AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกสะดือจุ่น + โป่ง อันตรายหรือไม่?

ลูกสะดือจุ่น หรือ สะดือโป่ง …อาการนี้มักพบได้กับทารกแรกเกิด ซึ่งอาจทำให้คุณแม่มือใหม่หลายคนที่เห็น อาจสงสัยว่าลูกเป็นอะไร อันตรายหรือเปล่า แล้วจะยุบหายไปหรือไม่?? Amarin Baby & Kids มีคำตอบมาฝากค่ะ

แม่สงสัย ลูกสะดือจุ่น + โป่ง อันตรายหรือไม่?

มีคุณแม่หลายท่านสงสัยและอาจมีความกังวลอยู่ไม่น้อยว่า  …ลูกน้อยมีอาการสะดือจุ่น โป่ง ปูด ขึ้นมามากจนน่ากลัว จะเป็นอันตรายกับลูกหรือไม่?  เช่นเดียวกับคุณแม่ท่านนี้ที่ได้ออกมาโพสต์ถามถึงอาการสะดือของลูกผ่านเฟซบุ๊กในชื่อ Bifern Fern โดยสอบถามแม่ๆ ท่านอื่นในกลุ่ม กลุ่มหนึ่งว่า….

สอบถามแม่ๆหน่อยค่ะ น้องหมอกอายุ 1เดือน2วันสะดือเป็นอย่างในรูป ไม่มีหนองไม่มีเลือดซึมไม่มีกลิ่นค่ะ ผิดปกติไหมค่ะ น้องมีงอแงบ้างนะค่ะและร้องเสียงดัง

ขอบคุณภาพจาก คุณแม่ Bifern Fern

ซึ่งก็มีคุณแม่ๆ หลายท่านที่มีประสบการณ์ออกมาแสดงความคิดเห็นมากมาย พร้อมแนะนำและบอกถึงอาการที่ทารกสะดือจุ่นนี้ว่า…

สะดือทารก  เป็นสิ่งที่คุณแม่รู้อยู่แล้วว่าต้องดูแลและเอาใจใส่กันเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างสายใยบางๆ ระหว่างคุณแม่และคุณลูกนั่นเอง  และเพราะว่าทารกนั้นยังไม่สามารถพูดหรือบอกอะไรได้หากมีอาการผิดปกติ ฉะนั้นคุณแม่และคุณพ่อต้องคอยสังเกตและเอาใจใส่ สะดือของลูกน้อย ตั้งแต่สายสะดือยังอยู่และหลุดไป ซึ่งก็อาจจะเกิดอาการให้น่าวิตกกังวลเหมือนที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ Bifern Fern

♦ อ่านต่อบทความแนะนำ : ภาวะปกติ VS ไม่ปกติของ สะดือเด็กแรกเกิด

ดังนั้นแล้วมาดูกันค่ะว่า เรื่องสะดือของทารกอาการแบบนี้ หรือแบบใดถึงเรียกว่าผิดปกติซึ่งคุณแม่และคุณพ่อควรระวังให้กับลูกน้อยและควรทำความสะอาดสะดือทารกและให้ทั่วถึง  เพื่อไม่ให้สะดือทารก และหากเกิดการติดเชื้อควรพบแพทย์

อ่านต่อ >> โรคไส้เลื่อนที่สะดือของลูกน้อยเป็นอย่างไร” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ลูกสะดือจุ่น เพราะอะไร ผิดปกติหรือไม่

ในทางธรรมชาติแล้ว รกของเด็กที่อยู่ในครรภ์จะเชื่อมต่อกับสายสะดือของแม่ เป็นส่วนที่เด็กจะสามารถได้รับสารอาหารที่แม่กินเข้าไปเมื่อเด็กคลอดออกมา แพทย์จะทำการตัดสายสะดือของเด็กและมัดเอาไว้ สายสะดือส่วนนี้ที่ถูกตัด จะสามารถแห้งไปได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาหลายอาทิตย์หรือเป็นเดือน แล้วแต่ร่างกายของแต่ละคน

ส่วนของสะดือนี้  จะยังคงยื่นออกมาในช่วงแรกๆ ของการคลอดดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายจึงมั่นใจได้ว่า เป็นเรื่องปกติและมันจะยุบบุ๋มกลับลงไปในที่สุด

♦ อ่านต่อบทความแนะนำ :  6 ข้อ ห้ามทำกับสะดือทารกแรกเกิด

ลักษณะอาการ สะดือจุ่น 

อาการ สะดือจุ่น หรือทางการแพทย์เรียกว่า ไส้เลื่อนที่สะดือ (Umbilical hernia) อาการนี้มักพบตั้งแต่แรกเกิดถ้า ซึ่งในทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีโอกาสพบมากขึ้น เพราะเมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว ผนังหน้าท้องตรงสะดือจะปิดไปตั้งแต่ชั้นของผิวหนัง ชั้นของกล้ามเนื้อ และมีชั้นของพังผืดเข้ามาปกคลุม ถ้าหากผนังหน้าท้องส่วนที่อยู่ใต้ชั้นของผิวหนังปิดไม่สนิทแล้ว บางส่วนของลำไส้ก็จะเคลื่อนตัวออกมาอยู่ใต้สะดือและดันจนสะดือโป่งได้

โรคไส้เลื่อนที่สะดือ

โรคไส้เลื่อน หรือ Hernia คือโรคที่อวัยวะภายใน (บางส่วน) เกิดการเคลื่อนตัวออกจากตำแหน่งที่อยู่เดิม ผ่านรูหรือดันตัวผ่านบริเวณกล้ามเนื้อหรือพังผืดที่เกิดความหย่อนยานสูญเสียความแข็งแรง ไปอยู่ยังอีกตำแหน่งหนึ่งและมักปรากฏเป็นก้อนตุงออกมา โดยส่วนที่เคลื่อนตัวออกไปจะยังคงถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อหุ้มเดิมของมัน อวัยวะที่เกิดไส้เลื่อนได้บ่อยคือ ลำไส้เล็ก1

คำว่า Hernia มาจากภาษาลาตินแปลว่า Rupture (แตก) ทั้งนี้โรคไส้เลื่อนแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดตามตำแหน่งที่อวัยวะเคลื่อนไปอยู่และตามสาเหตุการเกิด การรักษาส่วนใหญ่ต้องอาศัยการผ่าตัด2

ไส้เลื่อนแต่ละชนิดจะพบได้ในเพศและวัยที่แตกต่างกันไป แต่พบได้ในคนทุกเชื้อชาติทั้งนี้

1.ไส้เลื่อนตรงขาหนีบ (Inguinal hernia) พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 25 เท่า ส่วนมากพบในวัยกลางคนจนถึงสูงอายุ เป็นไส้เลื่อนชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดคือประมาณ 75% ของไส้เลื่อนทั้งหมด

 

2.ไส้เลื่อนที่สะดือ (Umbilical hernia) หรือที่เรียกกันว่าสะดือจุ่น มักพบตั้งแต่แรกเกิดถ้า เป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีโอกาสพบมากขึ้น เพศหญิงพบบ่อยกว่าเพศชายในสัดส่วน 3:1 ส่วนใหญ่จะหายได้เองก่อนอายุ 2 ขวบ พบว่าทารกชาวผิวดำพบเกิดเป็นไส้เลื่อนชนิดนี้มากกว่าทารกชาวผิวขาวถึง 8 เท่า

 

 

♦ อ่านต่อบทความแนะนำ :  navel วิธีดูแลและทำความสะอาดสะดือลูกน้อย

3.ไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatal hernia) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย พบมากในวัยสูงอายุ

4.ไส้เลื่อนบริเวณที่ต่ำกว่าขาหนีบ (Femoral hernia) พบได้ค่อนข้างน้อย เกือบทั้งหมดจะพบแต่ในผู้หญิงเท่านั้น

5.ไส้เลื่อนตรงหน้าท้องเหนือสะดือ (Epigastric hernia) พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงในสัด ส่วน 3:1 พบได้น้อยเช่นกัน

6.ไส้เลื่อนตรงข้างๆกล้ามเนื้อหน้าท้อง (Spigelian hernia) พบในผู้หญิงมากกว่าในผู้ชายเล็กน้อย ส่วนมากพบตั้งแต่วัยกลางคนขึ้นไป

7.ไส้เลื่อนภายในช่องเชิงกราน (Obturator hernia) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในสัดส่วน 6:1 แต่เป็นชนิดพบได้น้อยมาก

8.ไส้เลื่อนที่เกิดหลังผ่าตัด (Incisional hernia) โดยเกิดในตำแหน่งที่เคยผ่าตัดมาแล้ว พบได้ในทุกเพศทุกวัยที่เคยมีการผ่าตัดภายในช่องท้องมาก่อน

อ่านต่อ >> “วิธีรักษาอาการโรคไส้เลื่อนที่สะดือของลูกน้อย” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

สาเหตุของการเป็นไส้เลื่อนที่สะดือ

ไส้เลื่อนที่สะดือ (Umbilical hernia) เมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว ผนังหน้าท้องตรงสะดือก็จะปิดไปตั้งแต่ชั้นของผิวหนัง ชั้นของกล้ามเนื้อ และมีชั้นพังผืดเข้ามาปกคลุม แต่หากผนังหน้าท้องส่วนที่อยู่ใต้ต่อชั้นของผิวหนังปิดไม่สนิทแล้ว ทำไห้มีบางส่วนของลำไส้ก็จะเคลื่อนตัวออกมาอยู่ใต้สะดือและดันจนสะดือโป่งได้3 ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ทารกแรกเกิดเป็นโรคไส้เลื่อนที่สะดือมาจากการร้องไห้ โดยอาการไส้เลื่อนที่สะดือ จะปรากฏเป็นก้อนที่สะดือ หรือทำให้กลายเป็นสะดือจุ่น

♦ อ่านต่อบทความแนะนำ : สาเหตุที่ทำให้ลูก ทารกร้องไห้ และวิธีรับมือ
♦ อ่านต่อบทความแนะนำ : 10 วิธีทำให้ลูกหยุดร้องไห้

 

ลูกสะดือจุ่น (สะดือเป็นก้อนโป่งขึ้น) จะเป็นอะไรหรือไม่ ?

หากคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกน้อย 1 เดือน มีอาการสะดือจุ่น หรือโป่งปูดขึ้นมา ลักษณะของสะดือจุ่นแบบปกติ มักจะมีขนาดไม่เกิน 1 ซม. โดยคุณแม่ไม่ต้องทำอะไร ยิ่งเฉพาะเวลาที่ลูกร้องไห้หรือเบ่งอุจจาระจะทำให้โตมากขึ้น และตึง จนเป็นที่หวาดเสียวแก่คุณพ่อคุณแม่ เพราะกลัวว่ามันจะแตกออกมาเหมือนลูกโป่ง ทั้งนี้ เป็นเพราะในช่วงเวลานั้นเป็นจังหวะที่มีความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น สาเหตุเกิดจากความอ่อนแอของกล้ามเนื้อหน้าท้องบริเวณนั้นส่วนใหญ่นั่นเอง ถ้าขนาดที่โป่งออกมาไม่ใหญ่จนเกินไป (เช่น เส้นผ่าศูนย์กลางยาวถึง 5 เซนติเมตรขึ้นไป)

ซึ่งอาการนี้จะหายไปเองตามธรรมชาติ ตามปกติสะดือจะยุบไปเองภายใน 2-3 เดือน แต่บางคนอาจถึง 1 ปี ถ้ามีคนชักชวนให้ทำการผ่าตัด คุณแม่อย่าตกลงด้วยง่าย ๆ เพราะของมันหายได้เองตามธรรมชาติ ไม่ต้องทำการผ่าตัด และถึงแม้เด็กจะอายุ 1 ขวบแล้ว แต่สะดือยังไม่ยุบ หมอบางคนยังให้รอดูถึง 4 ขวบ  นอกเสียจากว่ามีขนาดโตหรือผิดปกติ ก็อาจจะต้องรีบเข้ารับการตรวจจากแพทย์ เพราะอาจจะมาจากสาเหตุของการติดเชื้อ ที่เกิดขึ้นได้จากการรักษาความสะอาดที่ไม่ดีพอ

♦ อ่านต่อบทความแนะนำ :  จุดบอบบางของลูก ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ

แต่อย่างไรก็ตามการที่สะดือจุ่นแล้วแตกออกมานั้นยังไม่เคยมีปรากฏเหตุการณ์นี้ที่ไหน ทั้งนี้การใช้แถบพลาสเตอร์หรือเอาสตางค์แดง หรือเหรียญบาทกดรัดไว้ตามที่โบราณบอกไว้นั้น ไม่สามารถช่วยได้ แต่ในทางกลับกันอาจทำให้ผิวหนังของลูกบริเวณนั้นชื้นแฉะและอักเสบได้ง่ายอีกด้วย

♥ วิธีการรักษาอาการ สะดือจุ่นที่ผิดปกติ

สำหรับในเด็กบางรายกลับพบว่า ส่วนของสะดือไม่ยุบกลับลงไป อันเกิดจากการที่กล้ามเนื้อบริเวณท้องไม่แข็งแรงมากพอ ส่งผลให้สะดือไม่สามารถที่จะยุบกลับลงไปได้ การสังเกตสะดือของลูก คือ หากมีความผิดปกติ คือมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ไม่ยอมยุบลงไปสักที โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไป หรือมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องรุนแรง มีอวัยวะคล้ายลำไส้หลุดออกมา ไปจนถึงอาการอื่นๆ ก็ควรที่จะพาเด็กเข้าพบแพทย์ และได้รับการตรวจ

หากแพทย์พบว่าเป็นสะดือที่มีความผิดปกติ โดยส่วนมากจะได้รับการผ่าตัดเพื่อทำการรักษา หรือในบางรายที่สะดือจุ่นแบบปกติ แต่ไม่ยอมยุบลงไปสักที ก็อาจจะตัดสินใจทำการผ่าตัด เพื่อป้องกันปัญหาทางด้านจิตใจ ที่อาจจะตามมาในอนาคต เมื่อเด็กเติบโตขึ้นเป็นวัยรุ่นนั่นเอง

ก็สรุปได้ว่า หากคุณแม่เห็นลูกน้อยมีความผิดปกติของสะดือในลักษณะนี้ขึ้นมาก็อย่าเพิ่งตกอกตกใจ เพราะภาวะไส้เลื่อนสะดือหรือสะดือจุ่นนี้สามารถหายได้เองเมื่อลูกโตขึ้นค่ะ

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณบทความอ้างอิงจาก :  www.momandkidth.com , www.childanddevelopment.com , haamor.com (1,2,3)