AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

5 วิธีช่วย เด็กขี้อาย ก่อนกลายเป็นคนไม่กล้าเข้าสังคม

เด็กขี้อาย ใช่บุคลิกของลูกเราหรือเปล่า? เคยสังเกตหรือไม่ว่าลูกเป็นเด็กที่ไม่ชอบแสดงออก  เวลามีงานละคร หรืองานแสดง ลูกก็ดูกังวลกลุ้มใจ ไม่อยากแสดงหน้าเวที  ร้องไห้ทุกครั้งเหมือนถูกบังคับ  และเมื่อโตใกล้เข้าวัยรุ่นแล้วอาการเหล่านี้ก็ยังไม่หายสักที AMARIN Baby & Kids ได้รวบรวมวิธีการป้องกันและแก้ไขมาฝากกันค่ะ

ทำไม เด็กจึงขี้อาย

รู้หรือไม่ว่า การขี้อายนั้น อาจเป็นสาเหตุของ “โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Phobia)” อย่างหนึ่ง และยิ่งในเด็กที่ขี้อายมากๆ  แล้วพ่อแม่กลับผลักดันให้เขาขึ้นเวทีแสดงออกจะยิ่งทำให้ลูกเครียดหนัก  อาการของเด็กกลุ่มนี้จะไม่ชอบการเฝ้ามองและไม่ชอบการประเมินจากสายตาคนอื่น  (ไม่ชอบตกเป็นเป้าสายตา) แม้ว่าอาการเหล่านี้อาจหายไปได้เองในตอนโต แต่ถ้าในวัย 7 – 12 ปี ยังเป็นหนัก จำเป็นจะต้องเข้ารับการดูแลเป็นพิเศษ

อาการของเด็กขี้อาย ที่อาจกลายเป็นการไม่กล้าเข้าสังคมมีดังนี้

ซึ่งเด็กอาจจะปฏิเสธการไปโรงเรียน และหลีกเลี่ยงการไปโรงเรียน  และไม่พูดกับคนอื่นเลย  จะพูดจาเฉพาะกับคนที่คุ้นเคย (Selective Mutism)

 

 อ่านเรื่อง “5 วิธีช่วยเด็กขี้อาย ก่อนกลายเป็นคนไม่กล้าเข้าสังคม” คลิกหน้า 2

5 วิธีแก้ไข เปลี่ยนเด็กขี้อายเป็นคนมั่นใจในตัวเอง

  1. เน้นคำพูดในเชิงบวก  

อย่าทำให้อาการสงวนท่าทีของลูกเป็นเรื่องใหญ่  หรือพยายามบังคับให้เขาเล่นกับเด็กคนอื่นให้มากขึ้น  แต่ควรกล่าวชมเมื่อเห็นเขาพูดคุยเรื่องของตัวเองกับเพื่อนๆ  เช่น  ”แม่ชอบที่หนูเล่าเรื่องนกที่หนูเลี้ยงเอาไว้ให้น้องฟัง  แม่ว่าน้องดูสนใจเอามากๆ เลยละจ้ะŽ”

  1. ขอเวลาสักนิด

ถ้าลูกของคุณยังลังเลที่จะเข้าไปสังสรรค์กับคนอื่น  พยายามให้เขาได้อยู่ในงานนานสัก 1 ชั่วโมง  หรือนานพอที่จะปรับตัวได้  อธิบายให้เขาเข้าใจว่าจะได้มีเวลา หยั่งเชิงŽ เพื่อนๆและไม่อึดอัดที่จะพูดคุยกับเด็กเหล่านั้นมากนัก

  1. ชวนให้ออกไปเล่นกับเด็กคนอื่น

ส่งเสริมให้ลูกได้ออกไปเล่นกับเด็กที่เขาไม่เคยเล่นด้วยมาก่อน  เขาจะได้คุ้นเคยกับการสร้างสัมพันธภาพกับเพื่อนใหม่

4.แต่ให้เขามีเวลาเป็นส่วนตัวบ้าง  

อย่าเข้าใจผิดว่าลูกอายทั้งๆ ที่ตอนนั้นเขาเพียงต้องการเวลาเป็นส่วนตัวเท่านั้นเอง  แม้การเรียกนิสัยเข้ากับคนง่ายกลับคืนมาจะเป็นเรื่องสำคัญ  แต่ลูกวัยพรีทีนก็มีสิทธิ์ได้รับความเป็นส่วนตัวด้วยเหมือนกัน

  1. การรักษาโดยจิตแพทย์

พฤติกรรมบำบัด โดยมักให้เด็กได้ค่อยๆ เผชิญกับสถานการณ์ที่เด็กกลัวหรือตื่นเต้นอยู่ทีละน้อยให้เด็กได้พิสูจน์ “ว่าสิ่งที่เขาคิดกลัวอยู่นั้นเป็นจริงหรือ” อย่าง “ทุกคนต้องหัวเราะเยาะฉันแน่แค่ฉันพูดคำแรก” หรือ การฝึกสอนเด็กให้ รู้จักการเริ่มต้นการสนทนา หัดผ่อนคลายความเครียด ความกลัวของตนเองลง

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสาร AMARIN Baby & Kids, manarom.com