อาการของโรค
สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะดังนี้
- ระยะที่ 1 หรือเรียกอีกอย่างว่า ระยะตาบอดกลางคืน จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายขาดวิตามินเออย่างรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการตาบอดกลางคืนหรือตาฟาง จึงทำให้มองไม่เห็นเฉพาะในที่มืด ๆ หรือที่ ๆ มีแสงน้อย แสงสลัว หรือในตอนกลางคืน แต่ยังคงมองเห็นได้ปกติในที่สว่าง ๆ หรือในเวลากลางวัน
- ระยะที่ 2 หรือ ระยะตาแห้ง เยื่อตาขาวจะเริ่มแห้ง เมื่อเป็นมากขึ้นเยื่อตาขาวจะย่นอยู่รอบ ๆ กระจกตาดำทำให้ดูคล้ายเกล็ดปลา และในขณะเดียวกันกระจกตาดำจะแห้งและไม่มีประกาย ผิดกับปกติที่กระจกตาดำจะสะท้อนแสงวาววับเวลาที่จ้องมอง ตาขาวจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเทา และบริเวณหางตาจะมีสารสีเทาหรือสีขาวทำให้เป็นจุดใหญ่ ๆ เรียกว่า “เกล็ดกระดี่” หรือ “จุดบิทอตส์” มีลักษณะเหมือนฟองโฟมมัน ๆ เล็ก ๆ หรือเป็นแผ่นสีขาวหนาตัวขึ้น โดยจุดที่เป็นเกล็ดกระดี่หรือจุดบิทอตส์นี้อาจเป็นที่ตาทั้งสองข้างหรือเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่งก็ได้
- ระยะที่ 3 หรือ ระยะตาอ่อน หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาแน่นอนค่ะว่า อาการก็จะเริ่มเป็นมากขึ้น ตาขาวจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเทาแก่ เยื่อบุตาจะมีรอยย่นมากขึ้น กระจกตาจะเป็นฝ้าขาวและลูกตาจะอ่อนนุ่มจนกระจกตาเป็นแผลและเกิดรูทะลุ จึงทำให้มีเชื้อโรคเข้าไปในลูกตาได้และทำให้เกิดการอักเสบภายในลูกตาและตาบอดในที่สุด
สำหรับโรคนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับลูกได้ด้วยการให้ลูกรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอสูง ๆ อาทิเช่น เนื้อ ตับ ไข่ นม แคร์รอต แคนตาลูป ฟักทอง มะเขือเทศ มะละกอสุก มะม่วงสุก หรือผักที่มีสีเหลืองและสีเขียวเข้ม เป็นประจำนะคะ
เครดิต: MedThai และ Honest Docs
อ่านต่อเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
- ทารกขาดวิตามินบี 12 เสียชีวิต เพราะแม่รักสุขภาพกินแต่ผัก
- รวมฮิต ติดชาร์ต ผักผลไม้วิตามินซีสูงเพื่อลูก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่