ลมพิษในเด็ก เกิดจากอะไร? และ 3 วิธีรักษาด้วยสมุนไพร - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
ลมพิษในเด็ก

ลมพิษในเด็ก เกิดจากอะไร? และ 3 วิธีรักษาด้วยสมุนไพร

Alternative Textaccount_circle
event
ลมพิษในเด็ก
ลมพิษในเด็ก

3 วิธีรักษา ลมพิษในเด็ก ด้วยสมุนไพร

วิธีการรักษาโรคลมพิษคือการหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ แต่อย่างที่ทราบกันดีว่าลมพิษ อาจเกิดได้จากการแพ้ในสิ่งรอบตัวทั่วไป เช่น อากาศ แสงแดด แมลงสัตว์กัดต่อย เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก การทานหรือทายาแก้แพ้แก้คัน ก็สามารถบรรเทาผื่นลมพิษได้ แต่หากไม่ต้องการให้ลูกทานหรือทานยาบ่อย ๆ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีทางเลือกในการรักษา ลมพิษในเด็ก ด้วยสมุนไพรที่ปลอดภัยมาฝากกันค่ะ

  1. ใช้ใบพลูสดที่สมบูรณ์เต็มที่ 1-2 ใบ มาล้างสะอาดตำให้ละเอียด แล้วนำมาผสมปูนแดง (ในกรณีที่ใช้ทาผู้ใหญ่ สามารถใช้เหล้าขาวแทนได้) ทาบริเวณที่มีผื่นแพ้ จะช่วยให้ปลายประสาทชา ลดอาการคัน นอกจากนั้นยังช่วยฆ่าเชื้อและลดอาการอักเสบได้อีกด้วย หรือจะนำใบสดของฟ้าทลายโจร มาตำให้ละเอียด แล้วกรองเอาน้ำมาทาบริเวณผื่นลมพิษก็จะช่วยลดอาการคันได้เช่นกัน
  2. อาบน้ำสมุนไพร โดยใช้ใบหนาดใหญ่ จำนวน 10-15 ใบ ใบมะขามเปรี้ยว ตัดมาทั้งกิ่งอ่อน จำนวน 10-20 กิ่ง หญ้างวงช้าง จำนวน 5-7 ต้น ใบข่า จำนวน 10 ใบ และน้ำสะอาด จำนวน 1 ถัง วิธีการคือ ให้นำสมุนไพรทั้งหมดมาล้างทำความสะอาด ตั้งไฟต้มนานประมาณ 30-45 นาที หลังจากนั้นทิ้งไว้ให้อุ่น แล้วนำมากรองเอาน้ำไว้อาบ ส่วนกากที่เหลือเอามาไว้ต้มอาบในครั้งต่อไปได้
  3. ป้องกันด้วยอาหาร ในสมัยก่อนคนโบราณจะนำดอกแค ยอดแค หยวกกล้วย และหัวปลีมาปรุงอาหาร เพราะมีสารอาหารที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย (โดยวิธีนี้ แนะนำให้ใช้กับเด็กที่สามารถทานอาหารเสริมได้แล้วเท่านั้น) หรือแม้แต่ผักผลไม้ต่าง ๆ ก็ช่วยได้เช่นกัน แต่ที่เห็นผลได้อย่างชัดเจน คือ กล้วยน้ำว้าและมะละกอสุก
สมุนไพรรักษาโรคลมพิษ
ใบพลู เป็นสมุนไพรที่รักษาโรคลมพิษได้

ลมพิษในเด็ก เป็นโรคที่ดูแล้วจะไม่รุนแรงอะไร เป็นแล้วสามารถหายเองได้ แต่การที่ลูกเป็น ๆ หาย ๆ เกิดอาการคันมากจนงอแงทุกครั้งที่เป็น ก็มักจะสร้างความกังวลใจให้คนเป็นพ่อเป็นแม่ได้ไม่น้อย ดังนั้น หากลูกมีอาการลมพิษเรื้อรัง หรือมีอาการรุนแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อช่วยกันหาสาเหตุของอาการค่ะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

วิธีรับมือ ผื่นแพ้ทารก แรกเกิดอย่างรู้ทัน!

ผดผื่นทารก มีวิธีป้องกันได้อย่างไร?

อุทาหรณ์! ลูก คันตา อย่านิ่งนอนใจ!

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, honestdocs, www,pikool.comwww.winnews.tv

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up