วิจัยพบ “ผู้สูบบุหรี่” เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19
และมีแนวโน้มเสียชีวิตสูงกว่าคนทั่วไป
นิตยสารฟอร์บส์ ได้ออกมาเปิดเผยรายงานวิจัยระบุว่า ผู้สูบบุหรี่ ทั้งบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ มีผลทำให้ปอดอ่อนแอ ต้นตอเกิดโรคโควิด-19 มีส่งผลให้ เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 หรือ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ง่ายขึ้น สูงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
โดย เจ. เทเลอร์ เฮย์ ผู้อำนวยศูนย์ศึกษานิโคติน ของคลินิกเมโย ซึ่งเป็นสถาบันโรคมะเร็งที่มีชื่อเสียงระดับโลก ตั้งอยู่ในเมืองโรเชสเตอร์ รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐ ชี้ว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในประเทศจีน ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ ซึ่งจะมีความเสี่ยงร้ายแรงกว่าคนทั่วๆไป
ทั้งนี้งานวิจัยยังพบว่า ในจำนวนผู้ติดโควิด-19 ชาวจีน 1,099 ราย พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง 173 คน ซึ่ง 16.9%ของผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นผู้สูบบุหรี่ และ 5.2% เคยสูบบุหรี่มาก่อน … อย่างไรก็ตาม เมื่อศึกษาเพิ่มเติมยังพบว่า ผู้ป่วยอาการโคม่าและผู้ป่วยที่เสียชีวิตจำนวน 25.5% เป็นผู้ที่สูบบุหรี่มาก่อน
>> รวมไปถึงยังมีการทดลองในหนู จากผู้เชี่ยวชาญทั้งจาก สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ซึ่งจากสหราชอาณาจักร คือ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ มหาวิทยาลัย Trent และ ศ.เดอร์ เลวิส แห่งมหาวิทยาลัยแวนเซีย ส่วนจากสหรัฐฯ คือ ผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก
พบว่า… นิโคตินที่ผ่านเข้าปอดหนูทดลอง มีผลทำให้ลดประสิทธิภาพการทำงานของปอด ปอดกำจัดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ช้าลง ส่งผลให้ เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่ายและยัง เพิ่มความไวในการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ เอ และเสี่ยงต่อการเกิดปอดอักเสบซึ่งเกิดจากการสูบไอของบุหรี่ไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า “อิวาลี่” (EVALI)
ดังนั้นในช่วงเวลาที่โลกกำลังมีการระบาดของโรคนี้ จึงเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่ คุณผู้ชายนักสูบไทยทั้งหลายควรจะเลิกสูบบุหรี่ เพื่อป้องกันตัวเองจากโควิด-19 และเพื่อสุขภาพที่ดี ซึ่งการเลิกสูบบุหรี่จะช่วยฟื้นฟูปอดให้กลับมาแข็งแรงและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้สูบบุหรี่ที่มีจิตใจเข้มแข็ง สามารถเลิกสูบได้ด้วยการหักดิบเลิกสูบ ส่วนผู้สูบที่ต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 (โทรฟรีทุกเครือข่าย)
ทำไมควันบุหรี่ถึงสามารถแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ได้?
ในเรื่องของการ แพร่กระจายเชื้อโควิด-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยแพร่ข้อมูลที่น่าสนใจว่า… มีการลงพื้นที่บังคับใช้กฎหมายดำเนินคดีกับผู้สูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ แม้ว่าดูจะเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะยกเว้นโซนที่จัดไว้ให้โดยเฉพาะ แต่ครั้งนี้พบว่าการสูบบุหรี่นั้น เป็นพฤติกรรมเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19 ในพื้นที่สาธารณะ
เพราะการสูบบุหรี่ ซึ่งรวมถึงบุหรี่ไฟฟ้า เมื่อมีการพ่นควันหรือละอองไอของบุหรี่ออกมาแล้ว เท่ากับว่าเป็นการแพร่เชื้อ เนื่องจากในควันหรือละอองนั้น ประกอบด้วย สารคัดหลั่ง น้ำลาย เสมหะ และแบคทีเรีย ทำให้เมื่อพ่นควันออกมาเป็นระยะทางไกล ก็จะส่งผลให้เชื้อแพร่กระจายได้โดยง่ายทั้งนี้ หากสัมผัสผู้สูบบุหรี่ที่เป็นผู้ติดโควิด-19 ด้วยแล้ว จะทำให้แพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรน่าไปยังคนอื่นได้โดยง่ายอีกด้วย
Must read >> 10 สถานที่เสี่ยงแพร่กระจาย “เชื้อไวรัสโคโรนา”
โดยผู้ที่ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 43 พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ 2560
ขณะเดียวกันก่อนหน้านี้กรมควบคุม ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของเชื้อไวรัสชนิดนี้ ที่มีโอกาสดำรงชีวิตอยู่บนพื้นผิวต่างๆ ซึ่งจะพบได้ทั้งในละอองผอยน้ำมูก เสมหะ น้ำลาย และน้ำตา โดยสามารถอยู่รอดได้ในอากาศราว 5นาที ขณะที่ในน้ำอยู่ได้นานถึง 4 วัน รวมถึงบนวัสดุต่างๆ เช่น พื้น โต๊ะ ลูกบิดประตู 7-8 ชั่วโมง
และหากเชื้อติดอยู่ที่ผ้าหรือกระดาษทิชชู่ สามารถอยู่ได้นาน 8-12 ชั่วโมง ในส่วนของวัสดุพื้นเรียบสามารถอยู่ได้นาน24-48 ชั่วโมง และถ้าอยู่ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส อาจอยู่ได้นานถึง 1 เดือน
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีข้อมูลออกมาจำนวนมากจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างมาก แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรตื่นตระหนก แต่ควรตระหนัก เพื่อป้องกันและดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคระบาดนี้กันนะคะ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- เปิดรายชื่อ 25 สถานที่เสี่ยงไวรัสโคโรน่า ทั่วประเทศ
- หมอรามาแนะแนวทาง รับมือไวรัสโคโรน่า 5 วิธีดูแล+สอนลูก รอดจาก COVID-19
- วิธีทำหน้ากากผ้าง่ายๆ ให้ลูก จาก ผ้ามัสลิน กันโควิด-19 ดีสุด!
- ชี้เป้า! 10 ประกัน ไวรัสโคโรน่า เบี้ยขั้นต่ำแค่ 99 บาท ที่ไหนคุ้มสุดดูเลย!
- 8 วิธีรับมือไวรัสโคโรน่า COVID-19 ฉบับพ่อแม่ที่มีลูกเล็กโดยเฉพาะ!
ขอบคุณข้อมุลอ้างอิงจาก : ddc.moph.go.th , www.khaosod.co.th , www.hfocus.org , www.bangkokbiznews.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่