ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีข่าวมาเตือนแม่ท้องกันค่ะ ในหน้าฝนที่มียุงชุมนี้ มีอันตรายที่มาพร้อมกับฝนคือ ไวรัสซิกา ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำลายทารกในครรภ์ได้ ทำไม ไวรัสซิกา คนท้อง ถึงห้ามเป็น? แล้วในสถานการณ์ที่มีผู้ป่วยไวรัสซิกาเยอะขนาดนี้ แม่ท้องจะป้องกันได้อย่างไร? มาดูกันค่ะ
ไวรัสซิกา คนท้อง ห้ามเป็น พบผู้ป่วยในกรุงเทพฯ 124 รายแล้ว
ไวรัสซิกาคืออะไร?
ไวรัสซิกา เป็นเชื้อไวรัสตระกูลเฟลวิไวรัส (flavivirus) ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ไวรัสไข้เหลือง และไวรัสเดงกี ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออก รวมถึงไวรัสเวสต์ไนล์อันเป็นสาเหตุของไข้สมองอักเสบ และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนมียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อทั้งสิ้น ซึ่งโรคไวรัสซิกา เป็นโรคที่มีอาการคล้ายโรคไข้เลือดออก แต่ไม่ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต ไม่สามารถติดต่อผ่านคนสู่คน แต่จะติดต่อจากแม่สู่ลูก ผ่านอสุจิด้วยการมีเพศสัมพันธ์ หรือผ่านทางน้ำนมและสายรก ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกมีการเฝ้าระวังการระบาดอย่างต่อเนื่อง เพราะในขณะนี้ยังไม่มียาและวัคซีนที่รักษาได้ให้หายขาด
พบแล้ว ผู้ป่วยไวรัสซิกาในกรุงเทพฯ ป่วยมากถึง 124 ราย พบในเขตบางนามากสุด
และก็มีข่าวไม่สู้ดีนักว่า ในปีนี้กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข ได้ส่งข่าวเตือนมาดังนี้
นพ.เมธิพจน์ ชาตะเมธีกุล ผอ.กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กทม. เปิดเผยถึงสถานการณ์ผู้ป่วยโรคไข้ไวรัสซิกา ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.- 20 ก.ค. พื้นที่กรุงเทพฯพบผู้ป่วยโรคไข้ซิกา 124 ราย โดยเขตที่พบมากที่สุด คือ 1.บางนา 10 ราย 2.บางแค 9 ราย 3.บางขุนเทียนและมีนบุรี 7 ราย ทั้งนี้ โรคไข้ไวรัสซิกาถือเป็นโรคประจำถิ่นของเรามานานเหมือนโรคไข้เลือดออก และมียุงเป็นพาหะนำโรค แต่ที่ผ่านมาไม่มีการตรวจหาเชื้อ ไวรัสซิกา เนื่องจากมีค่าตรวจแพง ราคา 20,000-30,000 บาท กระทั่งมีข่าว ไข้ไวรัสซิการะบาดที่ประเทศบราซิล จึงมีการตรวจมากขึ้นคือ สามารถตรวจหา เชื้อไวรัสจากปัสสาวะได้ และก็พบผู้ป่วยติดเชื้อเรื่อยมา
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ไวรัสซิกา คนท้อง ห้ามเป็น พบผู้ป่วยในกรุงเทพฯ แล้ว 124 ราย
อย่างไรก็ตาม ไวรัสซิกา จะมีผลต่อหญิงตั้งครรภ์ หากพื้นที่ใดตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสซิกา กทม. โดย สำนักอนามัยและผู้เกี่ยวข้องจะลงพื้นที่ทันที เพื่อดำเนินการตามมาตรการควบคุม โรคระบาด โดยวางกรอบรัศมีการควบคุม 100 เมตร จากพื้นที่ที่พบผู้ติดเชื้อ สำหรับอาการผู้ติดเชื้อ เบื้องต้นมีไข้ ผื่นแดง ตาแดง การป้องกันโรคไข้ไวรัสซิกา เหมือนกับโรคไข้เลือดออกคือ ต้องกำจัด แหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเฉพาะช่วง ฤดูฝน น่าเป็นห่วงมาก เนื่องจากมักมีน้ำขังตามภาชนะต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงได้เป็นอย่างดี จึงขอความร่วมมือประชาชนสอดส่องบริเวณรอบบ้าน คว่ำภาชนะ ปิดฝาอ่างน้ำ หรือเลี้ยงปลาเพื่อกินลูกน้ำ
ขอบคุณข่าวจาก : https://www.thairath.co.th/content/1339711
สาเหตุและอาการของโรคไวรัสซิกา
พาหะของโรคไวรัสซิกา คือ “ยุงลาย” ค่ะ ซึ่งเป็นยุงชนิดเดียวกับยุงที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก และไข้เหลือง สามารถติดต่อได้โดยการถูกยุงลายที่มีเชื้อกัด หลังจากเกิดการติดเชื้อแล้ว จะมีระยะฟักตัวประมาณ 4-7 วันขึ้นอยู่กับสภาพบุคคล โดยมีอาการดังต่อไปนี้
- มีผื่นแดงจ้ำขึ้นตามตัว
- มีไข้ขึ้นสูง
- เยื่อบุที่ตาอักเสบ
- มีอาการปวดอย่างรุนแรงตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ
- รู้สึกไม่สบายตัว
- ปวดหัว วิงเวียนศรีษะ
- ตาแดง
- อาจมีอาการของอุจาระร่วง
แต่สุดท้ายอาการเหล่านี้จะทุเลาลงภายใน 2-7 วัน ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงที ซึ่งไม่รุนแรงเท่ากับโรคไข้เลือดออก แต่หากปล่อยไว้ อาจรุนแรงถึงขั้นระบบการทำงานของสมองผิดปกติได้ สำหรับหญิงกำลังตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสอาจทำให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ได้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ไวรัสซิกากับคนท้อง ทำไม? ไวรัสซิกา คนท้อง ห้ามเป็น
ไวรัสซิกากับคนท้อง ทำไม? ไวรัสซิกา คนท้อง ห้ามเป็น
ผลกระทบของการเกิดโรคไวรัสซิกานั้น ตรวจพบได้ในรุ่นพันธุกรรมถัดไป ซึ่งก็คือทารกที่จะเกิดมา หากพ่อหรือแม่เป็นพาหะที่ติดเชื้อแล้ว จะส่งผลให้ลูกที่เกิดมามีอาการผิดปกติ เช่น พิการทางสมอง ศีรษะเล็ก เหตุที่ต้องให้ไวรัสซิก้าเป็นโรคร้ายแรง ที่ต้องแจ้งความเมื่อพบ ก็เพราะว่าโรคนี้ยังไม่มีทางรักษา และส่งผลต่อระบบพันธุกรรมของมนุษย์ในอนาคต
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
- ทำให้ทารกพิการ
- ทำให้ทารกมีศีรษะเล็กกว่าปกติ
แล้วจะป้องกันโรคไวรัสซิกาได้อย่างไร?
เนื่องจากสาเหตุของโรคเกิดจากยุง วิธีการป้องกันที่ได้ผลที่สุดก็คือคอยระวังไม่ให้ถูกยุงกัดค่ะ โดยเฉพาะแม่ท้องยิ่งต้องควรระวังเป็นพิเศษ โดยมีแนวทางการป้องกันดังนี้
- ไม่ให้ยุงกัด
- กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ที่มักอยู่ในบริเวณน้ำนิ่ง
- หากมีอาการไข้ ผื่นคัน ตาแดง ควรรีบพบแพทย์
- แม่ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังแหล่งที่มีการระบาดของโรค
- ทายากันยุง เพื่อป้องกันยุงกัด
- ควรกางมุ้งในขณะนอนหลับ
- หากคู่สามีภรรยาคาดว่าอาจจะติดเชื้อไวรัสซิกา ก็ให้ชะลอการมีบุตรออกไปก่อน
โรคไวรัสซิกาเป็นโรคที่ไม่รุนแรงสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับ ไวรัสซิกา คนท้อง เป็นแล้วจะอันตรายกับลูกในท้อง จึงเป็นโรคที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก ดังนั้น ทีมงาน Amarin Baby & Kids จึงอยากรณรงค์ให้ทุกคนคอยสอดส่องและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เพื่อคนท้องทุกคนและคนที่เรารักค่ะ
อ่านบทความที่น่าสนใจ คลิก
วิธีกำจัดยุง ป้องกันไข้เลือดออก และไวรัสซิกา
น้ำหนักเด็กแรกเกิด ลูกน้ำหนักตัวน้อยเป็นอะไรไหม?
6 พาหะนำโรค หน้าฝนที่พ่อแม่ต้องระวังให้ดี!
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.honestdocs.co
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่