ลูกเป็นโรคไอกรน แพทย์เตือนเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต! - Amarin Baby & Kids
ลูกเป็นโรคไอกรน

ลูกเป็นโรคไอกรน แพทย์เตือนเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต!

event
ลูกเป็นโรคไอกรน
ลูกเป็นโรคไอกรน

โรคไอกรน เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ จมูก คอ และท่อลม ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ และทำให้เกิดอาการไอที่มีลักษณะเฉพาะ คุณพ่อ คุณแม่ ควรระมัดระวังไม่ให้ ลูกเป็นโรคไอกรน เพราะในเด็กทารก และเด็กเล็ก อาจเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

ลูกเป็นโรคไอกรน แพทย์เตือนเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต!

เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อมูลข่าวจาก ข่าวสดออนไลน์ ระบุว่า กรมควบคุมโรคเตือนเกี่ยวกับโรคไอกรนในเด็ก หากพบว่าเด็กมีอาการไอเป็นชุดๆ ไอมาก ไอแล้วมีเสียงวู้ป ให้ระวังโรคไอกรน

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า “สถานการณ์โรคไอกรนในประเทศไทย ปี 2561 มีรายงานผู้ป่วยโรคไอกรน 12 ราย แต่ยังไม่มีผู้เสียชีวิต พบมากที่สุดในเด็กอายุ 1-3 เดือน โดยในปีนี้พบผู้ป่วยเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1 ราย และรายล่าสุดเป็นเด็กหญิง อายุ 2 เดือน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ”

โดยทั่วไปแล้วโรคไอกรนพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่พบได้บ่อยในเด็ก ซึ่งติดเชื้อมาจากผู้ใหญ่ในครอบครัว มักพบได้มากในเด็กแรกเกิด และเด็กเล็ก โดยอาการจะรุนแรงมาก และมีอัตราการเสียชีวิตสูงในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี โรคนี้ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ จามรดกันโดยตรง

ลูกเป็นโรคไอกรน
ระมัดระวังไม่ให้ ลูกเป็นโรคไอกรน เพราะในเด็กทารกและเด็กเล็กอาจเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

“ส่วนใหญ่แล้วโรคไอกรนจะหายได้เป็นปกติ มีเพียงส่วนน้อยที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงจากการไอมากๆ เช่น ปอดอักเสบ/ปอดบวม เป็นภาวะแทรกซ้อนสำคัญที่พบได้ถึงประมาณ 20% ของเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้ โดยเกิดจากการมีเชื้อแบคทีเรียตัวอื่นเข้ามาแทรกซ้อนและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี”

“ภาวะปอดแฟบ (Atelectasis) ซึ่งเกิดจากการมีเสมหะเหนียวไปอุดในหลอดลมและถุงลม การไอที่รุนแรงและต่อเนื่องจะทำให้หายใจได้ไม่เต็มที่และร่างกายขาดออกซิเจน ซึ่งอาจส่งผลต่อระบบประสาททำให้เกิดอาการชักเกร็ง มีจุดเลือดออกในสมอง เกิดภาวะหยุดหายใจจนเสียชีวิตและส่งผลต่อระบบการใช้พลังงานของร่างกาย ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ซึ่งมักจะพบได้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี”

“อาจพบหลอดลมอักเสบ, หูชั้นกลางอักเสบ, มีจุดเลือดออกตามผิวหนังบนใบหน้าและในสมอง, เลือดกำเดาไหล ในรายที่มีอาการไอรุนแรง มักมีเลือดออกที่ใต้ตาขาว ทำให้เห็นเป็นปื้นแดง หรือทำให้ขอบตาเขียวช้ำและบางครั้งอาจมีเลือดออกในสมองหรือในลูกตา แต่พบได้ไม่มาก”

อ่านต่อ “สังเกตอย่างไรว่า ลูกเป็นโรคไอกรน?” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up