AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

แม่เตือนแม่! ระวัง ลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก ตาบวม เสี่ยงเป็นไซนัสอักเสบลงตา

ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ลูกน้อยมักป่วยเป็นหวัดบ่อย โดยเฉพาะเด็กเล็ก ซึ่งเมื่อ ลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรชะล่าใจนะคะ เพราะลูกอาจจะเป็น ไซนัสอักเสบ ได้

เช่นเดียวกับคุณแม่ Piyanan Khumkui ที่ได้ออกมาโพสต์เตือนในกลุ่ม HerKid รวมพลคนเห่อลูก ถึงอากาศป่วยของลูกน้อยที่เป็นไข้หวัดธรรมดา แต่มีน้ำมูกเขียว และตาบวม โดยคุณแม่เล่าว่า…

แม่เตือนแม่! ระวัง ลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก ตาบวม เสี่ยงเป็นไซนัสอักเสบลงตา

อยากมาแชร์ประสบการณ์ที่เราเจอมาค่ะ คือเรื่องมีอยู่ว่าลูกเราเป็นไข้หวัดธรรมดา ซื้อยามากินก็ไม่ดีขึ้น จากนั้นเริ่มมีน้ำมูกสีเขียว น้ำตาเริ่มไหล จึงคิดว่าลูกคงไม่สบายตัวพอตอนเย็นมาตาเริ่มบวมแดงแต่ไม่มากจึงคิดว่าไม่มีอะไรน้องคงเอามือถูตา แต่น้องเล่นได้ กินข้าวได้ ไม่งอแง

พอวันที่ 2 ยังมีไข้มีน้ำมูก ตาเริ่มบวมเยอะขึ้นเราคิดว่าคงไม่ดีแน่ถ้าปล่อยไว้เราเอาลูกไปคลินิกหมอให้ยาแก้อักเสบ ยาลดบวมมาให้ตกตอนกลางคืนน้องเริ่มซึม ตาไม่ดีขึ้น กินนมไม่ได้เราจึงไปโรงบาลตอน 5 ทุ่ม พอไปถึงหมอให้แอดมิดนอนโรงบาลเลยค่ะ

หมอบอกว่าอันตรายมากถ้ามาช้าหรือรออาจทำให้ตาบอดได้ พอหมอตรวจเสร็จหมอบอกว่าน้องติดเชื้อไซนัสอักเสบลงตาทำให้น้องตาบวม ต้องล้างจมูกโดยใช้เครื่องล้าง ต้องฉีดยาฆ่าเชื้อ พอนอนโรงบาลหมอฉีดยาฆ่าเชื้อให้ค่ะ

แต่ยังไม่ดีขึ้นหมอจึงเปลี่ยนยาเป็นอีกตัวตาน้องเริ่มยุบลงแต่ไข้ไม่ยอมลด หมอจึงให้ยาฆ่าเชื้อแบบแรงน้องมีอาการดีขึ้นตายุบลง ไข้ก็หายแล้ว หมอจึงให้ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือวันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น ตอนนี้นอนโรงพยาบาล 15 วันแล้วค่ะ 
#ฝากเตือนแม่ๆการล้างจมูกสำคัญจริงๆค่ะ

น้องได้ 1 ขวบ 5 เดือน

น้องหายดี ออกจากโรงพยาบาลแล้ว ^_^

จากอาการป่วยของน้องที่คุณแม่เล่ามา เป็นเพราะน้องยังเล็กและไม่สามารถสั่งน้ำมูกได้เอง เมื่อเป็นหวัด และติดเชื้อจนมีน้ำมูกเป็นสีเขียวข้นทำให้ เป็นไซนัสอักเสบ จนลามไปที่ตาและตาบวมได้ คุณแม่จึงได้ฝากย้ำเตือนมาว่า เมื่อลูกเป็นหวัดมีน้ำมุก การล้างจมูกจึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่จำเป็นและสำคัญที่สุด

อ่านต่อ >> “วิธีสังเกตว่าลูกเป็นไซนัสอักเสบ พร้อมวิธีล้างจมูกให้ลูกน้อย” คลิกหน้า 2


ขอบคุณเรื่องราวและภาพจากคุณแม่ : Piyanan Khumkui , กลุ่ม HerKid รวมพลคนเห่อลูก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ไซนัสคืออะไร1

ไซนัสเป็นโพรงอากาศในกะโหลก ซึ่งพบได้ที่หัวคิ้วขอบจมูกและโหนกแก้ม หน้าที่ปกติของโพรงไซนัสไม่เป็นที่ทราบแน่นอน  แต่อาจทำให้กะโหลกเบา  เสียงก้อง  สร้างเมือกและภูมิคุ้มกันให้กับโพรงจมูก  โดยปกติเมือกโพรงไซนัสจะไหลเข้าสู่โพรงจมูก ผ่านช่องเล็ก ๆ (Ostium) ที่ผนังข้างจมูกเพื่อใช้ในการต่อสู้เชื้อโรคและระบายสิ่งแปลกปลอมจากจมูกลงสู่ลำคอ หรือออกทางจมูก

การเกิดไซนัสอักเสบ

เมื่อจมูกเกิดอาการบวม เช่น เป็นหวัด จมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในจมูก จะทำให้ช่องติดต่อระหว่างโพรงไซนัสและจมูกดังกล่าวอุดตันและเกิดคั่งค้างของน้ำเมือกในโพรงไซนัส และเมื่อเชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่โพรงไซนัสได้ก็จะแบ่งตัว และทำให้เกิดการติดเชื้อของโพรงไซนัสและมีหนองเกิดขึ้น ทำให้จมูกบวมมากยิ่งขึ้น ซึ่งเรียกว่าเกิดโรค“ไซนัสอักเสบ” อาการของโรคไซนัสอักเสบอาจแตกต่างกันระหว่างในเด็กและผู้ใหญ่ โดยในผู้ใหญ่จะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ และอ่อนเพลียได้มากกว่าในผู้ป่วยเด็ก ซึ่งมักไม่ค่อยมีอาการดังกล่าว เมื่อช่อง (Ostia) ที่ติดต่อระหว่างโพรงไซนัสและจมูกเปิดออกเป็นครั้งคราว หนองและเมือกจากโพรงไซนัสก็จะไหลลงสู่จมูกและคอทำให้เด็กเกิดอาการดังนี้

♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : สีของน้ำมูก สามารถบอกสุขภาพของลูกได้

เมื่อคุณหมอตรวจร่างกายลูกน้อย อาจพบ มีอาการกดเจ็บบริเวณไซนัส อาการ บวมรอบตา เยื่อบุโพรงจมูกบวม น้ำมูกข้น เหลือง เขียว เมื่อใช้ไม้กดลิ้นดูบริเวณช่องคอ จะเห็นน้ำมูกไหลลงคอ

การเอ็กซเรย์ไซนัส อาจมีความจำเป็นในรายที่อาการและการตรวจร่างกายไม่ชัดเจน ทำได้ในเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป อาจพบว่ามีการขาวทึบ หรือเป็นระดับน้ำขังอยู่ในโพรง หรือเยื่อบุโพรงหนาตัวขึ้น ในบางรายที่เป็นในตำแหน่งหลังจมูกอาจไม่พบจากการเอ็กซเรย์ธรรมดา การทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์จะช่วยให้วินิจฉัยได้

ไซนัสอักเสบมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?2

ผลข้างเคียงแทรกซ้อนจากไซนัสอักเสบ คือ

  1. ลำคอและกล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง จากการที่หนองไหลลงลำคอต่อเนื่อง
  2. การกระจายของการติดเชื้อไปยังบริเวณใกล้เคียง เช่น กระดูกส่วนที่เป็นผนังของไซนัส ก่อให้เกิดกระดูกอักเสบติดเชื้อ การอักเสบอาจลุกลามไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใบหน้าเกิดเนื้อเยื่ออักเสบ หรือเกิดเป็นฝีได้ อาจอักเสบทะลุมาที่ผิวหนังเกิดเป็นช่องติดต่อระหว่างผิวหนังกับไซนัสได้ หรืออาจอักเสบติดเชื้อลุกลามเข้ากะโหลกศีรษะ ก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือสมองอักเสบได้

3.โรคแทรกซ้อนที่เกิดบริเวณฟัน มักเกิดตามหลังการถอนฟันกรามน้อย โดยเกิดรูทะลุเข้าไปในไซนัส ทำให้มีหนองระบายออกมาที่รูที่ถอนฟัน

  1. เกิดเป็นถุงเมือกต่างๆในไซนัส (Mucocele และ Pyocele) เมื่อถุงนี้มีขนาดใหญ่จะดันผนังของไซนัสส่วนที่ไม่แข็งแรงให้โป่งออกช้าๆ พบบ่อยที่ไซนัสฟรอนตัล ส่งผลให้ลูกตาถูกดันออกไปอยู่ผิดที่ คือไปอยู่ ด้านล่างและด้านข้าง

ภาวะแทรกซ้อน คือ การติดเชื้อจากโพรงไซนัสลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง ทำให้เกิดการติดเชื้อของเนื้อเยื่อบริเวณใบหน้ารอบเบ้าตา (periorbital cellulitis) ทำให้หนังตาและหน้าบวมแดง และที่พบได้แต่ไม่บ่อยได้แก่ การติดเชื้อของกระดูกบริเวณใบหนัา (osteomyelitis) การติดเชื้อของเส้นประสาทตา (optic neuritis) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในสมอง เป็นต้น ในกรณีที่มีน้ำมูกไหลลงคอทำให้เด็กมีปัญหาเจ็บคอบ่อย หากน้ำมูกตกลงไปบริเวณหลอดลมทำให้มีปัญหาหลอดลมอักเสบหรือมีอาการหอบได้ จึงมักพบว่าเด็กที่มีปัญหาหลอดลมอักเสบหรือหอบบ่อยๆ อาจเกิดจากการเป็นโรคไซนัสอักเสบซ่อนเร้นอยู่3

หากคุณแม่สงสัยว่าลูกเป็นโรคไซนัสอักเสบ ควรพาพบหมอเพื่อตรวจยืนยันการวินิจฉัยและให้การรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้หายขาดได้

อ่านต่อ >> “วิธีการรักษาโรคไซนัสอักเสบ” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

การรักษาโรคไซนัสอักเสบ ประกอบด้วยหลักใหญ่ 3 ประการ คือ

  1. การให้ยาฆ่าเชื้อโรค (ยาปฏิชีวนะ = ยาแก้อักเสบ) แพทย์จะเป็นผู้เลือกใช้ยาเหล่านี้ตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละคน ระยะเวลาในการใช้ยาจะนานกว่าการรักษาการติดเชื้อของระบบหายใจตามปกติ อาจจะให้นานถึง 3-6 สัปดาห์ ตามที่แพทย์จะแนะนำ ซึ่งจะต้องรักษาจนหนองหมดไปจากโพรงไซนัส
  2. การทำโพรงจมูกที่บวมให้ยุบลง เพื่อให้หนองในโพรงไซนัสไหลถ่ายเทออกมาให้หมด การทำให้โพรงจมูกลดบวมทำได้โดย การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ การใช้ยาพ่นจมูก การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือทำได้ง่าย ๆ โดย
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : รวมผลิตภัณฑ์ ยาพ่น และ น้ำเกลือล้างจมูก เลือกแบบไหนดี!
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : วิธีใช้ลูกยางแดง ดูดน้ำมูก-เสมหะ ให้ลูกน้อยหายใจสะดวก
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : ล้างจมูกลูกอย่างไรให้ปลอดภัย ถูกต้องแต่ละช่วงวัย
  1. การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น

การติดตามผลการรักษา

เป็นสิ่งที่สำคัญมากผู้ป่วยควรจะต้องมารับการประเมินผลการรักษาตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง

♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : อาบน้ำต้มใบมะขาม สูตรโบราณจากคุณยาย

♦ สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคไซนัสอักเสบ

  1. ไซนัสอักเสบเป็นโรคที่พบได้ทุกฤดูกาลตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศชื้น และเป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย
  2. ไซนัสอักเสบอาจจะเป็นเพียงซีกเดียว หรือจุดใดจุดหนึ่งก็ได้
  3. ไซนัสอักเสบเป็นโรคเฉพาะตัว ส่วนบุคคล จึงไม่ติดต่อแม้จะกินอาหารร่วมกันหรืออยู่ใกล้ชิดกัน
  4. คำว่า “เฉียบพลัน” หมายความว่า เมื่อร่างกายติดเชื้อแล้วจะเกิดอาการของโรคนั้นทันที
  5. การติดเชื้อไวรัส น้ำมูก หรือเสมหะจะไม่เป็นหนอง แต่ถ้าเป็นเชื้อแบคทีเรียจะทำให้น้ำมูกข้นและเป็นหนอง
  6. การแยกอาการระหว่างโรคหวัดกับไซนัสอักเสบ ถ้าเป็นหวัดผู้ป่วยควรจะหายภายใน ๕-๗ วัน แต่ถ้าถึงวันที่ ๕-๖ แล้วยังไม่หาย และกลับเป็นมากขึ้น เช่น ไอมากขึ้น ปวดหัว ปวดแก้ม เสมหะลงคอมากขึ้นหรือบ้วนออกมาเสมหะเป็นสีเขียวข้น แสดงว่าอาจเป็นไซนัสอักเสบ ควรรีบไปพบแพทย์
  7. ถ้าเป็นหวัดคัดจมูก ให้สั่งน้ำมูกทีละข้าง อย่าสูดเข้าไป เพราะด้านหลังของจมูกจะติดกับช่องระหว่างหูชั้นกลางกับหลังจมูกจะทำให้หูอื้อ และเป็นการทำให้เชื้อโรค เข้าไปสู่ไซนัสได้ง่ายขึ้น
  8. ห้ามไม่ให้ผู้ป่วยไซนัสอักเสบว่ายน้ำในสระ เพราะสระว่ายน้ำส่วนใหญ่จะใส่คลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำ แต่ปัจจุบันสระว่ายน้ำบางแห่งมีสระน้ำเกลือ จึงไม่น่าเป็นอันตรายสำหรับผู้ป่วยไซนัส เพราะจะทำให้ผู้ชอบว่ายน้ำมีทางเลือกในการออกกำลังกาย แต่ไม่แนะนำในผู้ป่วยที่เป็นไซนัสอักเสบระยะเฉียบพลัน

√ การป้องกันไม่ให้เกิดไซนัสอักเสบ4

เพราะอาการเจ็บป่วยของลูกถือเป็นเรื่องสำคัญหากปล่อยไว้อาจ บานปลายเป็นโรคร้ายได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรตื่นตระหนกตกใจกลัวหรือกังวลจนเกินไป ควรตั้งสติและดูแลรักษาอาการของลูกน้อยในเบื้องต้นก่อน หากดูท่าทีใน 2-3 วันไม่ดีขึ้น หรือเป็นมากกว่าไข้หวัดธรรมดา ให้รีบพาไปหาหมอ เพื่อจะได้ตรวจวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงที

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


1“มารู้จักไซนัสอักเสบในเด็กและวิธีรักษาที่ถูกต้องกันเถอะ” ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ภาควิชา โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล www.si.mahidol.ac.th

2ไซนัสอักเสบมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง haamor.com

3www.breastfeedingthai.com

4www.entpmk.pmk.ac.th