลูกน้อยได้

พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก เป็นสิ่งที่พบบ่อยในปัจจุบัน

ความก้าวร้าวของเด็ก โดยการทำลายข้าวของ ทำร้ายผู้อื่น หรือพูดจารุนแรง ด่าว่าหยาบคาย เสียดสี กระทบกระเทียบ ทำร้ายจิตใจผู้อื่น ทั้งหมดนี้ส่งผลกับผู้ถูกกระทำทั้งสิ้น

เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว มักทำให้มีผลต่อการดำเนินชีวิต มีผลต่อความสัมพันธ์ ทั้งคนในครอบครัว เพื่อน และครู ถ้าไม่ได้รับการแก้ไข ก็อาจจะติดตัวไปจนโต กลายเป็นปัญหาของสังคม และถ้าคนเป็นพ่อ เป็นแม่ใช้อารมณ์ก้าวร้าวนั้นแก้ปัญหา ลูกๆ ก็อาจจะทำตามเป็นแบบอย่าง สร้างปัญหาต่อไปไม่จบไม่สิ้น

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “สาเหตุการป้องกันไม่ให้ลูกก้าวร้าว” คลิกหน้า 2

สาเหตุที่ทำให้เด็กก้าวร้าว

1.ปัจจัยทางชีวภาพ

โครงสร้างทางสมอง และระดับของสารเคมีที่ทำหน้าที่นำสัญญาณประสาทในสมอง มีผลต่ออารมณ์ของเด็กแต่ละคน ทำให้เป็นคนใจร้อน หรือใจเย็น

2.ปัจจัยทางจิตใจ

ลักษณะบุคลิกภาพของเด็กแต่ละคน เกิดจากการเลี้ยงดู ทำให้เกิดความมั่นคงทางอารมณ์สูง หรือต่ำ มีความอดทนมาก หรือน้อย เด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบตามใจ และเอาแต่ใจตัวเอง มักมีปัญหาก้าวร้าว นอกจากนี้ เด็กที่มีภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า สมาธิสั้น อาจจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากจิตแพทย์ เพราะมีอารมณ์หงุดหงิด ก้าวร้าว มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ได้ง่ายกว่าเด็กทั่วไป

3.ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างพฤติกรรมก้าวร้าวในครอบครัว ตัวอย่างพฤติกรรมก้าวร้าวผ่านทางสื่อ เช่น ทีวี วิดีโอ เกม หรือภาพยนตร์

สาเหตุที่ทำให้เด็กก้าวร้าว

การป้องกันไม่ให้ลูกก้าวร้าว

1.คุณพ่อ คุณแม่ต้องทำให้ลูกเป็นตัวอย่าง ด้วยการควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่ใช้ความรุนแรง และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การพูดจาดี วางตัวดี เป็นตัวอย่างจึงสำคัญ เพราะถ้าพ่อแม่ทำไม่ได้ ก็ยากที่จะสอนลูกได้สำเร็จ

2.ฝึกให้ลูกน้อยรู้ว่า คนเรามีความรู้สึกไม่พอใจได้ แต่ต้องแสดงออกให้เหมาะสม สอนให้ลูกรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักสิทธิ์ของตนเองและผู้อื่น มีทักษะในการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง

3.การพูดด้วยอารมณ์ และความรู้สึกไม่พอใจออกมา จะช่วยลดความโกรธลงได้ เช่น นับ 1 – 10 การผ่อนคลายลมหายใจ และการให้อภัย

4.ชมลูกน้อย เมื่อลูกสามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ และแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม

5.คุณพ่อ คุณแม่ควรดูแลสื่อที่ลูกจะได้รับ เช่น ทีวี ภาพยนตร์ เกม หลีกเลี่ยงเนื้อหาที่มีความรุนแรง ก้าวร้าว

6.สร้างบรรยากาศในบ้านให้อบอุ่น มีความใกล้ชิดกันในครอบครัว ลูกน้อยจะมีความอุ่นใจ มีความมั่นคงในจิตใจ การควบคุมอารมณ์ก็จะดีขึ้นไปด้วย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “รับมือเมื่อลูกก้าวร้าว พูดจารุนแรง” คลิกหน้า 3

รับมือเมื่อลูกก้าวร้าว พูดจารุนแรง

1.แสดงให้ลูกรู้ว่า คุณพ่อ คุณแม่ยอมรับอารมณ์ของลูก แต่ไม่ยอมรับพฤติกรรมก้าวร้าว และบอกให้ลูกแสดงออกมาทางอื่น เช่น “แม่รู้ว่าหนูโกรธ แต่หนูจะพูดจาแบบนี้ไม่ได้ ถ้าหนูโมโห จะตะโกน ร้องเพลงเสียงก็ได้”

2.ถ้าเห็นว่าการกระทำของลูกรุนแรง มีการทำลายข้าวของเสียหาย หรืออาจทำให้เกิดอันตราย คุณพ่อ คุณแม่อาจจำเป็นจะต้องจัดการทันที โดยการจับลูกเอาไว้ หรือกอดเอาไว้เพื่อหยุดพฤติกรรม

3.คุณพ่อ คุณแม่ต้องรับฟังลูกน้อย ให้โอกาสให้ลูกได้เล่า โดยไม่ต้องด่วนสรุปว่าลูกผิด ในบางครั้งลูกน้อยเพียงต้องการให้คุณพ่อ คุณแม่รับฟังบ้าง

4.เมื่อลูกสงบแล้ว ควรชี้แจงเหตุผลให้ลูกน้อยได้เข้าใจ ถึงสาเหตุที่ไม่ควรทำ อธิบายให้สั้นและชัดเจน

วิธีสอนลูกไม่ให้ก้าวร้าว

5.หลีกเลี่ยงการพูดตำหนิ หรือทำให้เกิดปมด้อย เช่น ว่าลูกนิสัยไม่ดี ดื้อ เกเร ก้าวร้าว อันธพาล ถ้าจะตำหนิ ให้ตำหนิที่การกระทำ เช่น “แม่ไม่ชอบที่หนูพูดแบบนี้กับคุณปู่”

6.ให้ลูกรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำลงไป เช่น เก็บกวาดของที่เสียหายจากการอาละวาด พูดขอโทษคนที่ลูกพูดจาไม่ดีใส่ งดค่าขนม งดดูทีวี หรืองดเล่นเกม เป็นต้น

ถ้าคุณพ่อ คุณแม่เริ่มรู้สึกว่า ลูกน้อยเริ่มพูดเกินเลย ก้าวร้าว หรือไม่เหมาะสม คุณพ่อ คุณแม่ต้องบอกลูกทันที เช่น “เวลาลูกพูดแบบนั้น อาจจะทำให้คนอื่นเสียใจนะ”, “ลูกควรคิดก่อนพูด เมื่อลูกพูดไปแล้วก็ควรจะสำนึกผิด หรือรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองพูดด้วยนะ” เป็นต้น

การแก้ไขปัญหานี้ อาจเป็นงานยาก ต้องใช้ความอดทน ความพยายาม และความสม่ำเสมอ แต่ถ้าคุณพ่อ คุณแม่ทำได้ ก็จะได้ลูกน้อยที่โตมามีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องการในสังคม เพื่อให้อยู่กันอย่างมีความสุข

เครดิต: นายแพทย์ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย จิตแพทย์โรงพยาบาลมนารมย์, www.thairath.co.th/content/life/38221

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

เลี้ยงลูกอารมณ์ดี มีความสุข ไม่ก้าวร้าว

“เด็กเห็น เด็กทำตาม” ให้ผู้ใหญ่ระมัดระวังพฤติกรรมก้าวร้าวต่อหน้าเด็ก

ลูกก้าวร้าวตามละคร สอนอย่างไร?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Save

Save