AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

พ่อแม่ต้องรู้! “9 ข้อห้ามทำ” เมื่อลูกเจ็บป่วย

ลูกเจ็บป่วย พ่อแม่ต้องรู้ 9 ข้อห้ามทำ อาจให้ลูกทรุดหนัก

ลูกเจ็บป่วย พ่อแม่ต้องระวัง ..สำหรับพ่อแม่มือใหม่ แค่เจ้าตัวเล็กถูกมดกัด ก็ทำให้คุณวิ่งวุ่นทั่วบ้าน แต่คนทุกวัยย่อมเจ็บป่วยได้ด้วยกันทั้งนั้น โดยเฉพาะเด็กทารกก็เช่นกัน แต่หากพ่อแม่เกิดวิตกหรือเครียดจนเกินไปก็ไม่อาจช่วยให้ลูกหายเร็วขึ้น

และเพื่อความปลอดภัยของลูกจึงจำเป็นที่นอกจากพ่อแม่จะต้องรู้จักวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น และควรจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับข้อห้าม ข้อควรระวัง ขณะที่ลูกกำลังป่วย หรือได้รับบาดเจ็บอยู่ เพราะหากคุณพ่อคุณแม่ไม่คอยระวังก็อาจทำให้ลูกน้อยป่วยหรือได้รับบาดเจ็บหนักมากขึ้นกว่าเดิม

พ่อแม่ต้องรู้  9 ข้อห้ามทำ เมื่อลูกเจ็บป่วย

อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดคิดมาก่อน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่อยู่ใกล้ลูก จึงเรียกได้ว่าเป็นผู้ช่วยเหลือเบื้องต้นที่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลให้แก่เด็ก เพื่อช่วยลดความพิการหรือเสียชีวิตได้

ซึ่งสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ที่มักจะทำให้เด็กได้รับอันตรายจากเหตุที่เกิดขึ้นนั้น อาจจะมาจากตัวของเด็กเอง หรือผู้ดูแลเด็ก หรืออาจจะเกิดจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้ง 3 ประการ ดังนี้

1. ตัวเด็กเอง

ด้วยพัฒนาการตามวัยของเด็กทารกและเด็กวัยก่อนเรียน นั่นช่วยเอื้ออำนวยให้เด็กประสบอุบัติเหตุต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวได้ง่ายมากกว่าเด็กวัยอื่น การเจริญเติบโตและพัฒนาทักษะของกล้ามเนื้อที่ยังไม่แข็งแรงสมบูรณ์เต็มที่ทำให้การคืบ การคลาน การเล่น การวิ่ง และความซุกซนตามวัยของเด็กนั้นเป็นเหตุของอันตราย เช่น ตกจากที่สูง ตกบันได

อีกทั้งพัฒนาการด้านการเรียนรู้ทำให้เด็กได้รับอันตรายจากสิ่งที่ตนกระทำ เช่น อมเหรียญแล้วกลืนเข้าในหลอดลม เอาขาเข้าไปขัดในลูกกรงออกไม่ได้ เอาลวดหรือนิ้วแหย่เข้าไปในรูปลั๊กไฟ เป็นต้น และยังมีอันตรายอีกมากมายหลายประการที่เกิดจากภาวะของความเป็นเด็ก ทั้งนี้เด็กชายมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าเด็กหญิงเพราะธรรมชาติของชายจะซุกซนและอยากรู้อยากเห็นมากกว่าเด็กหญิง นอกจากนี้เด็กที่มีสภาพร่างกายและจิตใจไม่ปกติ เช่น เด็กป่วย เด็กพิการ เด็กที่หิว อ่อนเพลีย เหนื่อย อารมณ์ไม่ดี จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าเด็กปกติ

2. ผู้ดูแลเด็ก

พ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก หรือพี่เลี้ยง หรือครู อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กได้รับอันตรายได้ หากขาดความรับผิดชอบ หรือประมาท ทั้งที่เป็นการจงใจหรือไม่จงใจก็ตาม การไม่รู้พัฒนาการของเด็ก และธรรมชาติของเด็กตามวัย จำแนกการแสดงออกของเด็กไม่ได้ ทำให้เหตุการณ์ที่ไม่ควรเกิดก็เกิดขึ้นได้ เช่น ไม่ทราบว่าเด็กวัยก่อนเรียนจะมีความอยากรู้อยากเห็นหยิบมีดผู้ใหญ่ลืมทิ้งไว้มาหั่นของเล่นจนบาดนิ้ว หรือเผลอทิ้งเด็กทารกไว้ไปรับโทรศัพท์นาน ทารกคลานออกจากห้องจนตกบันได เป็นต้น

3. สิ่งแวดล้อม

บ้านเป็นสิ่งแวดล้อมที่เด็กต้องใช้ชีวิตอยู่มากที่สุด จึงพบบ่อย ๆ ว่าการเกิดอุบัติเหตุของเด็กมักเกิดจากบ้านที่มีสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เช่น การหกล้ม ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และอุบัติเหตุจากการรับสารพิษต่าง ๆ เป็นต้น

การปฐมพยาบาลเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้น ให้แก่เด็กที่ได้รับบาดเจ็บจากการประสบอุบัติเหตุ ณ จุดที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่หาได้ขณะที่นั้นก่อนที่แพทย์จะมาถึงหรือก่อนนำเด็กส่งโรงพยาบาล

วัตถุประสงค์ ของการปฐมพยาบาล คือ

  1. ลดอาการบาดเจ็บให้น้อยลง
  2. ป้องกันไม่ให้มีอาการรุนแรงขึ้น
  3. ป้องกันความพิการที่อาจจะเกิดขึ้นได้
  4. ช่วยให้การักษาพยาบาลหายเร็วขึ้น
  5. ช่วยชีวิตเด็กที่ประสบอุบัติเหตุที่ร้ายแรง

หลักทั่ว ๆ ไปในการปฐมพยาบาล

  1. พ่อแม่ผู้ทำการปฐมพยาบาลให้ลูก ต้องมีสติไม่ตื่นเต้นตกใจหรือหวาดกลัวสิ่งที่พบจนทำอะไรไม่ถูก
  2. ห้ามไม่ให้คนมุงล้อมเด็ก เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกและทำการพยาบาลได้สะดวก
  3. สังเกตอาการของเด็ก สังเกตชีพจร การหายใจตลอดเวลาหากจำเป็นต้องผายปอดหรือปั้มหัวใจจะได้ทำได้ทันที
  4. ทำการปฐมพยาบาลตามอาการที่เกิดทันที โดยใช้วัสดุเท่าที่จะหาได้รอบๆ บริเวณที่เกิดเหตุ
  5. หลังจากการปฐมพยาบาลแล้ว รีบนําเด็กส่งโรงพยาบาลโดยการเคลื่อนย้ายเด็กต้องทำอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บที่จะเพิ่มมากขึ้น

9 ข้อห้ามทำเมื่อ ลูกเจ็บป่วย เพื่อไม่ให้อาการหนักกว่าเดิม

เพราะบางครั้งความรักความหวังดีของพ่อแม่ที่พยายามจะช่วยลูกนี้ อาจจะทำให้ลูกยิ่งบาดเจ็บมากยิ่งขึ้นก็ได้ คำแนะนำต่อไปนี้ คงทำให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยเหลือลูกได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยขึ้นค่ะ Amarin Baby & Kids จึงมีข้อมูลและข้อห้าม และข้อควรระวัง เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่เข้าใจหลักการดูแลสุขภาพลูกน้อยที่ถูกต้อง ก่อนส่งถึงมือหมอ เพื่อช่วยไม่ให้ลูกมีอาการที่น่ากังวลจนเกินไป มาฝากค่ะ

1. ห้ามเคลื่อนย้ายโดยพลการ

หากลูกน้อยได้รับบาดเจ็บที่คอ หรือกระดูกสันหลัง คุณพ่อคุณแม่ห้ามเคลื่อนย้ายลูกโดยพลการเด็ดขาด จำเป็นต้องรอให้พยาบาลผู้เชี่ยวชาญมาก่อน เพื่อป้องกันการเคลื่อนที่ของกระดูก ซึ่งหากเคลื่อนย้ายผิดวิธี อาจทำให้ลูกกระดูกหักได้

รู้ได้อย่างไรว่ากระดูกสันหลังหักหรือไม่

แต่หากลองทำทุกอย่างแล้ว ไม่มีการตอบสนองที่ดี นั่นเป็นสัญญาณว่าคนเจ็บอาจมีกระดูกสันหลังหัก ไม่ควรเคลื่อนย้ายตัวลูก ยกเว้นว่าอยู่ในสถานที่ที่เสี่ยงเกินไป เช่น ไฟไหม้ ใกล้เชื้อเพลิงที่อาจระเบิด บนถนนที่อาจถูกรถทับ หรือตึกที่กำลังจะถล่ม ให้เคลื่อนย้ายขณะที่ลูกบาดเจ็บอย่างถูกวิธี และทำด้วยความระมัดระวังที่สุด

แต่ทั้งนี้เมื่อเกิดอาการบาดเจ็บ เช่น หัวกระแทกโดยตกจากที่สูง มากกว่าความสูงของเด็ก หรือกระแทกกับพื้นที่มีความแข็ง พ่อแม่ควรสังเกตอาการของลูกอย่างใกล้ชิด หากมีอาการสลบ ไม่รู้สึกตัว ชัก ปวดศีรษะหรืออาเจียนมาก ก็ควรรีบไปพบแพทย์ หรือโทรแจ้งขอความช่วยเหลือได้ที่สายด่วน 1669 แต่หากเด็กประสบอุบัติเหตุรุนแรงก็ไม่ควรเคลื่อนย้าย เพราะอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น ควรรอทีมผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินที่เชี่ยวชาญมาช่วยเหลือ

ปกติเมื่อเด็กตกจากที่สูงปุ๊บ พ่อแม่ส่วนใหญ่จะรีบเข้ามาอุ้มโดยทันที แต่นี่เป็นวิธีที่ผิด เพราะหากการตกของเด็กในครั้งนี้ สร้างความบาดเจ็บให้กับอวัยวะโดยที่เราไม่ได้สังเกตอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ วิธีการที่ถูกต้องคือ ต้องไม่ตื่นตระหนก โวยวาย ให้รอสักครู่ จำให้ได้ว่าตกลงมาอย่างไร ตรวจหาที่บาดเจ็บและตรวจดูว่ามีอวัยวะใดเคลื่อนที่ผิดปกติหรือไม่เพื่อเช็คกระดูกเบื้องต้นว่ามีหักหรือเจ็บที่ใดบ้าง

เมื่อเกิดอาการช้ำในและไม่สามารถส่งห้องฉุกเฉินได้ทันที ให้ทำการประคบเย็นและคอยสังเกตอาการ หลังจากเกิดเหตุ 24-48 ชั่วโมง โดยจะช่วยบรรเทาอาการช้ำ แต่ห้ามถูบริเวณที่ช้ำ เนื่องจากจะทำให้ช้ำมากขึ้น

อ่านต่อ >> “ข้อห้ามทำเมื่อลูกเจ็บป่วย เพื่อไม่ให้อาการหนักไปกว่าเดิม” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

2. ห้ามให้ยาหยุดถ่ายในเด็ก

สำหรับเด็กที่มีอาการท้องเสีย คุณพ่อคุณแม่ต้องห้ามให้อย่าหยุดถ่ายแก่ลูกน้อย เพราะนั่นจะทำให้เชื้อโรคคลั่งในร่างกายจนเป็นอันตรายหรือจะมีอาการปวดมวนท้องมากขึ้น และควรพาลูกพบหมอ เมื่อลูกมีอาการดังนี้

บทความแนะนำต้องอ่าน ----------> เด็กท้องเสีย อาเจียน เพราะโนโรไวรัสระบาด
บทความแนะนำต้องอ่าน ----------> ลูกท้องเสียเพราะ ยืดตัว จริงหรือ?

3. ห้ามซื้อยาปฏิชีวนะให้ลูกทานเอง

หากลูกมีอาการป่วย เป็นหวัด คออักเสบ ควรพาไปพบแพทย์ ซึ่งแพทย์ก็อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะถ้าลูกเจ็บคอเล็กน้อย ไม่อยากให้ซื้อยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อมาใช้เอง หากทำได้จะช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น ลดโอกาสการติดเชื้อดื้อยาลงไปได้

บทความแนะนำต้องอ่าน ----------> แม่ระวัง! ยาแก้ไอผสม โคเดอีน อันตรายเสี่ยงลูกเสียชีวิต
ห้ามทำยามลูกป่วย

4. ห้ามใช้น้ำแข็งหรือน้ำเย็นจัดประคบ

เมื่อลูกน้อยถูกน้ำร้อนลวก อาจทำให้บาดแผลลึกมากขึ้นได้ ไม่ควรใส่ตัวยา/สารใด ๆ ทาลงบนบาดแผล ถ้าไม่แน่ใจในสรรพคุณที่ถูกต้องของยาชนิดนั้น โดยเฉพาะ”ยาสีฟัน” “น้ำปลา” เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อบาดแผล เพิ่มโอกาสการเกิดบาดแผลติดเชื้อ และทำให้รักษาได้ยากขึ้นห้ามใช้ยาสีฟันหรือครีมอื่นใดชะโลมบนแผล เพราะอาจทำให้แผลมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น และห้ามนำลูกไปแช่ในอ่างน้ำเย็น เพราะอาจทำให้ลูกช็อกหมดสติ ถึงเสียชีวิตได้

บทความแนะนำต้องอ่าน ----------> ประคบร้อน ประคบเย็น จะรู้ได้อย่างไรว่าต้องทำตอนไหน?

5. ห้ามทำให้อาเจียน

หากลูกเผลอดื่มกินผลิตภัณฑ์ที่เป็นน้ำซึ่งใช้ในบ้านและโรงงานอุตสาหกรรม ห้ามทำให้ลูกอาเจียน หากไม่ทราบว่าสารพิษนั้นมีอันตรายแค่ไหน เพราะถ้าลูกอาเจียนออกมาทันที หลอดลม หลอดอาหาร อาจะได้รับบาดเจ็บไปด้วย ควรให้ลูกกินนม หรือน้ำเปล่า และรีบพาลูกไปหาหมอค่ะ

แต่หากพบว่าอยู่ดี ๆ ลูกอาเจียนหนัก อาจเกิดจากการแพ้อาหาร ควรป้อนของเหลวที่ละน้อยๆ ถ้าลูกอาเจียน ควรให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย โดยให้ทีละน้อย บ่อยๆ ระมัดระวังไม่ให้ขาดน้ำ และควรให้น้ำเกลือแร่ ORS เพื่อทดแทนเกลือแร่ที่เสียไปกับอาเจียน โดยให้จิบทีละน้อย แต่บ่อยๆ ที่สำคัญไม่ควรนอนราบ ควรนอนเอนตัว เพื่อป้องกันการสำ ลักอาหารจากอาเจียนเข้าหลอดลม และปอด

บทความแนะนำต้องอ่าน ----------> 7 เรื่องควรรู้ ลูกถ่ายเหลว หรือ อาเจียน

6. ห้ามล้วงของจากคอ

เมื่อของติดคอลูก หากเอามือล้วงออกมา อาจทำให้ของนั้นติดลึกเข้าไปอีก หากจะใช้นิ้วล้วงออกมา ต้องแน่ใจจริงๆว่าสามารถล้วงออกมาได้ หรือใช้วิธีจับเด็กก้มต่ำ และใช้มือกระแทกด้านหลังแรงๆ สิ่งที่ติดคออยู่จะหลุดออกมา

7. ห้ามเงยหน้าเมื่อมีเลือดกำเดา

เมื่อลูกเกิดมีลูกกำเดาไหล คุณพ่อคุณแม่ห้ามจับลูกเงยหน้าหรือเอนตัวลงนอน แต่ให้นั่งหลังตรง (การนั่งหลังตรงจะช่วยบังคับให้ปริมาณและความแรงของเลือดลดลงเพราะศีรษะอยู่สูง) และก้มหน้าลงเล็กน้อย (เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลลงคอ ซึ่งจะทำให้ระคายเคืองและสำลักเลือด เลือดจะออกมากขึ้น และเลือดอาจเข้าไปในปอดก่อให้เกิดปอดอักเสบตามมาได้) หรือทำตามขั้นตอนง่ายๆ คือ “บีบจมูก นั่งหลังตรง ก้มหน้าเล็กน้อย อ้าปากหายใจ”

บทความแนะนำต้องอ่าน ----------> หนูน้อย 2 ขวบ เสียชีวิตเพราะเลือดกำเดาไหล

8. ห้ามพาลูกไปฉีดวัคซีนเมื่อลูกป่วย

เมื่อถึงเวลาที่ต้องพาลูกไปรับวัคซีน แต่ลูกกำลังไม่สบาย ตัวร้อน มีไข้ขึ้นสูง ควรจะเลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อนจนกว่าจะหายดี ไม่ต้องกังวลว่า ถ้าเลื่อนกำหนดไปเล็กน้อยแล้ววัคซีนจะไม่มีประสิทธิภาพหรือต้องเริ่มใหม่ทั้งหมด แต่ถ้าลูกแค่เป็นหวัด ไม่ถึงกับเป็นไข้ตัวร้อนจัดก็สามารถจะพาไปรับวัคซีนได้ตามกำหนด

บทความแนะนำต้องอ่าน ----------> พาลูกไปฉีดวัคซีน เรื่องความสะอาดที่คุณแม่ต้องระวัง

9. ห้ามเอานิ้วล้วงคอลูก

หากลูกชักจากไข้สูงดูแลอย่าให้สำลักหรือหยุดหายใจ ไม่เอานิ้วล้วงคอเพราะจะยิ่งกระตุ้นให้หยุดหายใจ เมื่อหยุดชักแล้วเช็ดตัวลูก ให้กินยา รอให้ไข้ลดแล้วค่อยพาไปหาหมอก็ได้ เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าลูกชักจากไข้สูงหรือจากการติดเชื้อในสมอง  หากติดเชื้อในสมองต้องรักษาทันที

บทความแนะนำต้องอ่าน ----------> ลูกเป็นไข้แล้วชัก อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต พ่อแม่ต้องระวัง
บทความแนะนำต้องอ่าน ----------> เมื่อลูกทารกชัก เรื่องใหญ่ที่พ่อแม่ควรรู้

และหากลูกป่วยควรให้หยุดเรียน เรื่องนี้นอกจากเพื่อตัวลูกเองแล้ว ยังถือเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย เพราะโรงเรียนไม่ได้มีแค่ลูกเรา  แต่มีลูกคนอื่นด้วย  ควรหยุดเพื่อจะได้ไม่ไปแพร่เชื้อให้คนอื่น  เมื่อลูกได้พักที่บ้านก็จะได้พักผ่อน  กินได้  นอนได้และไม่ต้องไปรับเชื้ออื่นๆ ซ้ำเติมอีกด้วย

ที่สำคัญหากลูกได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการเจ็บป่วย คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรไปเปรียบเทียบลูกเรากับลูกคนอื่น เพราะการใช้ชีวิต  ความแข็งแรงของร่างกาย  และสภาพแวดล้อมของเด็กแต่ละคนต่างกัน  การเจ็บป่วยแม้มีสาเหตุจากเชื้อเดียวกัน  อาการก็อาจหนักเบาแตกต่างกัน  ในเวลาที่ลูกเราป่วยควรยึดถืออาการของลูกเราเป็นสำคัญ  การดูแลเอาใจใส่จากเราจะทำให้การรักษาได้ผลดีที่สุด

ทั้งนี้เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ต้องตั้งสติก่อนเสมอแล้วคุณแม่จะสามารถจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างดีและลูกได้รับความเสียหายน้อยที่สุด ถ้าจะให้ดี ควรดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัยเพื่อลดการสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น

การปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธีนั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยทุกๆครั้งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยที่รุนแรงหรือการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะ”การหมดสติ”นั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะจะสามารถนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้นพ่อแม่ หรือผู้ให้การปฐมพยาบาล จึงต้องปฏิบัติกับลูกน้อยผู้เจ็บป่วยอย่างถูกวิธีและรวดเร็วทุกครั้งที่มีเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้น

4 ข้อเท็จจริง เมื่อลูกเจ็บป่วย

การป้องกันอุบัติเหตุในเด็ก เป็นการป้องกันเหตุของการเกิดภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพเด็ก การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และมีความรู้ด้านการป้องกันอุบัติเหตุแก่บุคคลากรในสถานเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียน เป็นเรื่องจำเป็นที่พ่อแม่ควรมีทักษะในการช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้องต้นพร้อมทั้งรู้ถึงข้อควรระวังต่างๆตามที่กล่าวมาเหล่า ก็จะเป็นการป้องกันอันตรายรุนแรงที่จะเกิดขึ้นกับลูกน้อยได้อีกด้วย

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!