AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

7 โรคผิวหนัง ช่วงฤดูหนาว ที่เป็นได้บ่อยทั้งเด็กและผู้ใหญ่

Credit Photo : shutterstock

โรคผิวหนัง ช่วงฤดูหนาว รู้หรือไม่คะว่าอากาศเย็นๆ ของช่วงฤดูหนาวแบบนี้ สามารถทำให้ทุกคนในครอบครัวเจ็บป่วยได้ง่าย ที่นอกจากจะเป็นไข้หวัด ไอเจ็บคอกันแล้ว โรคทางผิวหนังก็เป็นกันมากด้วยเหมือนกัน  ทีมงาน Amarin Baby & Kids มี 7 โรคผิวหนัง ช่วงฤดูหนาว ที่มักพบว่าเป็นกันได้บ่อยและมากสุด ทั้งเด็กและผู้ใหญ่มาอัพเดทให้ได้ทราบกันค่ะ

 

โรคผิวหนัง ช่วงฤดูหนาว : โรคผิวหนัง คืออะไร ?

โรคผิวหนังที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ตามสาเหตุดังนี้

  1. โรคผิวหนังที่เกิดจากเซลล์ของผิวหนังเอง ซึ่งรวมทั้งเซลล์ของต่อมต่างๆ ของผิวหนังด้วย ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักมีอาการเฉพาะผิวหนัง ไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย
  2. อาการทางผิวหนังเป็นอาการหนึ่งของโรคทางร่างกายอื่นๆ เช่น มะเร็งหลอดอาหารกระจายมาผิวหนังโดยคลำได้เป็นปุ่มก้อนเนื้อที่ผิวหนัง ผื่นที่ผิวหนัง เช่น จากโรคหัด หรือผื่นจากการแพ้ยา หรือจากฝุ่นละออง1

 

โรคผิวหนังมีอาการอย่างไร ?

โรคผิวหนังที่เห็นอาการกันได้บ่อย คือ การที่ผิวหนังมีอาการขึ้นผื่น ผิวหนังเป็นปื้น มีผื่นนูนเป็นแผ่น มีตุ่มเนื้อ ตุ่มน้ำ ตุ่มเลือด ตุ่มพอง ตุ่มหนอง ฯลฯ ทั้งนี้อาจมีอาการบวม แดง คัน หรือสีของผิวหนังผิดปกติ เช่น สีคล้ำ สีออกแดง หรือสีออกม่วง ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละสาเหตุของโรคผิวหนังที่กำลังเป็นอยู่2

 

อ่านต่อ >> “โรคผื่นภูมิแพ้อักเสบ ในเด็ก โรคหน้าหนาว” หน้า 2 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

Credit Photo : google

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ ในเด็ก โรคที่มาพร้อมหน้าหนาว

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ ในเด็ก เป็นโรคที่เกิดจากผิวหนังมีการอักเสบเรื้อรังจากปฏิกิริยาทางภูมิแพ้ พบได้บ่อยในผู้ป่วยเด็ก โดยผิวหนังมักมีลักษณะแห้ง ขึ้นผื่น มีอาการคันมาก ในช่วงฤดูหนาวผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะมีโอกาสเกิดมากขึ้นในกลุ่มเด็กเล็ก

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนั (Atopic Dermatitis) เป็นโรคที่พบได้ทุกฤดู แต่ในช่วงฤดูหนาวผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะมีโอกาสเกิดมากขึ้น เนื่องจากอากาศหนาวผิวจะยิ่งแห้ง เพราะความชื้นในอากาศต่ำ อากาศแห้ง เย็น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการคันผิวหนังรุนแรงมากขึ้น เมื่อคันก็จะเกา ซึ่งการเกาอาจทำให้เกิดแผลติดเชื้อตามมา ซึ่งอาจพบบ่อยในเด็ก เพราะยังมีภูมิต้านทานน้อย ดังนั้นในผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องใช้ครีมทาผิวให้ชุ่มชื้นอยู่ตลอด เพื่อป้องกันการเกิดผื่นมากขึ้น ผู้ป่วยที่เป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมักจะมีลักษณะผื่นเป็นผื่นแดง แห้งลอก มีอาการคันมาก มักเป็นที่บริเวณข้อพับแขน ข้อพับขา ใบหน้า แขน ขา และซอกคอ

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ ในเด็ก ที่มักพบว่าเป็นในช่วงหน้าหนาวนี้ อาการของโรค พร้อมวิธีป้องกันรักษาได้อย่างไร อ่านเพิ่มเติมคลิก

 

อ่านต่อ >> ” 7 โรคผิวหนัง ช่วงฤดูหนาว เป็นได้ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่” หน้า 3

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

โรคผิวหนังมักเกิดขึ้นกับคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และในคนที่ร่างกายอ่อนแอ หรือได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาวที่อากาศเย็นและแห้งมักพบว่ามีการเจ็บป่วยด้วยโรคผิวหนังมากถึง 7 โรค ที่ทุกคนในครอบครัวสามารถเป็นได้ ยิ่งกับเด็กเล็กๆ ที่ภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง สามารถเกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย สำหรับโรคผิวหนังที่เกิดขึ้นได้ในช่วงฤดูหนาว พบว่าเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัส 5 โรค และโรคผิวหนังที่เกิดเพราะผิวหนังอักเสบ 2 โรค ตามนี้…

7 โรคผิวหนัง ช่วงฤดูหนาว ที่เป็นได้บ่อยทั้งเด็กและผู้ใหญ่

1.โรคสุกใส หรือที่เรียกโรคอีสุกอีใส ส่วนใหญ่เกิดกับเด็กเล็ก วัยรุ่น จนถึงหนุ่มสาว แต่ถ้าเป็นในผู้ใหญ่แล้วมักจะมีอาการรุนแรง และมีโรคแทรกซ้อนมากกว่าในเด็ก โรคสุกใสเกิดจากจากเชื้อไวรัส (Varicella virus) ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคงูสวัด ไวรัสชนิดนี้ติดต่อโดยการหายใจ หรือการสัมผัสถูกตุ่มแผลสุกใสหรืองูสวัดโดยตรง และการสัมผัสถูกของใช้ เช่น ที่นอน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม ที่เปื้อนตุ่มแผลของผู้ป่วย ในขั้นแรกผู้ป่วยอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร และต่อมาจะเริ่มมีเป็นตุ่มน้ำ ใสๆ เหมือนหยดน้ำขึ้นตามตัว ถ้าเป็นแล้วต้องระวังแบคทีเรียแทรกซ้อน และถ้าป็นในผู้ใหญ่ต้องห้ามแกะเกาเด็ดขาดเพราะจะเป็นหลุมแผลเป็นได้ง่าย

 

2.โรคงูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดสุกใส (Varicella virus) จะเกิดในผู้ที่เคยเป็นโรคสุกใสแล้ว เมื่อหายเชื้อไวรัสจะหลบเข้าไปในปมประสาทรับความรู้สึกโดยจะอยู่แบบไม่แบ่งตัว เมื่อร่างกายอ่อนแอ ไวรัสที่แฝงอยู่จะก่อให้เกิดอาการไข้และปวดรุนแรงตามแนวยาวของปมประสาท โดยจะพบเป็นกลุ่มของตุ่มน้ำใสเป็นแนวด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย มักจะมีอาการปวดแปล๊บบนบริเวณเส้นประสาทร่วมด้วย

 

3. โรคเริม เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม HERPES (Hsv–1/Hsv-2) เริมจะมีลักษณะเป็นกลุ่มของตุ่มน้ำขนาดเล็ก มีขอบแดง แต่ไม่เรียงตามแนวเส้นประสาท พบได้บ่อยที่บริเวณริมฝีปาก อวัยวะเพศ และก้น การติดเชื้อครั้งแรก มักจะมีไข้ ปวดเมื่อย ต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงมีอาการอักเสบ ผู้ที่เคยเป็นโรคเริมแล้ว จะมีโอกาสเป็นซ้ำในตำแหน่งเดิมได้บ่อย โดยมีสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดซ้ำ คือภาวะเครียด ภูมิต้านทานร่างกายต่ำลง พักผ่อนไม่เพียงพอ ใกล้มีประจำเดือน หรือถูกแสงแดดจัด เริมสามารถติดต่อได้จากการสัมผัสตุ่มน้ำหรือแผล และการมีเพศสัมพันธ์

อ่านต่อ >> ” 7 โรคผิวหนัง ช่วงฤดูหนาว” หน้า 4

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

4. โรคหัด มักเป็นในเด็กอายุ 1 ปี จนถึงระดับประถมศึกษา โดยมักมีอาการไข้สูง ไอมาก ตาแดง คล้ายเป็นหวัด ต่อมามีผื่นแดงขนาดเล็ก ๆ ขึ้นทั่วตัว แขน และขา โรคหัดเป็นโรคที่ติดต่อกันทางระบบทางเดินหายใจ การป้องกันโรคหัด คือต้องรักษาสุขภาพให้ดีในฤดูหนาว อากาศเย็นควรใส่เสื้อผ้าหลายชั้น แต่วิธีป้องกันที่ดีที่สุดและเด็กทุกคนควรทำ คือการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด

5. โรคหัดเยอรมัน ผู้ป่วยมักมีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยตามตัว หลังจากนั้น จะมีผื่นขึ้นที่หน้า คอ ลำตัว แขนและขา ผื่นมักขึ้นเต็มตัวภายในระยะเวลา 1 วัน และมีต่อมน้ำเหลืองโต ผื่นมักจะหายไปเองภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 วัน โรคหัดเยอรมันเป็นโรคที่ติดต่อกันทางระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นในเด็กทุกคนควรฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันตามเกณฑ์เพื่อป้องกันการเกิดโรค และมีความสำคัญว่าถ้าสตรีมีครรภ์เป็นขณะตั้งครรภ์จะทำให้ทารกพิการได้

6. โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) เป็นโรคที่พบได้ทุกฤดู แต่ในช่วงฤดูหนาวผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง จะมีโอกาสเกิดมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการคันผิวหนังรุนแรงมากขึ้น ผู้ป่วยมักจะเกา ซึ่งการเกาอาจจะทำให้เกิดแผลติดเชื้อตามมา ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง มักจะมีลักษณะผื่นเป็นผื่นแดง แห้งลอก มีอาการคันมาก มักเป็นที่บริเวณข้อพับแขน ข้อพับขา ใบหน้า แขน ขา และซอกคอ

7. โรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน (Seborrtheic dermatitis) มีลักษณะเป็นผื่นแดง มีสะเก็ดเป็นมัน ขอบเขตชัดเจน ผื่นชนิดนี้มักอยู่บริเวณร่องข้างจมูก หว่างคิ้ว หน้าหู และหนังศีรษะ เนื่องจากอากาศในฤดูหนาวทำให้ผิวแห้ง จึงทำให้ผื่นชนิดนี้มีโอกาสเกิดได้มากขึ้น3

 

การสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายมีความแข็งแรง เพื่อลดความเจ็บป่วยที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลานั้น แนะนำให้คุณพ่อ คุณแม่ และเด็กๆ รวมถึงในทุกครอบครัว ควรหันมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ ให้ทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เน้นผัก ผลไม้ ดื่มน้ำระหว่างวันให้เพียงพอ  นอกจากนี้ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมง เพราะเมื่อร่างกายแข็งแรง สุขภาพก็ตามไปด้วย …ด้วยความห่วงใยค่ะ

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก!

โรคปอดบวมในเด็ก รู้ทันอาการ ป้องกันลูกเสียชีวิตได้ !!
แม่ท้องรับมือ โรคผิวหนัง
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ ในเด็ก โรคที่มาพร้อมหน้าหนาว


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
1,2ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์. โรคผิวหนัง.haamor.com
3thaihealth.or.th