ลูกโดนน้ำร้อนลวก …คุณแม่ต้องระวังให้มาก เพราะจากความหวังดีที่อยากอาบน้ำคลายร้อนให้ลูก อาจกลายเป็นการกำลังลวกลูกด้วยน้ำร้อนๆ จากสายยาง!
ในช่วงหน้าร้อน ซึ่งอากาศร้อนมากหลายบ้านก็คงมีกิจกรรมสนุกๆคลายร้อนให้ลูกน้อย ที่เห็นเป็นประจำทุกบ้าน ก็น่าจะเป็นการเล่นน้ำนี่แหละค่ะ หากคุณพ่อคุณแม่ไม่ระวังให้ดีกิจกรรมคลายร้อนแสนสนุกของลูกน้อยก็อาจกลายเป็นฝันร้ายไปเหมือนหนูน้อยวัย 9 เดือนคนนี้ที่ถูกน้ำร้อนลวกไปทั้งตัว
อุทาหรณ์! ลูกโดนน้ำร้อนลวก จากสายยางที่ตากกลางแดด
ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในระหว่างที่คุณแม่กำลังเติมน้ำในสระว่ายน้ำเพื่อให้ลูกชายเล่น โดยใช้สายยางที่อยู่ในสวน ซึ่งวางตากแดดอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานๆ มาเล่นและฉีดใส่ลูก แต่หารู้ไม่ว่าเรื่องร้ายได้เกิดขึ้นเมื่อน้ำที่อยู่ในท่อและสายยางที่ตากแดดอยู่กลางแจ้งนั้นได้ปล่อยน้ำร้อนออกมาลวกที่ตัวลูก
โดยผู้เป็นแม่เล่าว่า ตัวเธอเองไม่คิดว่าน้ำจะร้อนขนาดนั้นเพราะระหว่างที่เปิดก๊อกก็ไม่ได้รู้สึกว่าร้อนอะไร และเห็นลูกร้องอออกมาหลังโดนน้ำฉีดก็ไม่คิดว่าเพราะน้ำร้อนลวก เพราะตัวน้องเองก็ไม่ชอบโดนน้ำกระเด็นใส่อยู่แล้ว จึงไม่ได้คิดว่าการที่น้องร้องนั้นเป็นผลมาจากอุณหภูมิของน้ำที่สูงเกินไป
แต่สุดท้ายแล้ว สิ่งที่ปรากฏออกมา คือผิวหนังที่ไหม้และลอก ซึ่งคุณหมอแจ้งว่าหนูน้อยได้รับความเจ็บปวดจากแผลไหม้ที่ผิวหนังระดับ 2 รวมเป็นพื้นที่บนร่างกายกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นได้ส่งหนูน้อยไปรักษาที่โรงพยาบาล แม่ของหนูน้อยก็ได้ออกมาโพสต์เตือนพ่อแม่ที่อาจจะเผลอ หรือไม่ทันได้คิดแบบเธอ
ซึ่งก่อนหน้านี้ตามที่สถานีวิทยุท้องถิ่นที่คุณแม่และหนูน้อยผู้เคราะห์ร้ายอาศัยอยู่ ได้ประกาศเตือนแล้วว่า วันนั้นอุณหภูมิสูงถึง 46 องศา ทำให้สายยางที่ตากแดดทั้งวันร้อนถึง 65 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว จึงเป็นไปได้ว่าน้ำที่ร้อนขนาดนั้นจะทำให้หนูน้อยวัยแค่ 9 เดือนถูกลวกได้นั่นเอง
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- คลิป ปฐมพยาบาลลูกโดนน้ำร้อนลวกหรือของร้อน easy baby & kids
- น้ำร้อนลวกลูกน้อย อุบัติเหตุที่พ่อแม่ควรระวัง
- น้ำร้อนลวก ลูกโดนน้ำร้อนลวกจนเป็นแผลทำยังไงดี?
- ลูกโดนฝาหม้อหุงข้าวลวกมือ แม่ใจแทบสลาย
อ่านต่อ >> “วิธีปฐมพยาบาลแผลน้ำร้อนลวกให้ลูกน้อย เพื่อไม่ให้ติดเชื้อ” คลิกหน้า 2
ขอบคุณข้อมุลและภาพจาก : www.thesun.co.uk
การรักษาแผลไฟไหม้–น้ำร้อนลวก
วิธีการรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือโดนน้ำมันกระเด็นใส่นั้น ต้องดูจากอาการที่โดนมาว่ามีความอันตรายอยู่ที่ระดับใด และโดนตามส่วนบริเวณต่าง ๆ ในร่างกายมาเยอะแค่ไหน แล้วจึงจะสามารถรักษาได้ตามอาการ แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ที่โดนของร้อนลวก หรือไหม้ตามร่างกายมานั้นมีเหมือนกัน คือ อาการปวดแสบปวดร้อนแบบเฉียบพลัน และกินระยะเวลานาน จนบางคนอาจใช้ยาสีฟัน หรือน้ำปลามาทากันการปวดแสบร้อน ตามความเชื่อในสมัยโบราณ ที่ถือว่าผิดมหันต์ และยังส่งผลให้แผลอาจติดเชื้อได้โดยง่ายอีกด้วย!!
แผลไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก แบ่งได้ 3 ระดับ
- แผลในระดับแรก เป็นการโดนไหม้ หรือลวกในระดับแค่เล็กน้อย โดนทำลายแค่ผิวหนังกำพร้าชั้นนอกเท่านั้น โดยแผลนั้นจะไม่มีตุ่มพองใส แต่จะแค่ผิวหนังบริเวณนั้นมีสีแดงกว่าปกติ มีความรู้สึกว่าปวดแสบและร้อนไม่มากนัก จะไม่ทิ้งรอยแผลเป็นไว้เมื่อหายปวด โดยทั่วไปแผลระดับแรกนี้จะหายไปในระยะเวลา 7 วัน
วิธีการรักษา แค่ใช้น้ำอุณหภูมิปกติไหลผ่านแผล แล้วจึงใช้น้ำเย็น หรือน้ำแข็งประคบไว้สักครู่หนึ่ง อาการปวดก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ หรือถ้าใครมีคูลฟีเวอร์ ( แปะหน้าผากลดไข้เด็ก ) ก็สามารถนำมาแปะที่แผลไว้ พออาการปวดดีขึ้นก็ให้ทายารักษาอาการ ยาทานั้นมีขายทั่วไปตามร้านขายยา ถ้าไม่รู้ยี่ห้อก็สามารถสอบถามได้จากเภสัชกรในร้าน
- แผลในระดับที่สอง คือแผลที่โดนลึกขึ้น และกินบริเวณกว้างกว่าแผลในระดับแรก เข้าไปถึงชั้นหนังกำพร้า แล้วลึกลงไปถึงชั้นหนังแท้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังหลงเหลือเซลล์ที่สามารถเจริญเติบโตมาทดแทนชั้นหนังที่ตายแล้วได้อยู่ แผลนั้นจะมี 2 แบบ คือทั้งแบบเป็นตุ่มพองมีน้ำใส ๆ ข้างใน พอแกะน้ำออกมาผิวบริเวณนั้นจะมีสีชมพู และมีน้ำเหลืองไหลออกมาเล็กน้อย แผลระดับนี้จะเริ่มมีอาการปวดแสบมากขึ้น เพราะเส้นประสาทถูกทำลายไปด้วย แต่ไม่เยอะมากนักและแผลจะหายภายใน 2-3 สัปดาห์ และจะไม่เกิดแผลเป็น ส่วนอีกแบบนึงจะเป็นแผลที่ไม่มีตุ่มพองแผลจะแห้ง มีสีเหลืองขาวและไม่ค่อยปวด แต่จะทำให้เกิดแผลเป็นได้
วิธีการรักษา แผลระดับนี้ ยังคงใช้วิธีการรักษาเบื้องต้น แบบแผลระดับแรก เพียงอาจจะต้องมีการสะกิดตุ่มหนองในแผลแบบที่ 1 ออก แล้วจึงทายาเพื่อรักษาอาการต่อไป และต้องมีการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับแผลแบบที่ 2 เพื่อลดการติดเชื้อ
- แผลในระดับที่สาม เป็นแผลที่ลึกลงไปทำลายหนังกำพร้า, หนังแท้, รูขุมขน, ต่อมเหงื่อ และเซลล์ประสาทจนหมด ซึ่งแผลระดับนี้ถือว่ารุนแรงมาก เพราะอาจกินลึกไปถึงชั้นกล้ามเนื้อและกระดูก แต่จะไม่มีอาการปวดจากแผล เพราะเซลล์ประสาทโดนทำลายไปทั้งหมด ทำให้ไม่รับรู้ถึงอาการปวด ลักษณะของแผลจะมีสีซีดออกเหลือง หรืออาจจะมีสีไหม้ออกดำ จะแข็งด้าน ในบางรายอาจมองเห็นได้ถึงเส้นเลือด แผลชนิดนี้จะมีอาการผิวหนังตึง และขยับร่างกายลำบาก เมื่อหายแล้วก็จะเป็นแผลเป็น หรือในบางรายอาจกลายเป็นแผลนูนขึ้นมาแทนก็ได้
วิธีการรักษา แผลชนิดนี้เมื่อเป็นแล้ว ไม่สามารถรักษาอาการเองได้ ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์เท่านั้น และมีเพียงแค่การปลูกถ่ายผิวหนังใหม่เท่านั้น ที่เป็นวิธีการรักษา แผลระดับสามนี้ต้องดูแลเป็นอย่างดีจากแพทย์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่รุนแรงกว่าแผลระดับอื่น
การเริ่มต้นรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อันดับแรก เมื่อลูกน้อยถูกน้ำร้อนลวก หรือโดนไฟไหม้ที่ผิวหนัง ให้คุณพ่อคุณแม่รีบล้างแผลด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำสบู่อ่อน ๆ เพื่อฆ่าเชื้อในแผล แต่ห้ามถูแรงเด็ดขาดเพราะจะยิ่งทำให้เกิดอาการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น พอล้างเสร็จแล้วก็ให้ใช้ผ้าซับให้แห้ง แล้วจึงทายาและทานยาปฎิชีวนะ เพื่อป้องกันแผลติดเชื้อบาดทะยักต่อไป
อ่านต่อ >> “ขั้นตอนการเริ่มต้นรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ก่อนพาลูกหาหมอ” คลิกหน้า 3
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- พ่อแม่ต้องรู้ 9 ข้อห้ามทำ เมื่อลูกเจ็บป่วย
- อันตราย ในบ้าน 12 สิ่งสำหรับลูกวัยใกล้ 3 ขวบ
- วิธีช่วยเหลือลูกน้อย เมื่ออยู่ในสถานการณ์เสี่ยงตาย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
การเริ่มต้นรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
- แผลที่มีขนาดไม่กว้างนัก แต่มีการเปิดของผิวหนัง หลังจากล้างแผลแล้ว ให้ทายาลงบนแผล และปิดทับด้วยผ้าพันแผลหลาย ๆ รอบ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- แผลที่มีขนาดกว้างกว่า 3% เมื่อล้างแผลแล้วให้ทายาทันที แล้วจึงใช้สำลีแผ่นบางเรียบ ชนิดดูดหนอง วางบนแผลแล้วพันทับด้วยผ้าพันแผลหลาย ๆ รอบ จากนั้นทิ้งไว้ 24 ชม. แล้วค่อยเปิดดูแผล ถ้าแผลมีอาการดีขึ้นก็ให้ล้างและทายา แล้วจึงปิดทับอีกครั้งแล้วทิ้งไว้ 2-3 วันค่อยล้างแผลใหม่ แต่ถ้าแผลยังคงมีหนอง และไม่ดีขึ้นภายใน 3 อาทิตย์ให้รีบไปพบแพทย์
- ถ้าโดนที่ใบหน้า ให้ทายาที่มีส่วนผสมของ คลอแรมฟินีคอล ( chloramphenicol ointment ) 1% วันละ 3-4 ครั้ง หรือเมื่อแผลเริ่มแห้งก็ทาได้เรื่อย ๆ และควรเปิดแผลทิ้งไว้
- เมื่อมีแผลตรงบริเวณมือ และขาในระดับที่มีแผลเปิด ให้ล้างแผล, ทายา และพันแผลหลาย ๆ รอบแล้วหาไม้มาดาม ตรงบริเวณแผลแล้วยกสูงขึ้น เป็นเวลา 72 ชม. แล้วจึงค่อยมีการบริหารกล้ามเนื้อ ตรงบริเวณที่เป็นแผลต่อไป
- บริเวณข้อต่อต่าง ๆ ตามร่างกาย เช่น ข้อพับ, ข้อมือ, ข้อเท้า และข้อเข่า เป็นต้น อาจเกิดแผลดึงรั้งยึดติด ถ้าปล่อยไว้อาจจะเกิดการผิดรูป ของข้อต่อบริเวณนั้น ๆ จนอาจทำให้พิการ เพราะฉะนั้นเมื่ออาการดีขึ้นแล้ว ให้บริหารร่างกายและข้อต่ออย่างจริงจัง
ทั้งนี้เมื่อแผลหายดีแล้ว ก็อย่าเพิ่งออกไปโดนแสงแดดทันที ควรหลีกเลี่ยงการออกแดด 3-6 เดือน และพกโลชั่นหรือครีมบำรุงผิวที่มีมอยซ์เจอไรเซอร์สูง ติดตัวไว้ทาบริเวณแผล เมื่อมีอาการคันและแสบ โดยเฉพาะแผลที่ใช้เวลารักษานานเกิน 3 สัปดาห์ หรือแผลที่ต้องได้รับการผ่าตัด ผู้ป่วยควรสวมใส่เสื้อยืดตัวใหญ่ เพื่อป้องกันการเสียดสีจนแผลอาจนูนขึ้น และกลายเป็นแผลเป็นได้
สมุนไพร ที่ช่วยในการรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
- ว่านหางจระเข้ วุ้นของว่านหางจระเข้นั้นมีสาร ไกลโคโปรตีน มีสรรพคุณในการลดการอักเสบของผิวหนัง, ฆ่าเชื้อในแผล และห้ามเลือด เหมาะกับการรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถรักษาพิษจากแมงกะพรุน และไม่ทำให้เกิดแผลเป็นอีกด้วย
วิธีการใช้เพื่อการรักษา ในปัจจุบัน มีการใช้ว่านหางจระเข้กันอย่างแพร่หลาย จึงได้มีการนำไปผลิตเป็นรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ทั้งแบบครีมและเจลเพื่อให้ใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น หรือถ้าไม่อยากซื้อใช้ ก็แค่เพียงนำว่านหางจระเข้สด ๆ ล้างน้ำเอายางออก, ปอกเปลือกให้หมด แล้วจึงขูดเอาเนื้อวุ้นมาปิดที่บริเวณแผล วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น จนกว่าแผลจะหาย
- เกลือ มีสรรพคุณในการสมานแผล และลดอาการปวดแสบปวดร้อนได้ดี อย่างไม่น่าเชื่อ
วิธีการใช้เพื่อการรักษา เมื่อเกิดแผลให้รีบนำเกลือป่น ( เกลือปรุงรสอาหาร ) มาพอกไว้ที่บริเวณแผล แล้วรดน้ำลงไปเล็กน้อย ก็จะทำให้แผลที่ปวดแสบปวดร้อนดีขึ้น
- ผักแว่น โดยเฉพาะในส่วนของใบ มีสรรพคุณด้านการลดการอักเสบ ของแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก และยังช่วยในการสมานแผลให้หายเร็วขึ้น
วิธีการใช้เพื่อการรักษา ให้นำใบผักแว่นสด ประมาณ 1 กำมือ มาล้างน้ำให้สะอาดแล้วตำให้ละเอียด จากนั้นให้คั้นเอาแต่น้ำ แล้วนำมาทาที่บริเวณแผล
- ใบบัวบก มีสรรพคุณในรักษาแผลอักเสบ และสมานแผลทำให้แผลหายเร็ว ลดอาการปวดแสบร้อนได้ดีเช่นกัน
วิธีการใช้เพื่อการรักษา ให้นำใบบัวบกสดล้างให้สะอาด แล้วนำไปตำจนละเอียด กรองเอาน้ำแต่ติดกากใบมาด้วยเล็กน้อย แล้วเอามาชโลมที่แผลเรื่อย ๆ จนกว่าอาการปวดจะดีขึ้น
- น้ำส้มสายชู ด้วยกรดอะซีตริกที่อยู่ในน้ำส้ม เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของ ยาแอสไพลิน ที่ช่วยบรรเทาอาการ อักเสบ, ปวด และการคันจากการโดนของร้อน และการเผาไหม้ นอกจากนี้ยังช่วยฆ่าเชื้อ และป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้ออีกด้วย
วิธีการใช้เพื่อการรักษา ล้างแผลให้สะอาด แล้วใช้สำลีจุ่มลงไปในน้ำส้มสายชู บีบน้ำออกเล็กน้อยแล้วนำมาวางโปะไว้บนแผลสักครู่ รอจนแผลหายปวดแล้วจึงเอาออก สามารถทำได้ทุกวันจนกว่าแผลจะหาย
- น้ำมันมะพร้าว สามารถป้องกันแผลจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ที่มาของการอักเสบ และเกิดรอยแผลเป็นได้ เพราะอุดมไปด้วยวิตามินอีและกรดไขมัน เหมาะสำหรับแผลที่หายแล้ว
วิธีการใช้เพื่อการรักษา นำน้ำมันมะพร้าวมาชโลม แล้วนวดตรงบริเวณที่เป็นแผลเป็น จนผิวและแผลบริเวณนนั้นนุ่มและอ่อนลง สามารถทาได้ทุกวัน
- น้ำผึ้งจากธรรมชาติ จะมีค่า ph อยู่ในระดับที่เชื้อแบคทีเรีย ไม่สามารถต้านทานได้ จึงมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค และลดอาการเจ็บปวดของแผลได้เป็นอย่างดี
วิธีการใช้เพื่อการรักษา ล้างแผลให้สะอาดแล้วนำน้ำผึ้งมาหยด จากนั้นนวดตรงบริเวณแผล สามารถทำได้เรื่อย ๆ จนกว่าแผลจะหายปวด
- นมสด หรือโยเกิร์ตแช่เย็น ทั้ง 2 อย่างนี้ มีปริมาณไขมันและโปรตีน ที่ช่วยในการสมานแผล และลดอาการปวดแสบร้อนได้ดี
วิธีการใช้เพื่อการรักษา แช่แผลลงในนมสดหรือโยเกิร์ต ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก วิธีนี้นอกจากจะลดอาการปวดได้แล้ว ยังทำให้ไม่เป็นแผลเป็นอีกด้วย
และจากวิธีที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนี้ เป็นเพียงสมุนไพรและวิธีการดูแล ที่ใช้รักษาอาการเบื้องต้น ของคนที่เป็นแผลระดับน้อยเท่านั้น แต่จะไม่สามารถรักษาอาการของผู้ที่โดนในระดับสาม หรือระดับที่เป็นหนักได้ เพราะผู้ที่โดนแผลในระดับสาม ต้องได้รับการรักษา และการดูแลอย่างเป็นพิเศษจากแพทย์เท่านั้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่รุนแรง
แต่หาก ลูกถูกน้ำร้อนลวก หรือไฟไหม้ผิวหนังในระดับที่เป็นน้อยก็ต้องให้ความสำคัญ กับการดูแลรักษาความสะอาดของแผลให้มากๆ เพื่อที่จะได้ลดการติดเชื้อ และอักเสบของแผลที่อาจจะลุกลามเป็นแผลใหญ่ได้
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- โรคลมแดด วายร้ายหน้าร้อนของเด็กเล็ก
- 5 ขั้นตอน ทำแผลให้ลูกอย่างง่าย
- ยาใส่แผล ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยกับลูกน้อย
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.honestdocs.co