การเริ่มต้นรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
- แผลที่มีขนาดไม่กว้างนัก แต่มีการเปิดของผิวหนัง หลังจากล้างแผลแล้ว ให้ทายาลงบนแผล และปิดทับด้วยผ้าพันแผลหลาย ๆ รอบ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- แผลที่มีขนาดกว้างกว่า 3% เมื่อล้างแผลแล้วให้ทายาทันที แล้วจึงใช้สำลีแผ่นบางเรียบ ชนิดดูดหนอง วางบนแผลแล้วพันทับด้วยผ้าพันแผลหลาย ๆ รอบ จากนั้นทิ้งไว้ 24 ชม. แล้วค่อยเปิดดูแผล ถ้าแผลมีอาการดีขึ้นก็ให้ล้างและทายา แล้วจึงปิดทับอีกครั้งแล้วทิ้งไว้ 2-3 วันค่อยล้างแผลใหม่ แต่ถ้าแผลยังคงมีหนอง และไม่ดีขึ้นภายใน 3 อาทิตย์ให้รีบไปพบแพทย์
- ถ้าโดนที่ใบหน้า ให้ทายาที่มีส่วนผสมของ คลอแรมฟินีคอล ( chloramphenicol ointment ) 1% วันละ 3-4 ครั้ง หรือเมื่อแผลเริ่มแห้งก็ทาได้เรื่อย ๆ และควรเปิดแผลทิ้งไว้
- เมื่อมีแผลตรงบริเวณมือ และขาในระดับที่มีแผลเปิด ให้ล้างแผล, ทายา และพันแผลหลาย ๆ รอบแล้วหาไม้มาดาม ตรงบริเวณแผลแล้วยกสูงขึ้น เป็นเวลา 72 ชม. แล้วจึงค่อยมีการบริหารกล้ามเนื้อ ตรงบริเวณที่เป็นแผลต่อไป
- บริเวณข้อต่อต่าง ๆ ตามร่างกาย เช่น ข้อพับ, ข้อมือ, ข้อเท้า และข้อเข่า เป็นต้น อาจเกิดแผลดึงรั้งยึดติด ถ้าปล่อยไว้อาจจะเกิดการผิดรูป ของข้อต่อบริเวณนั้น ๆ จนอาจทำให้พิการ เพราะฉะนั้นเมื่ออาการดีขึ้นแล้ว ให้บริหารร่างกายและข้อต่ออย่างจริงจัง
ทั้งนี้เมื่อแผลหายดีแล้ว ก็อย่าเพิ่งออกไปโดนแสงแดดทันที ควรหลีกเลี่ยงการออกแดด 3-6 เดือน และพกโลชั่นหรือครีมบำรุงผิวที่มีมอยซ์เจอไรเซอร์สูง ติดตัวไว้ทาบริเวณแผล เมื่อมีอาการคันและแสบ โดยเฉพาะแผลที่ใช้เวลารักษานานเกิน 3 สัปดาห์ หรือแผลที่ต้องได้รับการผ่าตัด ผู้ป่วยควรสวมใส่เสื้อยืดตัวใหญ่ เพื่อป้องกันการเสียดสีจนแผลอาจนูนขึ้น และกลายเป็นแผลเป็นได้
สมุนไพร ที่ช่วยในการรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
- ว่านหางจระเข้ วุ้นของว่านหางจระเข้นั้นมีสาร ไกลโคโปรตีน มีสรรพคุณในการลดการอักเสบของผิวหนัง, ฆ่าเชื้อในแผล และห้ามเลือด เหมาะกับการรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถรักษาพิษจากแมงกะพรุน และไม่ทำให้เกิดแผลเป็นอีกด้วย
วิธีการใช้เพื่อการรักษา ในปัจจุบัน มีการใช้ว่านหางจระเข้กันอย่างแพร่หลาย จึงได้มีการนำไปผลิตเป็นรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ทั้งแบบครีมและเจลเพื่อให้ใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น หรือถ้าไม่อยากซื้อใช้ ก็แค่เพียงนำว่านหางจระเข้สด ๆ ล้างน้ำเอายางออก, ปอกเปลือกให้หมด แล้วจึงขูดเอาเนื้อวุ้นมาปิดที่บริเวณแผล วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น จนกว่าแผลจะหาย
- เกลือ มีสรรพคุณในการสมานแผล และลดอาการปวดแสบปวดร้อนได้ดี อย่างไม่น่าเชื่อ
วิธีการใช้เพื่อการรักษา เมื่อเกิดแผลให้รีบนำเกลือป่น ( เกลือปรุงรสอาหาร ) มาพอกไว้ที่บริเวณแผล แล้วรดน้ำลงไปเล็กน้อย ก็จะทำให้แผลที่ปวดแสบปวดร้อนดีขึ้น
- ผักแว่น โดยเฉพาะในส่วนของใบ มีสรรพคุณด้านการลดการอักเสบ ของแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก และยังช่วยในการสมานแผลให้หายเร็วขึ้น
วิธีการใช้เพื่อการรักษา ให้นำใบผักแว่นสด ประมาณ 1 กำมือ มาล้างน้ำให้สะอาดแล้วตำให้ละเอียด จากนั้นให้คั้นเอาแต่น้ำ แล้วนำมาทาที่บริเวณแผล
- ใบบัวบก มีสรรพคุณในรักษาแผลอักเสบ และสมานแผลทำให้แผลหายเร็ว ลดอาการปวดแสบร้อนได้ดีเช่นกัน
วิธีการใช้เพื่อการรักษา ให้นำใบบัวบกสดล้างให้สะอาด แล้วนำไปตำจนละเอียด กรองเอาน้ำแต่ติดกากใบมาด้วยเล็กน้อย แล้วเอามาชโลมที่แผลเรื่อย ๆ จนกว่าอาการปวดจะดีขึ้น
- น้ำส้มสายชู ด้วยกรดอะซีตริกที่อยู่ในน้ำส้ม เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของ ยาแอสไพลิน ที่ช่วยบรรเทาอาการ อักเสบ, ปวด และการคันจากการโดนของร้อน และการเผาไหม้ นอกจากนี้ยังช่วยฆ่าเชื้อ และป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้ออีกด้วย
วิธีการใช้เพื่อการรักษา ล้างแผลให้สะอาด แล้วใช้สำลีจุ่มลงไปในน้ำส้มสายชู บีบน้ำออกเล็กน้อยแล้วนำมาวางโปะไว้บนแผลสักครู่ รอจนแผลหายปวดแล้วจึงเอาออก สามารถทำได้ทุกวันจนกว่าแผลจะหาย
- น้ำมันมะพร้าว สามารถป้องกันแผลจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ที่มาของการอักเสบ และเกิดรอยแผลเป็นได้ เพราะอุดมไปด้วยวิตามินอีและกรดไขมัน เหมาะสำหรับแผลที่หายแล้ว
วิธีการใช้เพื่อการรักษา นำน้ำมันมะพร้าวมาชโลม แล้วนวดตรงบริเวณที่เป็นแผลเป็น จนผิวและแผลบริเวณนนั้นนุ่มและอ่อนลง สามารถทาได้ทุกวัน
- น้ำผึ้งจากธรรมชาติ จะมีค่า ph อยู่ในระดับที่เชื้อแบคทีเรีย ไม่สามารถต้านทานได้ จึงมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค และลดอาการเจ็บปวดของแผลได้เป็นอย่างดี
วิธีการใช้เพื่อการรักษา ล้างแผลให้สะอาดแล้วนำน้ำผึ้งมาหยด จากนั้นนวดตรงบริเวณแผล สามารถทำได้เรื่อย ๆ จนกว่าแผลจะหายปวด
- นมสด หรือโยเกิร์ตแช่เย็น ทั้ง 2 อย่างนี้ มีปริมาณไขมันและโปรตีน ที่ช่วยในการสมานแผล และลดอาการปวดแสบร้อนได้ดี
วิธีการใช้เพื่อการรักษา แช่แผลลงในนมสดหรือโยเกิร์ต ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก วิธีนี้นอกจากจะลดอาการปวดได้แล้ว ยังทำให้ไม่เป็นแผลเป็นอีกด้วย
และจากวิธีที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนี้ เป็นเพียงสมุนไพรและวิธีการดูแล ที่ใช้รักษาอาการเบื้องต้น ของคนที่เป็นแผลระดับน้อยเท่านั้น แต่จะไม่สามารถรักษาอาการของผู้ที่โดนในระดับสาม หรือระดับที่เป็นหนักได้ เพราะผู้ที่โดนแผลในระดับสาม ต้องได้รับการรักษา และการดูแลอย่างเป็นพิเศษจากแพทย์เท่านั้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่รุนแรง
แต่หาก ลูกถูกน้ำร้อนลวก หรือไฟไหม้ผิวหนังในระดับที่เป็นน้อยก็ต้องให้ความสำคัญ กับการดูแลรักษาความสะอาดของแผลให้มากๆ เพื่อที่จะได้ลดการติดเชื้อ และอักเสบของแผลที่อาจจะลุกลามเป็นแผลใหญ่ได้
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- โรคลมแดด วายร้ายหน้าร้อนของเด็กเล็ก
- 5 ขั้นตอน ทำแผลให้ลูกอย่างง่าย
- ยาใส่แผล ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยกับลูกน้อย
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.honestdocs.co