หลายคนอาจเคยสงสัยว่า กิ้งกือ กัด ได้ไหม และมีพิษร้ายหรือไม่ เพราะจากที่เคยเห็นเวลาไปถูกตัวมัน มันจะรีบม้วนตัวกลมทันที และนั้นก็ดูเหมือนว่า มันไม่มีพิษไม่มีภัย ไม่ได้ทำร้ายใคร แต่อาจจะดูน่ากลัว หรือน่าขยะแขยงหน่อย เพราะมันมีหลายขานั่นเอง
กิ้งกือ กัด ไม่ได้ แต่มีพิษ!
ในช่วงหน้าฝนซึ่งมีอากาศชื้นแบบนี้ เรามักเห็นกิ้งกือร้อยขาเดินยั้วเยี้ยเต็มไปหมด เพราะกิ้งกือชอบอยู่ในพื้นที่ชื้นๆ ไม่แฉะมากนั่นเอง ซึ่งมีหลายคนสงสัย กิ้งกือ กัด หรือมีพิษหรือไม่ และก็มีบางคนที่เคยได้รับพิษของมันโดยไม่รู้ตัว เช่นเดียวกับคุณแม่ท่านนี้ ที่ได้เผลอนอนทับกิ้งกือไป และรู้สึกมีอาการแสบๆ ที่ขา โดยคุณแม่ล่าว่า…
#มีเรื่องมาเตือนคุณแม่ทุกบ้านเลยนะคะ!!
ใครที่คิดว่ากิ้งกือไม่มีพิษ หรือมันแค่จะเลื้อยเข้าหู ขอให้ลืมความคิดนั้นไปเลยค่ะ แม่บ้านนี้เจอมาแล้ว! ก่อนนอนอุตสาห์ตรวจดูที่นอน ปัดกวาดเรียบร้อย พอนอนไปเมื่อคืนตอน เที่ยงคืนกว่าๆ รู้สึกแสบๆที่ขาเลยเปิดไฟสายหาสาเหตุว่าเป็นอะไร หรือโดนอะไร ปรากฏว่า!!!เจอเจ้ากิ้งกือนอนขดอยู่ตรงขาที่เราแสบ เราตกใจเลยปัดมันลงไปแล้วดูรอบๆ พอตรวจเสร็จเลยนอนต่อ ไม่ได้สนใจ พอเช้ามานึกได้ว่านอนทับกิ้งกือ เลยดูที่ขาตัวเอง สรุปว่ามีรอยไหม้!! เลยเอาแอลกอฮอล์ล้างค่ะ แต่ตอนนี้มันเริ่มมีน้ำเหลืองเหมือนแผลพุพองด้วยค่ะ พรุ่งนี้ว่าจะไปหาหมอ #ระวังกันด้วยนะคะคุณแม่ๆ
#ช่วงนี้อากาศชื้นกิ้งกือเยอะมากกกก
#อย่านิ่งนอนใจ
#รูปแผลจะลงใต้โพสนะคะ
#ยาวไปหน่อยแต่คาดว่าน่าจะมีประโยชน์
ดูภาพ >> “รอยแผลไหม้ จากการทับตัวกิ้งกือ” และไขข้อสงสัย “กิ้งกือ กัด ได้หรือไม่ มีพิษหรือเปล่า” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ซึ่ง กิ้งกือ กัด ได้ไหม และมีพิษร้ายหรือไม่ นั้น เรื่องนี้ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา” อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านกิ้งกือมือหนึ่งของไทย ได้ให้ข้อมูลของเจ้าสัตว์ร้อยขา พันขา นี้ไว้ว่า…
“กิ้งกือ” หรือสัตว์พันขา (Millipede) เป็นสัตว์มีขามากที่สุดในบรรดาสัตว์บก ไม่มีกระดูกสันหลัง ในโลกนี้มีมากถึง 10,000 ชนิด (สปีชีส์) สำหรับบ้านเราจากการสำรวจพบประมาณ 100 ชนิด มักจะเห็นบ่อยครั้งตามถนนหนทาง ชายป่า สวนครัว ป่าละเมาะ เขาหินปูน เป็นกิ้งกือตัวใหญ่ ทรงกระบอก หรือกิ้งกือหนอน มีลักษณะสีออกแดงๆ หรือสีน้ำตาล
โดยรูปร่าง เป็น ส่วนหัว มีตาอยู่ด้านข้าง (ยกเว้นกิ้งกือถ้ำจะไม่มีตา) และ ลำตัว ลักษณะขาข้อ หนวดสั้น ปาก 2 ส่วน บนล่างเพื่อใช้เคี้ยวและกด ลำตัวยาว มีขาสองคู่ต่อหนึ่งวงปล้อง ผิวมันแข็งทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกัน
กิ้งกือไม่ว่าจะเป็น กิ้งกือยักษ์ กิ้งกือมังกร กิ้งกือตะเข็บ กิ้งกือกระสุน กิ้งกือเหล็ก หรือกิ้งกือขน ล้วนมีบทบาทสำคัญเหมือนเทศบาลกำจัดขยะ เป็นสัตว์กินพืช โดยจะกินไม้ผุ ขอนไม้ ใบไม้เน่า ซึ่งมีเชื้อรา แบคทีเรีย พร้อมกับ ถ่ายมูลเป็นก้อนคล้ายยาลูกกลอน เต็มไปด้วย จุลินทรีย์ สารอินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มธาตุอาหารในดิน และการช่วยย่อยสลายซากในระดับต้นๆ ดังนั้นมันจึงเป็นเสมือน “โรงงานธรรมชาติเคลื่อนที่”
จึงไม่จำเป็นต้องพัฒนาอวัยวะสำหรับการล่าเหมือนอย่างตะขาบ และไม่มีเขี้ยวสำหรับกัด มีเพียงแผ่นฟันคล้ายช้อนตักไอศครีมสำหรับกัดแทะซากได้เท่านั้น และเพราะว่ามีขามากมายนับไม่ถ้วนขนาดนั้น กิ้งกือจึงได้รับฉายาว่า “สหัสบาท” หรือสัตว์พันขา แต่ที่จริงกิ้งกือมีขาไม่ถึงพันขา เท่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยศึกษากันมาจนถึงปัจจุบันพบว่ากิ้งกือมีขามากที่สุด 710 ขา และมีลำตัวยาวตั้งแต่ 2 มิลลิเมตร ถึง 30 เซนติเมตร โดยมักอาศัยอยู่ทั่วไปในดิน ใต้ก้อนหิน ใต้ซากใบไม้ทับถม ตามขอนไม้ผุ ตลอดจนในถ้ำ
“กิ้งกือมีพิษอันตรายต่อมนุษย์ หรือกัดแล้ววางไข่ใส่ในร่างกาย”
ซึ่งไม่เป็นความจริง! ! ! เพราะกิ้งกือไม่มีเขี้ยวสำหรับกัดจะมีเพียงปากที่เป็นแผ่นเข็ง ๆ ไว้สำหรับกัดแทะแต่ซากพืชเท่านั้น ถึงกัดก็กัดคนไม่เข้าอย่างมากก็แค่ทำให้คนที่ถูกกัดรู้สึกคันหรือจักจี้เล็กน้อยเท่านั้นเอง
แล้วถ้าไม่มีปากสำหรับกัดแล้วจะป้องกันตัวเองได้อย่างไร???
กิ้งกือมีวิธีป้องกันตัวเองโดยใช้การขดตัวเป็นเกราะป้องกันอย่างที่เราเห็นกันบ่อยๆ เมื่อเวลาเราเอาไม้ไปเขี่ย หรือไปโดนกิ้งกือแบบไม่ตั้งใจ มันจะม้วนตัวขดเป็นวงกลม ขณะเดียวกันก็ ปล่อยสารเคมีกลุ่ม “ไซยาไนต์” หรือสารที่เรียกว่า “เบนโซควิโนน” ลักษณะสีเหลือง เมื่อถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีแดง และเข้มในที่สุด มีกลิ่นเหม็นคล้ายน้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำตามโรงพยาบาล ซึ่งสารพิษที่ปล่อยออกมานี้ สามารถฆ่าได้แต่สัตว์เล็กๆ เช่น มดเท่านั้น ไม่ก่อให้เกิดอันตรายในคนแต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่ากิ้งกือไม่มีกลไกที่จะทำร้ายคนได้เลย
และมีกิ้งกือบางสารพันธุ์ที่จะมีต่อมพิษอยู่ตลอดสองข้างลำตัวสามารถฉีดสารพิษพุ่งออกไปได้ไกล พิษของกิ้งกือมีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีฤทธิ์ ทำให้ผิวหนังไหม้ แผลไหม้จะมีอาการปวดอยู่ 2-3 วัน รวมทั้งจะมีอาการระคายเคืองร่วมด้วย และถ้าสารพิษเข้าตาจะทำให้ตาอักเสบได้ โดยเมื่อถูกพิษของกิ้งกือทำได้โดยการล้างแผล ใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดบริเวณที่ถูกพิษ เพื่อล้างสารพิษออกให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน หากพิษเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำอุ่น และปรึกษาจักษุแพทย์ทันที
อ่านต่อ >> “วิธีไล่กิ้งกือออกจากบ้าน ให้ห่างไกลลูกน้อย โดยไม่ต้องฆ่า” คลิกหน้า 3
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.oknation.net , www.vcharkarn.com , www1a.biotec.or.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
แม้ กิ้งกือ จะกัดคนไม่ได้ แต่มันก็ยังมีพิษ ที่อาจทำให้เป็นแผลไหม้ได้ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย Amarin Baby & Kids จึงขอนำเอาวิธีไล่กิ้งกือ มาฝาก ให้คุณพ่อคุณแม่ที่กลัวกิ้งกือ จะมาทำอันตรายกับลูกน้อย ได้ไปลองใช้กันดูค่ะ
1. ปูนขาว
ลองหาซื้อปูนขาวมาโรยไว้รอบ ๆ บ้าน โดยเฉพาะจุดที่เห็นว่ากิ้งกืออาศัยอยู่ ปูนขาวจะช่วยสกัดไม่ให้กิ้งกือเดินยั้วเยี้ยไป-มา บริเวณบ้าน ทั้งนี้ต้องคอยหมั่นเทปูนขาวใหม่อยู่เป็นระยะ ๆ ด้วย
2. น้ำส้มควันไม้
เป็นสารเคมีที่มีความเป็นกรดสูง ปกติมักใช้ในการกำจัดศัตรูพืช สามารถหาซื้อได้ตามร้านเกษตรทั่วไป โดยวิธีการใช้ให้ผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 20 ขึ้นไป แล้วนำไปฉีดพ่นบริเวณที่มีกิ้งกือ
3. น้ำมันก๊าด
ลองใช้น้ำมันก๊าดเทราดรอบบ้าน หรือบริเวณที่มีกิ้งกืออาศัยอยู่ กลิ่นฉุกของน้ำมันก๊าดจะทำให้กิ้งกือพยายามอพยพหนีออกจากจุดดังกล่าว หรือเมากลิ่นฉุนจนสามารถเก็บกวาดออกไปทิ้งอย่างง่ายดาย
4. ลูกเหม็น
อีกหนึ่งอุปกรณ์กลิ่นฉุนที่สามารถเอามาใช้ไล่กิ้งกือได้ เพียงแค่ซื้อลูกเหม็นแล้วนำไปวางดักไว้ตามจุดต่าง ๆ กิ้งกือที่ไม่ชอบกลิ่นฉุนก็จะหลีกเลี่ยงหนีไป ยิ่งถ้าวางบริเวณที่มีกิ้งกือยั้วเยี้ย ก็อาจทำให้พากันย้ายหนีไปเลยก็ได้
5. เกลือ
เกลือแกงที่ไว้ใช้ทำกับข้าว ก็สามารถเอามาโรยรอบบ้านเพื่อดักทางกิ้งกือได้เช่นกัน โดยสามารถหาได้ง่ายและราคาประหยัด แต่อาจจะได้ผลน้อยกว่าของที่มีกลิ่นฉุน
6. สมุนไพรไล่แมลง
าซื้อสมุนไพรไล่แมลงศัตรูพืชมาใช้กับการไล่กิ้งกือ โดยสามารถหาซื้อได้ตามร้านเกษตรทั่วไป วิธีใช้ให้เอามาผสมน้ำตามคำแนะนำ จากนั้นฉีดพ่นจุดที่มีกิ้งกืออาศัยอยู่
7. ชอล์กกันมด
ชอล์กที่เอาไว้ขีดไล่มด ก็สามารถนำมาขีดไล่กิ้งกือได้เช่นเดียวกัน โดยขีดให้เป็นเส้นหนา ๆ บริเวณรอบ ๆ บ้าน โดยเฉพาะจุดที่กิ้งกือซุกซ่อนอยู่ จากนั้นหมั่นตรวจสอบรอยชอล์กบ่อย ๆ หากจางลงให้ขีดทับใหม่ทันที
8. ใช้ไม้เขี่ย
ใช้ไม้หรือไม้กวาดเขี่ยไปที่ตัวกิ้งกือ ตามหลักแล้วมันจะม้วนตัวเพื่อป้องกันอันตราย จากนั้นก็ให้รีบกวาดใส่ที่ตักผง แล้วนำกิ้งกือออกไปทิ้งนอกบ้านได้เลย แต่กรณีนี้อาจจะเหมาะกับคนที่ไม่กลัวกิ้งกือมากนัก
และนี่คือวิธีไล่กิ้งกือให้ออกไปจากบ้าน ก็ขอให้แต่ละวิธีใช้ได้ผลกับทุกบ้านนะคะแต่อย่างไรก็ตาม แท้จริงแล้วหากคุณพ่อคุณแม่ไม่มีความกลัวหรือขยะแขยง แต่อาจจะมีอยู่บ้างซึ่งไม่รุนแรง เพราะนั่นเป็นกลไกการป้องกันตัวของมัน และอาจทำให้เกิดบาดแผลแสบไหม้พุพอง ดังที่คุณแม่ได้ออกมาโพสต์เตือน ทางที่ดีก็ควรระวังลูกน้อยและตัวเอง อย่าไปจับหรือทำร้ายมัน เพราะหากได้รับสารพิษจากตัวกิ้งกือในปริมาณมากๆ ย่อมก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ค่ะ
อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ” คลิก!
- อันตรายจาก ‘แมลงก้นกระดก’ และวิธีป้องกัน
- 5 วิธีปราบยุง ต้นเหตุไข้เลือดออก แบบไม่บาป
- วิธีไล่แมลงแบบธรรมชาติ ภูมิปัญญาชาวบ้านไม่ง้อสารเคมี
ขอบคุณข้อมูลวิธีไล่กิ้งกือ จาก : home.kapook.com