ลูกเป็นหวัด มีเสมหะ อาจจะไม่ใช่เรื่องปกตินะคะ เตือนแม่ๆอย่าชะล่าใจ ลูกเป็นหวัดนานๆอาจไม่ใช่แค่หวัดธรรมดา หากปล่อยไว้อาจเสี่ยงถึงขั้นปอดอักเสบได้
แม่แชร์เตือน! ลูกเป็นหวัด มีเสมหะ
อย่างเช่นคุณแม่ เจ้าของเฟสบุ๊คชื่อ อังคณีรัตน์ มรเวก ที่ได้โพสต์ข้อความพร้อมภาพ แชร์ประสบการณ์ส่วนตัว จากการที่ลูกชายตัวน้อยวัย 1 ขวบ ป่วยเป็นไข้หวัด มีอาการจามและไอตามมาด้วย
คุณแม่ได้เล่าว่า “เราเป็นคนที่ค่อนข้างใส่ใจเวลาลูกป่วย เพราะเคยมีประสบการณ์เรื่องเสมหะลงปอด ครั้งนี้น้องเป็นหวัดมีจามและไอ เริ่มมีอาการเมื่อวานตอนเย็น เมื่อคืนหายใจครืดคราดมาก ตื่นเช้ามาเราไม่รอช้า ถึง รพ. เข้าตรวจ เราก็เล่าอาการให้คุณหมอฟัง และเล่าว่าเมื่อ 4 วันที่แล้วเราพาน้องออก ตจว. มา กลัวเรื่อง RSV คุณหมอเลยจัดให้ตรวจหา RSV และไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งคุณหมอฟังเสียงปอด ได้ยินเสียงเสมหะ จึงได้จัดให้ X-Rayปอด เพื่อดูว่ามีเสมหะไหม ใช้เวลารอผล 15 นาที สรุป RSV และไข้หวัดใหญ่น้องไม่ได้เป็น แต่ที่ฟิล์ม X-Ray หมอเจอเสมหะไปเกาะที่ปอด แต่หมอแจ้งว่า.. ไม่ถึงกับปอดอักเสบ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ จะมีอาการอื่นๆ ตามมาแน่นอน หมอจึงให้พ่นยาและดูดเสมหะ เป็นเวลา 3 วัน #แค่หวัดธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ขับรถไป-กลับ 100 กม. เป็นเวลา 3 วัน เพื่อพ่นยาและดูดเสมหะ โพสต์นี้แค่อยากเตือนแม่ๆ ลูกเป็นหวัดนานๆ อย่าชะล่าใจ เพราะเด็กไม่สามารถสั่งน้ำมูกออกมาได้ น้ำมูกที่เด็กสูดเข้าไป มันจะไปสะสมค้างที่ปอด #อย่าคิดว่าแค่หวัด #เพราะบางทีมันอาจเป็นหวัดที่ไม่ธรรมดา”
ล่าสุดคุณแม่ได้อัพเดทกับทางทีมงาน Amarin Baby & Kids ว่าน้องมีอาการดีขึ้นมากแล้ว ซึึ่งโชคดีที่ยังเป็นในช่วงระยะแรก และไปพบแพทย์ได้ทัน ซึ่งถ้าปล่อยไว้นานกว่านี้ คุณหมอบอกว่าเสมหะจะไปเกาะที่ปอดมากขึ้น จนทำให้มีอาการไข้สูงตามมา และเกิดอาการปอดอักเสบในที่สุด ดังนั้นเมื่อ ลูกเป็นหวัด มีเสมหะ คุณแม่ๆห้ามชะล่าใจเป็นอันขาดเลยค่ะ
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก FB : อังคณีรัตน์ มรเวก
อ่านต่อหน้า 2 >> รู้ได้อย่างไร ว่าลูกเสี่ยงป่วยปอดอักเสบ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ลูกเป็นหวัด มีเสมหะ เสี่ยงปอดอักเสบได้
รู้ได้อย่างไร ว่าลูกเสี่ยงป่วยปอดอักเสบ
ลูกเป็นหวัดมีเสมหะ ด้วยสาเหตุหลายๆอย่าง และสภาพอากาศในปัจจุบัน ที่ทำให้คนเรามีอาการป่วยเป็นหวัดได้ง่าย โดยเฉพาะกับเด็กเล็ก ที่ยังมีภูมิต้านทานต่ำอยู่มาก เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ ยิ่งไปกว่านั้นหากเด็กอยู่ในภาวะหรือเป็นเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยอยู่แล้ว ก็จะยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คุณพ่อ คุณแม่ควรให้ความสำคัญและคอยหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยอย่างละเอียด เพื่อเป็นการรู้เท่าทัน ป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงจนยากแก่การรักษา
อย่างที่กล่าวมาว่า ลูกเป็นหวัด มีเสมหะ เป็นเวลานานนั้น หากปล่อยไว้อาจจะเสี่ยงทำให้ลูกเกิดอาการปอดอักเสบได้ ซึ่งสำหรับอาการปอดอักเสบในเด็กนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการได้ดังนี้
- ลูกน้อยมีอาการเป็นไข้ ไอ และหายใจหอบเหนื่อย
- เด็กบางคนอาจจะมีไข้ หรือบางคนก็ไม่มีไข้ แต่อาจจะมีแค่อาการซึม และไม่ยอมดูดนมหรือน้ำ บางรายถึงขั้นอาเจียน
- สำหรับในเด็กบางคน อาจมีอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง อาทิเช่น มีไข้ ร้องกวน งอแง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย หรือมีอาการหนาวสั่น
- เด็กที่มีอาการปอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย จะแสดงอาการขึ้นอย่างเฉียบพลัน คือ ดูมีอาการป่วยหนัก มีการไออย่างมาก และเจ็บหน้าอก
- เด็กที่มีอาการปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส จะเป็นไข้ มีน้ำมูก ไอมีเสมหะ จากนั้นก็จะหายใจลำบาก หายใจเร็วกว่าปกติ จนจมูกบาน ซี่โครงบาน และมีอาการตัวเขียว
ในทางการแพทย์ แพทย์จะทำการรักษาอาการปอดอักเสบที่เกิดขึ้นในเด็ก โดยการรักษาตามอาการ เนื่องจากเด็กแต่ละคนนั้นมีอาการรุนแรงไม่เหมือนกัน รวมถึงขึ้นอยู่กับว่าติดเชื้อโรคหรือไวรัสชนิดใดมา
สำหรับในผู้ป่วยเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี มักจะต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ความรุนแรงของภาวะขาดน้ำ ภาวะพร่องออกซิเจน และอาจพิจารณาการให้สารน้ำทางหลอดเลือด ตามดุลยพินิจของแพทย์ ดังนี้
- การให้ออกซิเจน แพทย์จะพิจารณาให้ออกซิเจนในผู้ป่วยที่มีอาการหอบมาก ซึม กระวนกระวาย ไม่ยอมกินนมและน้ำ รวมถึงหายใจเร็วมากกว่า 70 ครั้งต่อนาที
- การให้น้ำและอาหาร ต้องให้พอเพียงกับความต้องการของผู้ป่วย เพื่อช่วยลดความเหนียวของเสมหะ และสามารถขับเสมหะออกจากร่างกายโดยการไอได้ง่ายขึ้น อีกทั้ง ยังช่วยลดการคั่งค้างของเสมหะที่อุดกั้นทางเดินหายใจในเด็กได้ และยังเป็นการทดแทนการสูญเสียน้ำจากร่างกายที่เกิดจากภาวะไข้สูง หายใจหอบเร็วได้อีกด้วย
- ใช้ยาปฏิชีวนะ สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้ปอดอักเสบ ซึ่งการเลือกยานั้นต้องพิจารณาถึงอายุของผู้ป่วย ประวัติการสัมผัสเชื้อ โอกาสที่เชื้อจะดื้อยา และข้อมูลจากการสอบถามประวัติของอาการอื่นๆประกอบกันด้วย
คุณแม่ๆอ่านแล้วก็อย่าเพิ่งวิตกกังวลไปค่ะ การที่รู้ข้อมูลไว้ก็เพื่อจะได้ศึกษาเรียนรู้ และหาวิธีการป้องกันไม่ให้ ลูกเป็นหวัด มีเสมหะ เป็นระยะเวลานานเกินไป จนเกิดอาการปอดอักเสบขึ้นอย่างที่กล่าวมา ซึ่งคุณแม่ๆก็ต้องกลับไปที่จุดเริ่มต้น คือการศึกษาวิธีการล้างจมูกลูกให้ถูกวิธี เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพอื่นๆของลูกที่จะตามมาค่ะ
อ่านต่อหน้า 3 >>วิธีการเคลียร์น้ำลูกให้ลูกน้อย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
วิธีการล้างจมูก และเคลียร์น้ำมูกให้ลูก
สำหรับในเด็กเล็กนั้น แน่นอนว่า เขายังไม่รู้จักวิธีการช่วยเหลือตัวเองในการทำให้น้ำมูกออกมาจากจมูกตัวเองได้ดีมากนัก และเมื่อมีน้ำมูกอยู่เต็มจมูกก็จะทำให้หายใจไม่สะดวก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรต้องดูแลให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากๆ ซึ่งการล้างจมูก เคลียร์น้ำมูกให้ลูก สามารถทำได้หลายวิธี
ลูกเป็นหวัด มีเสมหะ สามารถใช้วิธีนี้ได้ ซึ่งวิธีนี้ถ้าล้างจมูกให้ลูกที่อายุต่ำกว่า 4 ปี ควรมีคนช่วยจับลูกด้วยอีกหนึ่งคน เนื่องจากเด็กเล็กๆนั้นมักจะมีอาการตกใจกลัว เมื่อมีการนำอุปกรณ์ใส่เข้าไปในจมูก ทำให้เด็กดิ้นปัดไปมา ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการดูดน้ำมูกได้
อุปกรณ์
- ลูกยางดูดน้ำมูก
- น้ำเกลือสำหรับล้างจมูก
- สลิงสำหรับดูดน้ำเกลือ
ขั้นตอน
- จับลูกให้อยู่ท่านอนหงาย และยกคอลูกให้สูงขึ้นเล็กน้อย
- ใช้สลิงดูดน้ำเกลือขึ้นมา จากนั้นค่อยๆหยอดลงในรูจมูกข้างละ 3-5 หยด
- จากนั้นทิ้งน้ำเกลือไว้ในจมูกลูกสักครู่ (ประมาณ 20 วินาที) เพื่อให้น้ำเกลือละลายความเหนียวของน้ำมูก
- เมื่อทิ้งน้ำเกลือไว้ประมาณ 20 วินาทีแล้ว คุณแม่จึงค่อยใช้ลูกยางดูดน้ำมูกออกมาทั้งสองข้างจนหมด เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อยค่ะ
2.วิธีล้างด้วยน้ำเกลือ
สำหรับวิธีนี้ ขอแนะนำคุณพ่อคุณแม่ว่า ในเด็กที่เล็กมากๆ เวลาฉีดน้ำเกลือเข้าไปในจมูกลูกนั้น เด็กอาจจะกลั้นหายใจยังไม่เป็น ทำให้เกิดการสำลักได้ ดังนั้น คุณพ่อ คุณแม่ที่ไม่มีความชำนาญไม่ควรทำให้ลูกเล็ก แต่สำหรับเด็กที่โตพอจะเข้าใจร่างกายการใช้อวัยวะต่างๆของตัวเองได้ ก็สามารถที่จะใช้วิธีล้างจมูกด้วยด้วยน้ำเกลือได้ค่ะ
อุปกรณ์
- น้ำเกลือสำหรับล้างจมูก
- สลิงดูดน้ำเกลือ
ขั้นตอน
- ใช้สลิงดูดน้ำเกลือขึ้นมาประมาณ 1-2 ซีซี จากนั้นฉีดเข้าในจมูกลูกทีละข้าง
- หลังจากที่ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในจมูกลูกแล้ว น้ำมูกเหนียวจะหลุดออกมา ให้คุณแม่ๆใช้ผ้าเช็ดออก ทำความสะอาด เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ
3.วิธีเช็ดจมูกลูกด้วยคอตตอนบัด
สำหรับวิธีนี้ค่อนข้างง่ายสำหรับใช้กับลูกเล็ก ที่อายุยังไม่ถึง 1 ขวบ
อุปกรณ์
- คอตตอนบัด
- น้ำเกลือล้างจมูก
ขั้นตอน
- ให้คุณแม่ใช้คอตตอนบัด จุ่มลงในน้ำเกลือสำหรับล้างจมูก
- จากนั้นค่อยๆเอาคอตตอนบัดเช็ดก้อนขี้มูกที่ติดอยู่ในโพรงจมูก ซึ่งหากก้อนขี้มูกนั้นอยู่ลึกมาก คุณแม่ไม่ควรแหย่คอตตอนบัดลงไปลึกๆ เพราะหากลูกดิ้นอาจเกิดอันตรายต่อเยื่อบุโพรงจมูกของลูกได้ และการเช็ดให้เช็ดตั้งแต่ต้นรูจมูก ไปจนถึงระหว่างกลางรู้จมูกลูกเท่านั้นพอ
เชื่อว่าเรื่องสุขภาพของลูกน้อย ย่อมเป็นสิ่งที่คุณพ่อ คุณแม่ให้ความสำคัญอย่างที่สุด คงไม่มีใครอยากให้ลูกเจ็บป่วยบ่อยๆจริงไหมคะ เพราะฉะนั้นเมื่อลูกป่วยควรหมั่นดูแล และสังเกตอาการของลูกๆอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้หาทางช่วยเหลือลูกน้อยได้ทัน โดยที่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงเกินกว่าจะแก้ไขค่ะ
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ
8 วิธี ขับเสมหะ ลูกโดยไม่ต้องทานยา!
ลูกไอมีเสมหะ เสี่ยงเป็น 6 โรคร้าย กับระบบทางเดินหายใจ
แพทย์ออกมาตรการ! ป้องกันไข้หวัดใหญ่ บนรถสาธารณะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่