AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกไอมีเสมหะ เสี่ยงเป็น 6 โรคร้าย กับระบบทางเดินหายใจ

พ่อแม่ระวัง เมื่อ ลูกป่วย เป็นไข้หวัด หรืออยู่ดี ๆ ลูกไอมีเสมหะ ขึ้นมา สังเกตให้ดี อาจไม่ใช่หวัดธรรมดา เสี่ยงเป็น 6 โรคร้าย ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ

ทำไม? ลูกไอมีเสมหะ

ธรรมชาติได้สร้าง เสมหะ เพื่อดักจับสิ่งแปลกปลอมที่ผ่านเข้ามาในทางเดินหายใจ และ ขับเสมหะ หรือ สิ่งแปลกปลอมออกโดยไอ ในภาวะที่มีความผิดปกติของระบบหายใจ เช่น  มีการติดเชื้อหรือมีการระคายเคืองจากการได้รับสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ จะทำให้มีการสร้างเสมหะมากกว่าปกติ

ทั้งนี้ อาการไอ ส่วนใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคทางเดินหายใจ ซึ่งการติดเชื้อที่พบบ่อยคือ การติดเชื้อไวรัส ทั้งของทางเดินหายใจตอนต้น และของทางเดินหายใจตอนล่าง ส่วนโรคที่พบบ่อยจากการติดเชื้อแบคทีเรียคือ โรคไซนัสอักเสบ โรคปอดอักเสบ/โรคปอดบวม

โรคทางเดินหายใจ มีอาการอย่างไร?

อาการเฉพาะของโรคทางเดินหายใจคือ อาการไอ ที่มีได้ทั้งไอมีเสมหะ หรือไอโดยไม่มีเสมหะ ส่วนอาการอื่นๆเป็นอาการไม่เฉพาะ พบได้ในโรคอื่นๆ ซึ่งที่พบได้บ่อย คือ

นอกจากนี้ อาการคันคอ ระคายคอ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไอ และอาการไอที่ว่านี้แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1.ไอแห้ง 2.ไอแบบมีอะไรมาระคายคอ และ 3.ไอแบบมีเสมหะ ซึ่งอาจเกิดจากเด็กมีน้ำมูกแล้วสูดเอาน้ำมูกไหลลงคอจนเกิดอาการไอ

 

อ่านต่อ >> “ลูกไอมีเสมหะอาจเกิดจากอะไร” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ลูกไอมีเสมหะ อาจเกิดจาก?

อย่างไรก็ดี การไอที่มีน้ำมูกมาก หากได้รับยาลดน้ำมูกที่เหมาะสม อาการมักจะดีขึ้น แต่หากการไอเกิดจากพยายามที่จะขับเสมหะออกจากทางเดินหายใจส่วนล่าง ให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตดูว่า ถ้าเสมหะเป็นสีเขียว สีเหลืองขุ่นข้น ร่วมกับมีไข้ จะเป็นการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง

 

ซึ่งเมื่อ ลูกไอมีเสมหะ จะเกิดจากอะไรบ้าง ที่อาจเสี่ยงทำให้เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ Amarin Baby & Kids มีคำตอบจากคุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาฝากค่ะ

1. โรคภูมิแพ้ เช่น แพ้นมวัว แพ้อาหาร แก้ไขโดย หยุดกินอาหารที่แพ้ แพ้สารกระตุ้นภูมิแพ้ที่เกิดจากการสูดดม เช่นฝุ่น ไรฝุ่น ละอองเกสร ซากแมลงสาบ รังแค ขนสุนัข-แมว วินิจฉัยโดยการทดสอบผิวหนังหรือเจาะเลือดตรวจดูระดับภูมิคุ้มกัน แก้ไขโดย หลีกเลี่ยงสารดังกล่าวร่วมกับการกินยารักษาภาวะภูมิแพ้

 

2. โรคต่อมทอนซิลและคอหอยอักเสบ ทำให้มีเสมหะที่เกิดจากการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุช่องคอ เยื่อบุหลอดลม เยื่อบุถุงลม แก้ไขโดย กินยาแก้อักเสบในกรณีที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ดื่มน้ำมากๆ เพื่อทำให้เสมหะไม่เหนียว กินยาละลายเสมหะหรือยาขับเสมหะการทำกายภาพบำบัดเคาะปอด เพื่อให้เสมหะไม่เกาะติดเหนียวกับผนังของหลอดลมหรืออุดตันท่อหลอดลมขนาดเล็ก

3. โรคหวัด โรคไซนัสอักเสบ ทำให้น้ำมูกไหลลงคอ กลายเป็นเสมหะ แก้ไขโดย ล้างจมูกเพื่อช่วยให้น้ำมูกไหลออกดีขึ้นไม่อุดตันหรือไหลลงคอ อาจใช้ยาที่ทำให้น้ำมูกลดลง กินยาแก้อักเสบในกรณีที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

 

4. โรควัณโรค มักมีอาการไอเรื้อรัง ไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร เจริญเติบโตช้า หากสงสัยว่าเป็นโรคนี้ทดสอบได้ด้วยการเอกซเรย์ปอดและทดสอบผิวหนัง รักษาด้วยยารักษาวัณโรค

 

 

อ่านต่อ >> “ลูกไอมีเสมหะอาจเกิดจาก” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

(ต่อ) ลูกไอมีเสมหะอาจเกิดจาก

5. โรคกรดไหลย้อน เนื่องจากภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อหูรูดที่กั้นระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะ ทำให้มีอาหารหรือกรดไหลย้อนขึ้นมาระคายเยื่อบุทางเดินหายใจ จึงไอเรื้อรัง แก้ไขโดยใช้ยาช่วยลดกรดไหลย้อน กินอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยๆ

 

6. อาจมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในระบบทางเดินหายใจ เช่น สำลักชิ้นส่วนของเล่นหรือเศษอาหาร แก้ไขโดย การส่องกล้อง คีบเอาสิ่งแปลกปลอมออก และรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการติดเชื้อ

บทความโดย: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด

ผลสรุปส่วนใหญ่จากอาการ เมื่อลูกไอมีเสมหะ

แต่โดยสรุปแล้ว อาการไอในเด็ก หรือ อาการ ลูกไอมีเสมหะ ส่วนใหญ่เป็นผลจากการอักเสบติดเชื้อ โดยเฉพาะการติดเชื้อไวรัส ซึ่งมักพบว่ามีอาการไข้ร่วมด้วย หากเด็กมีอาการไอ แต่ไม่มีไข้ในแต่ละช่วงวัย อาจต้องคิดถึงสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดอาการไอ ในเด็กวัยทารก อาจเกิดจากความผิดปกติ หรือความพิการแต่กำเนิด

สำหรับในเด็กเล็ก ควรคิดถึงสาเหตุจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เป็นโรคปอดบวม รวมทั้งเชื้อวัณโรค เชื้อโรคไอกรน หากไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ อาจเกิดจากการสำลักสิ่งแปลกปลอมลงไปในหลอดลม หรืออาจเกิดจากหลอดลมมีความไวเกินเป็นผลจากโรคหอบหืด

ส่วนในเด็กโต วัยรุ่น นอกจากเกิดจากการติดเชื้อแล้ว ควรหาสาเหตุอื่นประกอบด้วย เช่น แพ้ควันจากการสูบบุหรี่ ฝุ่นละอองที่กระตุ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ที่จมูกหรือหลอดลมร่วมด้วย

ทั้งนี้ปัจจุบันการรักษาเด็กที่มีอาการไอ น้ำ ยังคงเป็นยาแก้ไอที่ดีที่สุด หากเด็กมีอาการไอ ควรดื่มน้ำให้มากขึ้น และควรเป็นน้ำอุ่น หรือน้ำในอุณหภูมิปกติ หลีกเลี่ยงน้ำเย็น น้ำแข็ง ที่อาจทำให้ไอเพิ่มมากขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย เพื่อลดการอาเจียนที่อาจเกิดร่วม หากการไอเกิดจากหวัด อาการจะดีขึ้นเมื่อโรคหวัดทุเลาลง อย่างไรก็ดี หากเด็กมีอาการไอต่อเนื่องกันนาน หรือไอรุนแรงจนเกิดการอาเจียน กินอาหาร หรือดื่มไม่ได้ หรือมีอาการหอบ หายใจแรง ควรพามาพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาให้ถูกต้องเหมาะสม

แต่ถ้าไม่อยากให้ลูกเกิดอาการไอ คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการเป็นหวัด กินอาหารครบ 5 หมู่ ซึ่งควรเป็นอาหารปรุงสุก ร้อน ใช้ช้อนกลาง และล้างมือบ่อยๆ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายให้เหมาะสม อย่างว่ายน้ำจะช่วยให้เด็กมีสุขภาพปอดที่แข็งแรง เท่านี้แหละครับบุตรหลานของท่านก็จะมีสุขภาพดีตลอดไป

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : haamor.com , www.manager.co.th