ลักษณะของอาการที่เกิดขึ้นกับน้องพูมินในช่วงแรก
ตอนนี้น้องพูมินอายุได้ 2 เดือน 11 วันแล้วค่ะ ช่วงที่ลูกมีอาการของโรคนี้ เป็นช่วงที่ลูกอายุได้ประมาณ 2 สัปดาห์ คุณแม่ก็เห็นรอยแรกที่หลังของน้อง และพออายุได้ 1 เดือนก็เริ่มมีหลายรอยเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ คุณแม่สังเกตเห็นว่าผิวหนังลูกเริ่มเป็นตุ่มน้ำแล้วแตก เท่าที่สังเกตมาตั้งแต่ช่วงแรกๆ คือ รอยจะขึ้นจางมากๆ แล้วก็จะค่อยๆชัดขึ้น ซึ่งรอยจะขึ้นเยอะตรงที่ได้รับการเสียดสี คือของน้องพูมินจะมีรอยตรงบริเวณหลัง กับหัวจะขึ้นเยอะ และเท่าที่ได้คุยกับคุณหมอ คือ โรคนี้มีเข้าอวัยวะภายในด้วยนะคะ แต่ของน้องพูมินเป็นเฉพาะผิวหนัง
ส่วนการรักษาคือคุณหมอจะเจาะตรวจเลือดกับตัดชิ้นเนื้อไปตรวจค่ะ และเท่าที่ทราบจากคุณหมอว่าน้องเป็นโรค Urticaria pigmentosa เราเป็นก็ตกใจค่ะ แต่คุณหมอก็อธิบายว่าโรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง และก็ไม่ใช่โรคติดต่อแต่อย่างใด จะมีแค่รอยดำ คุณหมอแนะนำว่าพยายามอย่าให้รอยโดนเสียดสี หรือเกาเพราะจะเกิดตุ่มน้ำ รอยที่เกิดขึ้นจะไม่จางถึงตุ่มแตกรอยก็ยังอยู่เหมือนเดิมค่ะ
บทความแนะนำ คลิก >> ระวัง! 4 จุดบอบบางของเบบี๋ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
ตอนนี้น้องยังเล็กยังเกาไม่เป็นค่ะ บางทีน้องเอามือถูๆ แม่ก็เอามือน้องออก สำหรับยาที่คุณหมอให้ใช้ในการรักษา จะเป็น ครีมยาTA1 ทารอยตุ่มที่เริ่มพอง กับยากิน cholorpheniramine เพื่อลดอาการคัน คุณแม่อยากบอกว่าเด็กที่เป็นโรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ใช่โรคร้ายแรง เพียงแต่จะมีรอยเยอะแยะเต็มตัว พอลูกโตขึ้นก็จะหายเป็นปกติค่ะ
รู้จักกับโรค Urticaria pigmentosa ให้มากขึ้น
ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น urticaria pigmrntosa ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2539 ผู้ป่วยทั้งหมด 24 ราย เป็นชาย 18 ราย เป็นหญิง 6 ราย ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนชายต่อหญิงเท่ากับ 3 : 1 อายุที่เริ่มเป็นโรคตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 4 ปี โดยส่วนใหญ่พบว่ามีอาการภายใน 6 เดือนแรก (79.2%) ผู้ป่วย 21 ราย (87.5%)
มีอาการเริ่มแรกพร้อมกับรอยโรคได้แก่ อาการคัน18ราย(75%) และหน้าแดง (flushing) 7ราย (29%) สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการ ได้แก่ ความร้อน, การเสียดสี, อาหารทะเล, ความเย็น, แป้งเด็ก และยุงกัด
ไม่พบว่า ผู้ป่วยรายใดมีประวัติโรค mastocytosis ในครอบครัว แต่พบว่ามีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว 5 ราย (21%) ลักษณะผิวหนังที่ตรวจพบส่วนใหญ่เป็น hyperpigmented macules & papules 14 ราย (58.33%) อีก 10 ราย (41.67%) พบว่า มีvesiclesร่วมด้วย ตำแหน่งที่พบรอยโรคทุกรายพบที่ลำตัว พบที่แขนและขา 15 ราย (62.5%) หน้า 12 ราย (50%) และไม่พบบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า การตรวจร่างกายอื่นๆ เช่น ตับ,ม้าม และต่อมน้ำเหลืองปกติทุกราย การทดสอบ Darier’s sign พบว่า ให้ผลบวกทุกรายที่ทดสอบ (23 ราย) ผลการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาพบว่า มีการเพิ่มจำนวนของ mast cell ในชั้น dermis เข้าได้กับ pigmentosaทุกราย
การรักษาส่วนใหญ่รักษาตามอาการ คือ ให้ยาต้านฮีสตามีนอย่างเดียว 11 ราย (46%) และใช้ร่วมกับยาอื่นๆ 13 ราย (54%) ได้แก่ ยาทาสเตียรอยด์, ยา kitotifin และยา เพรดนิโซโลนชนิดรับประทาน ผลการรักษาผู้ป่วยจำนวน 21 ราย (87.5%) มีอาการดีขึ้น ได้แก่ อาการคันลดลง และ/หรือ จำนวนรอยโรคลดลง และหรือ รอยโรคสีจางลง[1]
อ่านต่อ การดูแลผิวลูกจากผดผื่น หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่