เนื้องอกนอกมดลูก เป็นอย่างไร ตำแหน่งไหนเป็นแล้วอันตรายที่สุด วันนี้มีคำตอบของคุณหมอมาฝากทุกคนค่ะ
พูดถึง “เนื้องอก” อาการที่ไม่มีใครปรารถนาเพราะกลัวว่าหากปล่อยเอาไว้นั้น อาจผันแปรเป็น “มะเร็ง” ได้ ซึ่งเนื้องอกที่ผู้หญิงทุกคนต่างพากันกลัวมากที่สุดก็คือ “เนื้องอกนอกมดลูก”!! เพราะกลัวว่าวันนึงอาการนี้จะพัฒนากลายเป็น มะเร็งแทน!
เรื่องนี้จะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด วันนี้ คุณหมอกิตติ ตู้จินดา จะมาไขความกระจ่างให้คุณแม่ทุกท่านได้เข้าใจกันค่ะ แต่ก่อนอื่นเราไปทำความรู้จักกับมดลูกกันก่อนนะคะ
ทราบกันหรือไม่คะว่า มดลูกมีส่วนประกอบกี่ชั้น
คำตอบ: 3 ชั้น ได้แก่ เยื่อบุโพรงมดลูก กล้ามเนื้อมดลูก และเยื้อหุ้มมดลูก
สาเหตุของการเกิดคืออะไร?
คำตอบ: ยังไม่เป็นที่ทราบรู้แต่ว่าปัจจัยที่อาจทำให้เพิ่มอัตราการเป็นเนื้องอกนอกมดลูกอันดับแรกเลยคือ พันธุกรรม! นอกจากนี้ คุณหมอกิตติยังกล่าวอีกว่า อีกสาเหตุที่ทำให้เกิดนั้นก็คือ พฤติกรรมของตัวเราเองนี่ละค่ะ กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงมากที่สุดก็คือ นักดื่ม และในคนที่เป็นโรคความดันสูงมาก ๆ เป็นมานาน มีอัตราการเป็นเนื้องอกมดลูกมากกว่าคนปกติ ส่วนคนอ้วนก็เช่นกัน และพวกที่ชอบการทานเนื้อ แฮม และพวกเนื้อแดงอีกด้วย
เนื้องอกนอกมดลูก เป็นตรงไหนอันตรายที่สุด คลิก!
หมอตอบ! เป็นตรงไหน อันตรายที่สุด!
คุณหมอกิตติ กล่าวว่า ส่วนใหญ่ผู้หญิงที่ตรวจเจอเนื้องอกมดลูกนั้นจะมีอายุประมาณ 30-50 ปี และตำแหน่งของเนื้องอกก็เป็นสิ่งสำคัญ ว่าจะตรวจเจอหรือไม่ด้วย ซึ่งพบว่า 25% เท่านั้นที่คุณหมอจะมีโอกาสพบเห็นหน้าเนื้องอก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้องอกด้วย ว่าจะตรวจเจอหรือไม่ ถ้าเนื้องอกเล็ก อยู่ตรงไหนก็อาจไม่มีอาการ แต่ถึงแม้จะใหญ่แต่อยู่ข้างนอกมดลูก ก็อาจไม่มีอาการเช่นกัน ดังนั้นความอันตรายของเนื้องอกนั้นจึงขึ้นอยู่กับตำแหน่งด้วย
ตำแหน่งเนื้องอกที่อันตรายแบบสุด ๆ คือ ข้างในมดลูก เพราะอาจทำให้เลือดออกมาก ในทางกลับกันเนื้องอกนอกมดลูกก็อันตรายน้อยสุดเช่นกัน
ทั้งนี้คุณหมอกิตติ ยังกล่าวอีกว่า เนื้องอก นอกมดลูกส่วนใหญ่ไม่เป็นมะเร็ง อัตราการหรือโอกาสที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งนั้นน้อยมาก หรือน้อยกว่า 1 ต่อ 10,000 ที่จะเป็นมะเร็ง
คลิกอ่าน อาการใดบ้างที่ไม่ควรมองข้าม
เครดิต: ผู้จัดการออนไลน์
9 อาการใกล้ตัวที่ควรระวัง!
- ปวดประจำเดือนมากกว่าปกติ หรือปวดรุนแรงขึ้นทุกเดือน ถึงขนาดต้องกินยาตลอด
- ประจำเดือนออกมาก หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดกะปริดกะปรอยนานเกิน 1 สัปดาห์
- มีอาการแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ โดยเฉพาะช่วงล่างซ้ายของท้อง
- ปวดหลังหรือเจ็บหลัง จากก้อนเนื้อที่มีขนาดใหญ่ มีตำแหน่งอยู่ที่ช่วงหลังของท้อง
- ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ เพราะก้อนเนื้อที่มดลูกอาจไปเบียดกับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้สามารถบรรจุเก็บได้น้อยลง
- ท้องผูก ในกรณีที่ก้อนเนื้ออยู่ในตำแหน่งที่ค่อนไปทางช่วงหลังของท้อง กดทับลำไส้ใหญ่
- รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ หากก้อนเนื้อยื่นเข้าไปในช่องคลอด หรือมีเนื้องอกเกิดขึ้นที่ตำแหน่งปากมดลูก
- มีบุตรยาก หรือแท้งบุตรง่าย หากก้อนเนื้อโตแล้วยื่นเข้าไปในมดลูก อาจส่งผลให้ท่อรังไข่อุดตัน ขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อน ส่งผลให้โอกาสในการตั้งครรภ์นั้นน้อยลง
- เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ยกตัวอย่างเช่น ทารกอาจอยู่ผิดท่า หรือเนื้องอกที่งอกออกมานั้นไปขัดขวางการคลอดทางช่องคลอด ทำให้ไม่สามารถคลอดทางธรรมชาติได้
อย่างไรคุณแม่ต้องคอยสังเกตตัวเองให้ดีนะคะว่า มีอาการดังที่กล่าวมาแล้วหรือไม่ ถ้าหากมี อย่ารอช้า รีบไปปรึกษาแพทย์กันเถอะค่ะ
เครดิต: Rewitter และ Sanook
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่