นอนกรน เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ขณะนอนหลับ พบว่าทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ก็มีอาการนอนกรนขณะหลับอยู่ไม่น้อยเลยค่ะ ทีมงาน Aamrin Baby & Kids มีสาเหตุของการกรนขณะนอนหลับในเด็ก ที่บางครั้งมีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย ซึ่งอันตรายอย่างมาก
นอนกรน จนหยุดหายใจเรื่องอันตรายที่ต้องระวัง!
คุณแม่เมย์ มาริษา ดาราชื่อดังพาลูกชายน้องมาวิน เช็กภาวะหยุดหายใจจากการ นอนกรน โดยคุณแม่เมย์ได้โพสต์เล่าเหตุการณ์ครั้งนี้ลง ig ส่วนตัวว่า…
“ขอบคุณสำหรับทุกความห่วงใยและกำลังใจที่มีให้พี่มาวินนะคะ มาวินเป็นต่อมอะดีนอยด์โตค่ะ มีอาการหายใจแรงตั้งแต่เล็กๆ ค่ะ ตอนแรกสันนิษฐานว่าเป็นภูมิแพ้ พอเข้า 3 ขวบ เริ่มมีอาการนอนกรน บวกกับเสียงดังครืดคราดคล้ายเด็กเป็นหวัดทั้งที่ไม่ได้ป่วยค่ะ และชอบหายใจทางปาก
เมื่อพบคุณหมอได้เอ็กซเรย์พบว่าต่อมอะดีนอยด์น้องโตมาก เราได้ทำการรักษาด้วยยามาตลอด 3 เดือน (ทาน singulair และพ่น Nasonex ) สุดท้ายไม่ดีขึ้นน้องยังคงนอนกรน หายใจแรง และเกือบตลอดเวลา น้องใช้ปากหายใจแทนจมูกค่ะ อาการทั้งหมดยังไม่น่าเป็นห่วงเท่าภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ทำให้สมองขาดออกซิเจน
ซึ่งหากมีจะส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองที่ควรจะเติบโต และพัฒนาได้ตามวัยของเขามีปัญหา คุณหมอจึงให้ทำ sleep test เพื่อใช้ประกอบแนวทางการรักษาในขั้นต่อไปค่ะ
ขอบคุณทุกกำลังใจที่ส่งให้พี่มาวินนะคะ น้องเข้มแข็งและมีเหตุมีผลมากค่ะ ให้ความร่วมมือพี่พยาบาลดีมาก คุณแม่บอกว่า วันนี้เรามาติดเครื่องมือดูว่ามาวินนอนหลับสบายมั้ย ป้าหมออยากรู้ว่าเวลามาวินหลับ ฝันเห็นอะไรบ้าง
มาวินถามคำเดียว เจ็บมั้ยหม่ามี๊ #ไม่เจ็บเลยลูก แค่สายเยอะแยะ เหมือนนักบินอวกาศแค่นั้นเองลูก เหมือนเราไปท่องอวกาศ ดูดาว พรุ่งนี้ตื่นมา ถอดสายออกก็ไปโรงเรียนได้เหมือนเดิมครับ
พี่เค้าตื่นเต้นรีบอาบน้ำแต่งตัว ใส่ชุด Batman เตรียมมาท่องอวกาศสิฮะ #เด็กหนอเด็ก #เด็กน่ะไม่กลัว #ผู้ใหญ่สิคิดแทนไป ถึงดาวอังคารล้าวว #แม่เองจะใครล่ะ”
บทความแนะนำ คลิก>> ลูกนอนกระตุก ผิดปกติหรือไม่?
ทั้งนี้ทีมงานเว็บไซต์ Amarin Baby & Kids ขอส่งกำลังใจให้คุณแม่เมย์ มาริษา และน้องมาวิน เข้มแข็ง แข็งแรง หายจากอาการนอนกรนในเร็ววันค่ะ
อ่านต่อ เช็กอาการลูกนอนกรนชนิดรุนแรงหรือไม่ หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
สำหรับการนอนกรนในเด็ก (Snoring children) ที่หลายๆ ครอบครัวอาจจะกำลังเผชิญอยู่ ณ ขณะนี้ และยังไม่แน่ใจว่าลูกนอนกรนแล้วมีภาวะแทรกซ้อนใดเกิดขึ้นบ้าง ทีมงานขออนุญาตนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการนอนกรนในเด็ก จาก คณะแพทย์ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์[1] ซึ่งได้อธิบายไว้อย่างละเอียด ดังนี้…
เด็กที่มีการหายใจลำบากขณะนอนกรนอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea Syndrome :OSAS) ซึ่งอาจมีอาการหายใจเสียงดัง หายใจหอบสะดุ้งสำลัก และผู้ปกครองสังเกตเห็นว่าเวลาหายใจเข้าแล้วหน้าอกบุ๋มโดยการอุดกั้นของทางเดินหายใจมักเกิดจากช่องคอที่แคบลง และปิดในระหว่างหลับ
จะทราบได้อย่างไรว่าอาการกรนของลูกเป็นชนิดรุนแรง?[2]
ผู้เชี่ยวชาญโรคจากการนอนหลับได้กล่าวไว้ว่าการนอนกรนธรรมดาอาจสัมพันธ์กับภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นการนอนกรนธรรมดา(primary snoring) นั้นถือว่าเป็นปกติและไม่เป็นอันตรายต่อเด็กอย่างไรก็ตามภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นเป็นภาวะที่อันตรายมากสำหรับเด็กที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นอาจจะนอนหลับยากและมีปัญหาด้านพฤติกรรมถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการเจริญเติบโต และโรคหัวใจได้เนื่องจากมีภาวะขาดออกซิเจนทั้งเด็กผู้ชาย และผู้หญิงสามารถเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้นได้
อาการที่พบได้ทั่วไปในเด็กมีดังต่อไปนี้
- การนอนหลับในท่าทางที่ผิดปกติ
- กรนเสียงดังและกรนเป็นประจำ
- สังเกตเห็นว่าหยุดหายใจขณะหลับในระยะเวลาสั้นๆตามด้วยเสียงกรนหายใจหอบหรือตื่นระหว่างกลางคืน
- เหงื่อออกมากขณะหลับ
- มีปัญหาในการเรียนและพฤติกรรม
- นอนกระสับกระส่าย
- ปลุกตื่นยากหลังตื่นนอนอยากนอนหลับต่อ
- ปวดศีรษะในระหว่างวัน หรือ ปวดศีรษะหลังตื่นนอน
- อารมณ์หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย
- หลับขณะเรียนหนังสือ
- สมาธิสั้นและซนกว่าปกติ (Attention Deficit Hyperactivity Disorder: ADHD)
- ปัสสาวะรดที่นอน (enuresis)
บทความแนะนำ คลิก>> อาการนอนผวาในทารก สาเหตุ และวิธีแก้ไข
คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตลูกขณะนอนหลับ ถ้าพบว่านอนกรนแล้วมีอาการเหล่านี้ไม่ว่าจะ 2 หรือ 3 อาการจากทั้งหมดให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางให้เร็วที่สุดนะคะ
อ่านต่อ จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
จะทราบได้อย่างไรว่าลูกมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นหรือไม่?[3]
คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคจากการนอนหลับ เพื่อวินิจฉัยว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำให้ตรวจการนอนหลับ (polysomnography) ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยบอกว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นหรือไม่ หรือ เป็นเพียงนอนกรนธรรมดา
การตรวจการนอนหลับเป็นการตรวจในช่วงกลางคืน ขณะที่ผู้ป่วยหลับ จะมีการติดอุปกรณ์ไปบนศีรษะและลำตัวผู้ป่วยเพื่อติดตามดูลักษณะการนอนหลับตลอดทั้งคืน โดยการตรวจจะดูลักษณะของคลื่นสมอง การเคลื่อนไหวของแขนขา การทำงานของกล้ามเนื้อ การทำงานของหัวใจ และการหายใจ การตรวจนี้ไม่ทำให้เกิดอันตราย และไม่ทำให้เด็กเจ็บ โดยในระหว่างการตรวจผู้ปกครองควรจะอยู่กับเด็กตลอดทั้งคืน
การตรวจนอกจากจะบอกว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นหรือนอนกรนธรรมดา ยังช่วยบอกความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นได้ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคจากการนอนหลับพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมได้
แนวทางการรักษาเด็กที่มีอาการนอนกรน[4]
- การผ่าตัดผู้ป่วยเด็กส่วนมากมีต่อมทอนซิลและต่อมอะดินอยด์โตซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในเด็ก โดยแพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลและต่อมอะดินอยด์ออกการผ่าตัดนี้เรียกว่า “Adenotonsillectomy” สำหรับการผ่าตัดแบบอื่นอาจแนะนำในผู้ป่วยที่เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างศีรษะและใบหน้า
บางครั้งการผ่าตัดสามารถทำให้หยุดนอนกรนได้ แต่อาจไม่หายขาดจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นการตรวจการนอนหลับหลังการผ่าตัดอาจจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นยังมีอยู่หรือไม่
- การรักษาวิธีอื่น การรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศชนิดแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง(Continuous Positive Airway Pressure: CPAP) เป็นหน้ากากอันเล็กครอบบริเวณจมูกในระหว่างการนอนหลับ หน้ากากนี้จะให้แรงดันอากาศ เพื่อประคับประคองไม่ให้ทางเดินหายใจส่วนบนปิดในขณะหลับ การรักษาวิธีนี้จะมีประโยชน์ในผู้ป่วยเด็กที่รักษาโดยการผ่าตัดไม่ได้ หรือ เมื่อรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดแล้วไม่หาย
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นในเด็กที่มีโรคอ้วน ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำให้ลดน้ำหนัก โดยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ถึงแม้จะรักษาด้วยวิธีอื่นแต่การลดน้ำหนักในผู้ป่วยเด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานควรเป็นเป้าหมายระยะยาวในการรักษา
การนอนกรนในไม่ใช่เรื่องปกติ ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีอาการนอนกรนขณะนอนหลับ อย่าได้นิ่งนอนใจให้รีบพาลูกไปตรวจสุขภาพให้เร็วที่สุด เพื่อที่หากพบภาวะแทรกซ้อนจากการนอนกรน คุณหมอจะได้ให้การรักษาอย่างตรงจุดและเร็วที่สุด เพื่อที่ลูกจะได้ไม่ต้องเสี่ยงกับการเกิดภาวะหยุดหายใจ หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก
ปัญหาการนอนหลับในเด็ก และการแก้ไข
แชร์ประสบการณ์ตรง!! สิ่งที่พ่อแม่ควรทำเพื่อกล่อมลูกนอนหลับ
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
คณะแพทย์ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (ดัดแปลงจากบทความของสมาคมแพทย์โรคจากการหลับแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา). ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. www.sleepcenterchula.org
ขอขอบคุณต้นเรื่องจาก
ig @mari_horn คุณเมย์ มาริษา
news.sanook.com