หมอเตือน!! หน้าฝนนี้ .. ไข้หวัดใหญ่ระบาดหนัก 6 กลุ่มเสี่ยงระวังให้ดี อาการไข้หวัดใหญ่ คล้ายกับโควิด-19 ติดร่วมกันได้ ทำอาการรุนแรงยิ่งขึ้น หากมีอาการควรรีบหามหมอ
หมอเตือน! ไข้หวัดใหญ่ระบาด เสี่ยงติดโควิด-19 ร่วมกันได้
ทำอาการรุนแรงยิ่งขึ้น!!
จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบและสร้างความวิตกกังวลต่อประชากรทั่วโลกอย่างหนักซึ่งสำหรับประเทศไทยในช่วงเดือน พ.ค. ที่แม้จะมียอดผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Covid-19 ลดลง … แต่เมื่อเข้าสู่หน้าฝนก็ยังคงมีอีกหนึ่งโรคต้องระวัง นั่นคือ “โรคไข้หวัดใหญ่” ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ ที่สามารถแพร่กระจายไปสู่คนทุกเพศทุกวัยได้เช่นเดียวกับโควิด-19
- โรคไข้หวัดใหญ่ ระบาดหนัก 3 เดือนแรก พบเด็กแรกเกิด-4 ปี ป่วยมากสุด!
- ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์A รุนแรงและอันตรายกว่าทุกสายพันธุ์
โดยช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม จนถึง 7 พ.ค. 2563 ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วย อาการไข้หวัดใหญ่ มากกว่าโควิด-19 ถึง 33 เท่า (จํานวน 98,831 ราย) และเสียชีวิตไปแล้ว 3 ราย ซึ่งในปีนี้ก็ถือเป็นครั้งแรกที่มีโรคระบาดทั้ง 2 โรคพร้อมกัน ทำให้เป็นการเพิ่มภาระงานและส่งผลต่อทรัพยากรทางการแพทย์อย่างมาก จึงจำเป็นที่ทุกคนต้องหาวิธีจัดการกับไข้หวัดใหญ่ในช่วงเวลานี้ให้ไม่ซ้ำเติมกันเข้าไปอีก
ความแตกต่างระหว่าง อาการไข้หวัดใหญ่ และ โควิด 19
นายแพทย์ วีรวัฒน์ มโนสุทธิ รองผู้อำนวยการสถาบัน กลุ่มแผนปฏิบัติการชาติฯ สถาบันบำราศนราดูร ได้กล่าวว่า “โรคไข้หวัดใหญ่มักระบาดในหน้าฝน ซึ่งมีความน่ากังวลเพราะ อาการไข้หวัดใหญ่ และโควิด-19 มีความคล้ายคลึงกันมาก และสามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นเมื่อมีการไอหรือจามได้เช่นเดียวกัน
ซึ่งถึงแม้ในปัจจุบันวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะมีแพร่หลาย แต่พบว่าคนที่ได้รับวัคซีนแล้วยังคงสามารถป่วยจากไข้หวัดใหญ่ได้ เนื่องจากวัคซีนอาจมีประสิทธิภาพเพียง 40-60 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นกับสายพันธุ์ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในแต่ละปี แต่ล่าสุดพบมีข้อมูลว่าผู้ป่วยติดเชื้อร่วมกันได้ทั้ง 2 โรค
- 1 พ.ค. ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฟรี 2563 พร้อมคำแนะนำเรื่องรับวัคซีนช่วงโควิดระบาด
- เมื่อลูก “เป็นไข้” ดูแลอย่างไรให้หายดี ?
- ไข้หวัดใหญ่ ระบาด รับหน้าฝน! หมอเตือน รีบพาลูกฉีดวัคซีน
ทั้งนี้การติดเชื้อทั้ง 2 โรคในเวลาเดียวกันหรือ co-infection จะเป็นการเพิ่มความรุนแรงของโรค ซึ่งเป็นอันตรายในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ โดยการศึกษาที่สหรัฐอเมริกาและจีนพบว่าการติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้ออื่นๆร่วมกันได้สูงถึง 20 และ 80 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และการติดเชื้อร่วมกับโควิด-19 กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ พบเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ และการติดเชื้อร่วมกันนั้นเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงถึง 29-55 เปอร์เซ็นต์
อาการไข้หวัดใหญ่ ที่เข้าเกณฑ์มีการติดเชื้อประกอบด้วย
- ไข้สูง 38-40 องศาเซลเซียส
- ปวดศีรษะ คัดจมูกหรือน้ำมูกไหล
- เจ็บคอ ไอ
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และร่างกายอ่อนเพลีย
ส่วน 6 กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดเชื้อไวรัส และมี อาการไข้หวัดใหญ่ มากที่สุด ได้แก่
- กลุ่มแม่ท้อง
- เด็กเล็กอายุระหว่าง 6 เดือน – 5 ปี
- ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี
- ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังประจำ
- ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เป็นโรคมะเร็ง
- ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น มีโรคปอดอักเสบเรื้อรัง โรคหัวใจ ไตวายเรื้อรัง หลอดเลือดในสมองตีบ
และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ซึ่งเมื่อแพทย์ยังไม่สามารถแยกอาการระหว่างผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่กับผู้ป่วยโควิด-19 ได้อย่าง 100%
ดังนั้นหากใครสงสัยว่ามี อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น มีไข้สูง ไอ คัดจมูก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บคอ ร่างกายอ่อนเพลีย และมีน้ำมูลมาก แสดงว่ามีอาการไข้หวัดใหญ่มากกว่าโควิด-19 ต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว โดยเฉพาะในกรณีที่อาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาด้วยยาต้านไวรัส
วิธีรักษาโรคไข้หวัดใหญ่
สำหรับการรักษา จะมีการรับยาต้านไวรัส เพื่อลด อาการไข้หวัดใหญ่ ลดปริมาณเชื้อไวรัสในร่างกาย ทำให้อาการของคนไข้ลดลง ลดภาวะการเป็นโรคแทรกซ้อน โรคปอดอักเสบได้ และลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสสู่คนรอบข้าง โดยทางการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่จะแบ่งตามความรุนแรง คือ ถ้าเป็นผู้ป่วยที่อาการรุนแรง จะพิจารณายาต้านไวรัสให้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องรอผลการตรวจ ส่วนกลุ่มผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง จะแบ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง จะให้ยาต้านไวรัสเร็วที่สุด ขณะที่กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ จะมีการพิจารณาตามอาการ แต่หากเป็นกลุ่มเสี่ยงต่ำแต่ต้องอาศัยร่วมกับบุคคลเสี่ยงก็จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัสเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้การแพร่กระจายเชื้อของไข้หวัดใหญ่ และโควิด-19 มีลักษณะใกล้เคียงกัน ผู้ที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่กระจายเชื้อไป 2 คน แต่โควิด -19 กระจายเชื้อ 2-3 คน ซึ่งแม้สถานการณ์ภาพรวมของประเทศดีขึ้น แต่เมื่อเข้าสู่หน้าฝนในเดือน มิ.ย.นี้ ที่อาจมีการระบาดไข้หวัดใหญ่ และมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์โควิด -19 จะทำให้เกิดการประชุม สัมมนา การท่องเที่ยว การคมนาคมมากขึ้น จึงอาจจะทำให้มีแนวโน้มเกิดโควิด -19 รุนแรงกลับมาใหม่ได้ และหากผู้ป่วยมี อาการไข้หวัดใหญ่ ร่วมด้วย จะทำให้ภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น และต้องใช้ยารักษาต้านไวรัสทั้งไข้หวัดใหญ่ และโรคโควิด-19 ไปพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายได้
วิธีจัดการรับมือโรคไข้หวัดใหญ่ = สามารถทำได้โดยการรักษาสุขอนามัยที่ดี ล้างมือบ่อยๆ และฉีดวัคซีนประจำปี ซึ่งสามารถป้องกันได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากการจะฉีดวัคซีนแต่ละปีองค์การอนามัยโลกจะคาดการณ์ว่ามีการแพร่ระบาดของไวรัสตัวไหนบ้าง และประกาศให้แต่ละประเทศมีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตัวนั้น
และเพื่อลดการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ ทุกบ้านควรมีความรู้ในการป้องกันตนเอง ซึ่งช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา มีโควิด-19 ระบาด มาตรการป้องกันดูแลตัวเองของโควิด-19 ก็สามารถป้องกันการแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่ในช่วงหน้าฝนเดือน มิ.ย.นี้ ด้วยเช่นกัน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรดูแล ป้องกันสุขภาพของลูกน้อยและตัวเองให้ดี ต้องระวังการแพร่กระจายเชื้อ ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกน้อยหรือตัวเองมีอาการผิดปกติ ไข้ ไอ เหนื่อย หรือมีความเสี่ยงต้องอยู่กับกลุ่มเสี่ยงในบ้าน ให้รีบมาพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อนำไปสูการวินิจฉัย รักษา และมีโอกาสในการลดการปลดปล่อยของเชื้อ ไปยังผู้อื่นนะคะ
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- ไขข้อสงสัย ลูกฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ แล้วทำไมยังต้องฉีดซ้ำ!!
- ผลกระทบจากโควิด ของคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด
- โรคอักเสบรุนแรงในเด็ก ที่อาจเกี่ยวข้องกับโควิด 19
- พ่อแม่ต้องรู้! 10 ความแตกต่าง อาการไข้เลือดออก vs อาการโควิด 19
- ไข้ หรือ ตัวร้อน เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้ และดูอาการลูกให้เป็น!!
- ปรอทวัดไข้มีกี่แบบ ? เลือกแบบไหนวัดไข้ลูกแม่นยำที่สุด!
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.sanook.com , www.bangkokbiznews.com , www.ryt9.com , www.pidst.or.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่