AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

RSV อาการ เป็นแบบไหน ไวรัสอาร์เอสวี เกิดจากอะไร หน้าฝนทีไรมาทุกที

RSV อาการ

RSV อาการ เป็นแบบไหน ติดเชื้อ RSV โรคนี้ป้องกันได้ไหม ทำไมทารก เด็กเล็กเป็น ถึงได้อันตราย

กลับมาตามนัด RSV อาการ แบบนี้ ลูกเป็นแน่!

ฤดูที่ RSV ระบาดกลับมาอีกครั้ง

ปลายฝนต้นหนาวทีไร หนึ่งในโรคยอดฮิตที่เด็กเป็นกันบ่อยก็คือ RSV โดยปีนี้ เริ่มมาส่งสัญญาณเตือนกันบ้างแล้ว แต่ปี 2020 แตกต่างจากทุกปี เพราะปีนี้มีโควิด-19 ทุกครอบครัวจึงต้องระวังกันเป็นพิเศษ มาทำความรู้จัก RSV อาการ เป็นแบบไหน เพื่อสังเกตอาการของลูก ถ้าลูกมีอาการแบบนี้ อาจเป็น RSV ควรพาลูกไปหาหมอ

กลับมาตามนัด RSV โรคประจำปี ปลายฝนต้นหนาว

สัญญาณเตือนโรคร้ายประจำปีอย่าง RSV โผล่มาอีกครั้ง โดยเพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ ได้โพสต์ถึง RSV มันมาแล้ว ตอนหนึ่งว่า วันก่อนเพื่อนหมอเด็กของพ่อหมอโพสต์ภาพนี้ขึ้นมาในไทม์ไลน์บนเฟส สารภาพตามตรง ขนลุกซู่ ‘มันมาแล้ว รึ’ ปีนี้ มาไม่ช้าไม่เร็วแต่พี่เขามาตามนัดทุกปี หวังในใจว่าเคสที่เพื่อนเจอจะเป็นแค่ sporadic case หรือการติดเชื้อประปราย ไม่ใช่โหมโรงแรกของการระบาดประจำปี #การ์ดอย่าตก แล้ว ยกการ์ดสูงขึ้นไปอีกก็ดี

หมอวิน เจ้าของเพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ ยังฝากเตือนพ่อแม่ที่มีลูกเล็ก ๆ ด้วย เพราะว่า โรคนี้เป็นอันตรายมากสำหรับเด็กเล็กอายุมากกว่า 2 ปี เสี่ยงต่ออาการรุนแรง ซ้ำยังไม่มียารักษาเฉพาะ และไม่มีวัคซีนป้องกันด้วย

เครดิต : https://www.facebook.com/SpoiledPediatrician

โรคร้ายจากไวรัส RSV

ที่เรียก ๆ กันว่า RSV แท้จริงแล้ว ชื่อ RSV นั้นเป็นชื่อเชื้อไวรัส Respiratory syncytial virus เมื่อร่างกายเจอกับเชื้อร้ายตัวนี้ จะส่งผลต่อการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ หลอดลม หลอดลมส่วนปลาย และถุงลม

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการว่า จะพบเด็กทั่วโลกเสียชีวิตจากการติดเชื้อ RSV ถึงปีละ 160,000 ราย โดยมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลก ติดเชื้อไวรัส RSV 33.8 ล้านคน

โรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี

กรมควบคุมโรคระบุว่า ในประเทศไทยมักจะพบเชื้อไวรัสอาร์เอสวีได้บ่อยในฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งข้อมูลจากการเฝ้าระวังเชื้อก่อโรคปอดอักเสบรุนแรงใน 30 โรงพยาบาลของประเทศไทย ระหว่างปี 2555-2559 พบว่า โรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ตรวจพบเชื้อมากในกลุ่มเด็ก และพบได้บ่อยในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี รองลงมาได้แก่ กลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยมีอาการปอดอักเสบรุนแรง 425 ราย ติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี 187 ราย ส่วนกลุ่มผู้ใหญ่มีอาการปอดอักเสบรุนแรง 97 ราย ติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี 4 ราย หรือ 5%

ส่วนข้อมูลการเฝ้าระวังโรคย้อนหลังของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า ในปี 2560 เชื้อ RSV ระบาดในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม พบผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 9 แห่ง (โครงการ WHO RSV Surveillance Pilot) จำนวน 1,935 คน ติดเชื้อ RSV จำนวน 148 คน คิดเป็นร้อยละ 7.65 และในปี 2561 พบผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 9 แห่ง จำนวน 968 คน ติดเชื้อ RSV จำนวน 115 คน คิดเป็นร้อยละ 11.88

กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัส RSV

ไวรัส RSV มักจะแสดงอาการรุนแรงในเด็กเล็ก เด็กคลอดก่อนกำหนด และผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี รวมทั้งผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคปอด โรคหัวใจ หรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันร่างกายผิดปกติ

ติดเชื้อไวรัส RSV ได้อย่างไร

การติดต่อของเชื้อไวรัส RSV ติดต่อได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำมูกหรือเสมหะ เชื้อไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางตา จมูก ปาก และจากการสูดหายใจเอาเชื้อที่อยู่ในอากาศในรูปละอองฝอยจากการไอ จามของผู้ป่วย

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะแสดงอาการหลังสัมผัสถูกเชื้อไวรัสในระยะเวลา 4-6 วัน และเมื่อป่วยจะสามารถแพร่กระจายเชื้อได้นาน 3-8 วัน

RSV อาการ เป็นแบบไหน

อาการแสดงที่สำคัญ หลังสัมผัสถูกเชื้อไวรัสประมาณ 4-6 วัน ผู้ติดเชื้อมักจะมีอาการ ดังนี้

การวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวีหรือไม่ ทำได้โดยการตรวจหาเชื้อไวรัสอาร์เอสวีจากสารคัดหลั่งในจมูก

วิธีรักษาหลังรับเชื้อไวรัสอาร์เอสวี

ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ทั้งยังไม่มียารักษาโดยตรง จึงทำได้เพียงรักษาตามอาการ ส่วนยาสำหรับการรักษาเชื้อไวรัสโดยเฉพาะ ยังอยู่ระหว่างการศึกษาและยังไม่มีจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย

ป้องกันการติดเชื้อ RSV อย่างไร

  1. ล้างมือให้บ่อย เช่นเดียวกับโรคอื่น ๆ ที่ต้องดูแลรักษาความสะอาดร่างกายเป็นประจำ และหมั่นล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร สำหรับพ่อแม่ก็ต้องสอนลูกให้ล้างมืออย่างถูกวิธีเป็นประจำ นอกจากจะป้องกันการติดเชื้อ RSV ได้แล้ว ยังป้องกันโควิด-19 และโรคอื่น ๆ ได้ด้วย
  2. ไม่พาลูกเล็กไปอยู่ใกล้ชิดกับคนป่วย หากทราบว่ามีคนในครอบครัวป่วย ไม่ควรให้ลูกไปเจอ โดยเฉพาะเด็กที่คลอดก่อนกำหนดที่เจ็บป่วยได้ง่าย และทารกช่วงอายุ 1-2 เดือน
  3. หลีกเลี่ยงการพาลูกไปยังสถานที่ที่มีคนแออัด หากจะพาลูกไปเที่ยวห้างสรรพสินค้า หรือรับประทานอาหารนอกบ้าน ควรดูแลเรื่องความสะอาด และไม่อยู่ในที่ที่คนอยู่เยอะ
  4. ลดการจับหน้า ขยี้ตา แคะจมูก ดูดนิ้ว ดูแลลูกเล็กอย่างใกล้ชิด หากลูกรู้เรื่องแล้ว สามารถสอนเรื่องความสะอาด เพื่อให้ลูกลดพฤติกรรมเหล่านี้ได้
  5. ไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้อื่น ไม่ใช้ของร่วมกับลูก ไม่ควรกินอาหารจานเดียวกับลูกหรือใช้ช้อนส้อมกับลูก เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ เพราะบางทีผู้ใหญ่ได้รับเชื้อบางชนิดแต่ร่างกายไม่แสดงอาการ
  6. ทำความสะอาดของเล่นลูกเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการพาลูกไปเล่นของเล่นของคนอื่น โดยเฉพาะช่วงที่มีโรคระบาด หากต้องไปเล่นตามสวนสาธารณะ หรือสถานที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ควรพิจารณาสถานที่ที่เข้มงวดเรื่องความสะอาด
  7. ควรให้เด็กดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน เพราะน้ำจะช่วยให้สารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก เสมหะ ไม่เหนียวข้นเกินไป ช่วยไม่ให้ไปขัดขวางการทำงานของระบบทางเดินหายใจ
  8. ลูกในวัยทารกหรือเด็กเล็ก ควรกินนมแม่เพื่อรับสารอาหารสำคัญ โดยนมแม่ยังลดการติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อ RSV ลดความรุนแรงของเชื้อโรค ลดการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ถึง 72%

ไม่ใช่แค่อาการป่วยของลูกเท่านั้น ที่พ่อแม่ควรสังเกตว่า อาการแบบนี้ใช่โรคติดเชื้อจาก RSV หรือไม่ แต่ตัวพ่อแม่และคนในครอบครัวเอง หากมีอาการเจ็บป่วยก็ควรใส่หน้ากากอนามัย ปิดปาก จมูกเวลาไอจาม หมั่นทำความสะอาดบ้าน และรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการป่วยให้เร็วที่สุด

อ้างอิงข้อมูล : moph.go.th

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

5 แมลงมีพิษ และสัตว์ร้ายที่มากับหน้าฝน อันตรายใกล้ตัวลูก ที่พ่อแม่ต้องระวัง!

5 เชื้อไวรัสที่มากับหน้าฝน พ่อแม่ที่มีลูกเล็กต้องระวัง !

ไข้หวัดใหญ่ ระบาด รับหน้าฝน! หมอเตือน รีบพาลูกฉีดวัคซีน