ทันตาภิบาลเตือน! พบ เด็กฟันผุ ทะลุโพรงประสาทฟันจนติดเชื้อ - Page 3 of 3 - Amarin Baby & Kids
เด็กฟันผุ

ทันตาภิบาลเตือน! พบ เด็กฟันผุ ทะลุโพรงประสาทฟันจนติดเชื้อ

Alternative Textaccount_circle
event
เด็กฟันผุ
เด็กฟันผุ

ไม่อยากเป็น “เด็กฟันผุ” ต้องป้องกันก่อนสายเกินไป

เมื่อฟันน้ำนมผุเป็นปัญหาใหญ่ และส่งผลต่อเด็กอย่างคาดไม่ถึง คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นใส่ใจเรื่องความสะอาดในช่องปากของลูก และปฏิบัติตามข้อแนะนำ ดังต่อไปนี้

  • หมั่นสังเกตมองฟันของลูกด้วยตาเปล่า เพื่อตรวจหาบริเวณที่ผิวฟันเป็นรู ผิวฟันมีการเปลี่ยนเป็นสีดำ ร่วมกับคอยสังเกตว่าลูกมีอาการปวดฟันหรือเสียวฟันหรือไม่
  • ทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล (คาร์โบไฮเดรต) ให้น้อยลง โดยเฉพาะอาหารจำพวกแป้ง อย่างเช่น มันฝรั่งทอด ของขบเคี้ยว ถึงแม้จะไม่มีน้ำตาล แต่ก็เป็นบ่อเกิดทำให้เกิดฟันผุได้เช่นกัน
  • ฝึกนิสัยไม่ให้ลูกทานขนมจุบจิบ อาหารรสหวาน รวมถึงขนมหวานที่เหนียวหนึบติดฟันได้ง่าย เช่น ลูกอม ทอฟฟี่ น้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำหวาน น้ำผลไม้ นม ของหวาน ผลไม้อบแห้ง เป็นต้น เพราะเป็นสาเหตุของฟันผุ ควรให้ทานอาหารที่มีประโยชน์ และทานให้เป็นเวลา
  • คุณพ่อคุณแม่ควรแปรงฟันให้ลูกอย่างถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้งในตอนเช้าและก่อนนอน เมื่อลูกไม่ยอมแปรงฟัน อาจจะต้องหลอกล่อด้วยวิธีต่าง ๆ และหากไม่สำเร็จ วิธีสุดท้ายคือการบังคับ
  • ควรใช้ไหมขัดฟัน ขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง เพื่อช่วยทำความสะอาดซอกฟันที่ขนของแปรงสีฟันเข้าไปไม่ถึง ด้วยการเอาเศษอาหารและคราบจุลินทรีย์ออกจากซอกฟัน
  • ควรฝึกให้ลูกบ้วนปากในทันที ทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
  • ควรใช้ฟลูออไรด์ ซึ่งอาจเป็นในรูปแบบของยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก หรือยาเม็ดที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ (Fluoride) ถ้าใช้ชนิดทาน ควรปรึกษาทันตแพทย์ถึงขนาดและวิธีการใช้ ก่อนทาน โดยฟลูออไรด์นี้จะช่วยเสริมสร้างผิวเคลือบฟันให้แข็งแรง
  • ควรเริ่มแปรงฟันให้ลูก เมื่อลูกมีฟันขึ้นตั้งแต่ซี่แรก
  • ไม่ควรให้ลูกดูดนมจากขวดหรือดูดนมแม่จนหลับ
  • สอนให้ลูกแปรงฟัน และดูแลช่องปากอย่างถูกวิธี
  • หมั่นไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟันเป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อจะได้ตรวจพบฟันผุตั้งแต่ในระยะแรก ๆ ที่มักไม่มีอาการอะไรและรักษาให้หายก่อนที่โรคจะลุกลามมากขึ้น รวมไปถึงการตรวจช่องปาก ขูดหินปูน และทำความสะอาดฟัน ซึ่งจะช่วยลดการเกิดโรคฟันผุ ช่วยป้องกันและยับยั้งปัญหาในช่องปากและฟันอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
หมอฟันเด็ก
ควรพาลูกไปตรวจสุขภาพฟันกับทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน หรือบ่อยกว่านั้น

ถึงแม้ว่าฟันน้ำนม จะมีอายุการใช้งานเพียง 5-10 ปีเท่านั้น แต่การคิดว่าอีกไม่กี่ปี ฟันน้ำนมก็หลุดออกแล้ว เด็กฟันผุ ไม่จำเป็นต้องดูแลนั้น เป็นความคิดที่ผิดค่ะ เพราะเมื่อไรก็ตามที่ฟันผุอยู่ในระยะที่ 3 ขึ้นไป ซึ่งฟันจะผุลึกลงไปถึงโพรงประสาทฟันแล้วล่ะก็ ลูกจะเจ็บปวดทรมานทั้งจากการอักเสบติดเชื้อ และจากการรักษาฟัน ดังเช่นอุทาหรณ์นี้

อ่านบทความดี ๆ คลิก

ทำฟันฟรี 2561 ทั้งครอบครัว เช็กรายชื่อรพ. ที่ร่วมโครงการได้ที่นี่!

ทันตกรรม ค่าทำฟันเด็ก ทั้งรพ.รัฐ และเอกชน

ไม่อยากให้ “ลูกฟันผุ ต้องแปรงฟัน” และดูแลให้ถูกต้อง

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : Pitayarat Sitkongkhajorn, medthai.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up