AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

10 เคล็ดลับปรับพฤติกรรมลูก ก้าวร้าว พ่อแม่ยุคใหม่ต้องเข้าใจและพร้อมรับมือ

ก้าวร้าว

เด็กในวัยเรียนหรือในช่วงอายุ 6-12 ปี เป็นช่วงที่เด็กใช้เวลาอยู่ในโรงเรียนเป็นส่วนใหญ่ ต้องมีการปรับตัวทั้งด้านการเรียน กฎระเบียบและปรับตัวให้เข้ากับครูและเพื่อน ช่วงนี้เด็กพร้อมที่จะเรียนรู้ทุกด้านและพัฒนาการความสามารถได้อย่างรวดเร็วทั้งร่างกาย จิตใจ ความคิด การใช้ ภาษาและการแก้ปัญหา หากลูกได้รับการปลูกฝังทางพื้นฐานที่ดีและมีพื้นอารมณ์มั่นคงจะสามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้จนมีความมั่นใจในตนเอง และดำเนินชีวิตประจำวันทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนได้อย่างมีความสุขและสบายใจ แต่ถ้าลูกมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ก้าวร้าว รังแกเพื่อน หากไม่ได้รับการช่วยเหลือก็จะทำให้พัฒนาการในวัยนี้หยุดชะงักก็จะส่งผลต่อการเข้าระยะวัยรุ่นและกลายเป็นปัญหาสะสมเรื้อรังต่อไปในอนาคต

ปัญหาพฤติกรรมลูก ก้าวร้าว พ่อแม่ยุคใหม่ต้องเข้าใจและพร้อมรับมือ

พฤติกรรมก้าวร้าวนั้นเกิดได้กับเด็กตั้งแต่ในวัยก่อนเข้าเรียนซึ่งถือเป็นเรื่องปกติและเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการ และพฤติกรรมนี้มักจะลดลงเมื่อเด็กมีทักษะทางสังคมและภาษามากขึ้น เพราะลูกจะเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่น ๆ มากกว่าการใช้กำลังและสามารถยับยั้งอารมณ์ตัวเองได้ดีขึ้น รวมถึงการที่พ่อแม่ได้สอนให้รู้ว่าพฤติกรรมก้าวร้าวนั้นไม่ใช่สิ่งที่ดี แต่ถ้าเข้าสู่วัยเรียนปัญหานี้ยังไม่หายไป ความก้าวร้าวในเด็กอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น

เมื่อลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าว พ่อแม่ควรรับมือและช่วยเหลืออย่างไร?

1.ไม่เพิกเฉยเมื่อลูกแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตว่ามีเหตุการณ์หรือสิ่งเร้าใดที่ส่งผลทำให้ลูกก้าวร้าว ควรหยุดลูกทันทีเมื่อแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น ถ้าเห็นลูกรังแกเพื่อนควรพาลูกออกห่าง เพื่อให้ลูกเรียนรู้ว่าการกระทำดังกล่าวไม่เหมาะสมและจะอดเล่น จากนั้นสอบถามปัญหาถึงสาเหตุที่แสดงอารมณ์ก้าวร้าวพร้อมอธิบายถึงความถูกต้องเพื่อให้ลูกเข้าใจ

2.พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างในการจัดการกับอารมณ์อย่างถูกต้อง การเป็นตัวอย่างที่ดี คือ หัวใจสำคัญของการเลี้ยงดูลูก คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามควบคุมจัดการอารมณ์ตนเองให้ได้ก่อน ไม่ใช้คำพูดหรืออารมณ์ที่รุนแรงต่อหน้าลูกในการจัดการปัญหา การที่พ่อแม่มีอารมณ์ที่สงบและนิ่งได้จะเป็นตัวอย่างให้ลูกได้เห็นว่าเมื่อมีสถานการณ์ที่เครียดไม่เป็นไปดังใจพ่อแม่ก็สามารถนิ่งและมีสติในการจัดการอารมณ์ให้ลูกเห็นได้

3.รับฟังในสิ่งที่ลูกต้องการสื่อสารเสมอ เช่น สนใจในเรื่องที่ลูกเล่า เปิดโอกาสให้ลูกพูดปัญหาที่เกิดขึ้น หรือเรื่องที่ไม่สบายใจ ฯลฯ เพื่อแนะนำหรือเสนอแนะแนวทางแก้ไขแก้ปัญหาที่เหมาะสมเพื่อให้ลูกสบายใจ ควรสอนลูกเมื่อโกรธหรือไม่พอใจและใช้กำลังไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้อง ควรขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่แทนที่จะแก้ปัญหาด้วยความรุนแรง

4.ไม่ควรใช้ถ้อยคำรุนแรงตอบโต้ เมื่อลูกโมโห หงุดหงิด แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ การขึ้นเสียงใส่เพื่อตอบโต้เมื่อลูกตะโกน หรือใช้ถ้อยคำรุนแรงไม่ได้ช่วยให้ลูกเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่กลับทำให้ลูกเข้าใจว่าการใช้กำลังหรืออารมณ์เมื่อเกิดความไม่พอใจเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และยังอาจทำให้เด็กติดนิสัยก้าวร้าวเมื่อต้องการเรียกร้องความสนใจอีกด้วย ดังนั้น พ่อแม่จึงควรรับมือด้วยความใจเย็นและพยายามควบคุมตนเองให้ได้ ช่วยให้ลูกสงบด้วยคำพูดที่อ่อนโยน ใช้วิธีโอบกอด เพื่อให้ลูกสามารถควบคุมอารมณ์ได้ ให้เวลากับลูกได้สงบสติและอยู่ในบรรยากาศที่สงบ เมื่อลูกใจเย็นลงจากนั้นค่อยสอบถามความรู้สึก แสดงถึงความเข้าอกเข้าใจ เพื่อช่วยหาวิธีแก้ปัญหา

5.คุณพ่อคุณแม่ควรแบ่งเวลาในการทำกิจกรรมกับลูก สร้างบรรยากาศที่ดีในครอบครัว เช่น ชวนลูกออกกำลังกาย ออกไปเที่ยวเพื่อเติมประสบการณ์และเสริมทักษะการเข้าสังคมให้กับลูก

6.ให้กำลังใจ เมื่อเห็นความพยายามในการจัดการอารมณ์ได้อย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญพอ ๆ กับการตักเตือนเมื่อเด็กแสดงความก้าวร้าว

7.ชื่นชมเมื่อเด็กประพฤติตัวดี การกล่าวชมเมื่อเด็กรู้จักจัดการกับอารมณ์ของตนเองและปรับตัวได้ดี เช่น เมื่อลูกรู้จักแบ่งปันของเล่นโดยไม่แย่งของจากมือคนอื่น หรือเมื่อเด็กแสดงอารมณ์ด้วยการสื่อสารออกมาเป็นคำพูดแทนการใช้กำลัง เป็นต้น

8.สร้างกติกาข้อตกลงและบทลงโทษร่วมกัน ตั้งข้อตกลงว่าเมื่อมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น สามารถพูดคุยและเปิดเผยกันได้ โดยไม่มีการตำหนิหรือใช้อารมณ์ โดยสอนให้ลูกรู้ว่าการก้าวร้าวไม่ใช่พฤติกรรมที่เหมาะสม และเลือกใช้วิธีการลงโทษที่ไม่รุนแรงเมื่อลูกแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น การตัดรางวัลจากการสะสมดาวความดี การจำกัดเวลาเล่นกับเพื่อน ๆ เป็นต้น จนกระทั่งลูกรับรู้ว่าไม่ควรทำและเกิดความเคยชินจนทำอีก

9.สอนให้ลูกรู้จักยอมรับผิด และเรียนรู้ที่จะขอโทษอย่างจริงใจแทนที่จะแสดงออกด้วยอารมณ์ก้าวร้าว เพื่อให้ลูกว่าพฤติกรรมไม่ดีนั้นจะส่งผลต่อความรู้สึกของอื่น เช่น เพื่อนจะกลัวและไม่อยากเล่นด้วยเมื่อโดนรังแก รวมทั้งสอนให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ทำ เช่น หากทำลายของเล่นเพื่อนที่กำลังเล่นก็ให้ช่วยต่อใหม่ หากขว้างปาของเล่นก็ต้องไปเก็บขึ้นมาเอง เป็นต้น ทั้งนี้ไม่ควรคาดหวังหรือบังคับมากเกินไป ควรให้เด็กเรียนรู้เพื่อปรับพฤติกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไป

10.จำกัดเวลาในการใช้หน้าจอ สมาร์โฟน แท็ปเล็ต ทีวี ถือเป็นสื่อที่มีบทบาทกับเด็กในยุคปัจจุบันที่อาจมีภาพและเสียงความรุนแรงสอดแทรกให้เด็กสามารถเลียนแบบได้ นอกจากนี้มีงานวิจัยบางส่วนชี้ว่าเด็กที่ดูทีวีหรือวิดีโอในโทรศัพท์มาก ๆ จะมีนิสัยก้าวร้าวกว่าเด็กที่ใช้เวลาส่วนนี้น้อยกว่า ดังนั้นในขณะที่ให้เวลาลูกอยู่กับหน้าจอคุณพ่อคุณแม่ควรจำกัดเวลาในการดูและเลือกรายการหรือวิดีโอที่มีเนื้อหาเหมาะสมสำหรับวัยของลูก หรือควรนั่งอยู่ข้าง ๆ เพื่อดูและสอนไปด้วย

ลูกแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงแค่ไหนถึงควรไปปรึกษาแพทย์ ?

ความก้าวร้าวอย่างรุนแรงอาจเป็นสัญญาณของโรคความบกพร่องทางการเรียนรู้หรือความผิดปกติทางอารมณ์ โดยสังเกตลักษณะพฤติกรรมดังต่อไปนี้

ในเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวนั้น มักไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธได้ และจะระบายออกมาด้วยการใช้อารมณ์และความรุนแรง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อตัวเด็กเมื่อไปโรงเรียนหรือเข้าสังคมร่วมกับเด็กคนอื่น ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ช่วยสอนลูกฝึกให้ลูกรู้จักควบคุมตนเองและแสดงความรู้สึกหรืออารมณ์อย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากทว่าเมื่อคุณพ่อคุณแม่หมดหนทางที่จะรับมือไม่สามารถแก้ไขเองได้ หรือตัวเด็กมีปัญหาสุขภาพบางประการ กุมารแพทย์อาจขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิตและใช้แบบประเมินสุขภาพจิตกับเด็ก โดยอาจเฝ้าดูพฤติกรรมของเด็กที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือเมื่อเล่นกับเด็กคนอื่น ๆ จากนั้นจึงวางแนวทางการรักษาที่ถูกต้องต่อไป ซึ่งการแก้ไขมักให้ผลลัพธ์ที่ดีหากคุณพ่อคุณแม่รู้ทัน รับมือ และพาลูกตรวจพบปัญหาตั้งแต่ในระยะแรกเริ่มนะคะ.

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.phyathai.comwww.pobpad.com

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจอื่นๆ :

สร้างลูกให้มี SQ (Social Quotient) ไม่ก้าวร้าว ไม่เอาเปรียบ ส่งผลต่อความสำเร็จในชีวิตอย่างมีความสุข

เลี้ยงลูกอารมณ์ดี มีความสุข ไม่ก้าวร้าว

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids