ลูกหกล้ม แผลติดเชื้อ อันตรายถึงชีวิตได้จริงหรือ? - amarinbabyandkids
ลูกหกล้ม แผลติดเชื้อ

ลูกหกล้ม แผลติดเชื้อ อันตรายถึงชีวิต

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกหกล้ม แผลติดเชื้อ
ลูกหกล้ม แผลติดเชื้อ

การปฐมพยาบาลบาดแผลเบื้องต้น

เพื่อเป็นการป้องกันบาดแผลจากเชื้อโรคในเบื้องต้น ต้องมีการปฐมพยาบาลที่ต้องกับบาดแผลกันก่อนค่ะ ซึ่งผู้เขียนขออนุญาตนำวิธีการดูแลบาดแผล มาให้ได้ทราบกันดังนี้ค่ะ

ชนิดของบาดแผล

บาดแผลปิด หมายถึง บาดแผลที่ผิวหนังไม่มีการฉีกขาด แต่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อภายใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดเป็นแผลฟกช้ำ บวม ห้อเลือด ข้อเท้าพลิก ข้อแพลง มีอาการปวดระบม มีวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นดังนี้

  • ภายใน 24 ชั่วโมงแรก ให้ใช้น้ำแข็ง หรือถุงน้ำเย็นประคบ เพื่อไม่ให้เลือดออก และช่วยระงับอาการปวด
  • หลัง 24 ชั่วโมง ควรประคบด้วยน้ำอุ่น เพื่อช่วยละลายลิ่มเลือด

บาดแผลเปิด หมายถึง บาดแผลที่มีการฉีกขาด และมีเลือดไหลออกมานอกผิวหนัง เช่น แผลถลอก แผลตัด แผลฉีกขาด แผลถูกยิง แผลถูกแทง เป็นต้น

การปฐมพยาบาลบาดแผลเปิด ถ้าบาดแผลมีขนาดใหญ่ กว้างและลึก มีเลือดออกมาก ผู้ปฐมพยาบาลไม่ควรชำระล้างบาดแผลเอง ให้ห้ามเลือดทันที โดยใช้ผ้าสะอาดปิดบาดแผลไว้ และรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล ส่วนบาดแผลเล็กน้อย แผลไม่ลึกมาก เช่น มีดบาด เข็มตำ เป็นต้น มีวิธีปฐมพยาบาลดังนี้

  • ชะล้างแผลและทำความสะอาดรอบๆ แผล ถ้าแผลสกปรกมาก ควรล้างด้วยน้ำสะอาดและสบู่
  • ใช้ผ้าสะอาด หรือผ้าก๊อซสะอาด ซับบริเวณแผลให้แห้ง
  • ใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน ไม่จำเป็นต้องปิดแผล ถ้าเป็นแผลถลอก แต่หากมีเลือดซึม ควรใช้ผ้าก๊อซสะอาดปิดแผลไว้[2]

ความปลอดภัยของชีวิตเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะชีวิตน้อยๆ ของลูกๆ ดังนั้นเมื่อพบอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับลูกหลังจากได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่างๆ ถึงแม้ว่าจะเล็กน้อยตาม แต่ก็ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด เพราะบาดแผลที่เกิดขึ้นอาจนำไปสู่ภาวะอันตรายที่เรียกว่าภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ดังนั้นเมื่อรู้อาการที่เกิดขึ้นกับลูกได้เร็ว ก็สามารถให้การรักษาได้อย่างรวดเร็ว และหายขาดได้เร็วขึ้นด้วยค่ะ

ทีมงานเว็บไซต์ Amarin Baby & Kids ขอเป็นกำลังใจให้ลูกชายของคุณแม่ Sukanda หายป่วยกลับมาสดใสร่าเริงในเร็ววันนี้ค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

ประคบร้อน ประคบเย็น จะรู้ได้อย่างไรว่าต้องทำตอนไหน?
แม่ย้ำ! ลูกไม่สบาย ให้รีบหาหมอ!


ขอขอบคุณเรื่องจาก : คุณแม่ Sukanda Muadpa

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อและยาต้านจุลชีพ. ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด. healthtoday
2การปฐมพยาบาลบาดแผลเบื้องต้น. โรงพยาบาลเวชธานี

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up