ลูกถูกน้ำร้อนลวก ได้ ต้องระวัง! น้ำที่ปล่อยมาจากสายยางที่ตากแดด - amarinbabyandkids

อุทาหรณ์เตือนแม่! ลูกน้อยถูกน้ำร้อนลวก จากสายยางที่ตากอยู่กลางแดด

event

ลูกถูกน้ำร้อนลวก

การรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก

วิธีการรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือโดนน้ำมันกระเด็นใส่นั้น ต้องดูจากอาการที่โดนมาว่ามีความอันตรายอยู่ที่ระดับใด และโดนตามส่วนบริเวณต่าง ๆ ในร่างกายมาเยอะแค่ไหน แล้วจึงจะสามารถรักษาได้ตามอาการ แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ที่โดนของร้อนลวก หรือไหม้ตามร่างกายมานั้นมีเหมือนกัน คือ อาการปวดแสบปวดร้อนแบบเฉียบพลัน และกินระยะเวลานาน จนบางคนอาจใช้ยาสีฟัน หรือน้ำปลามาทากันการปวดแสบร้อน ตามความเชื่อในสมัยโบราณ ที่ถือว่าผิดมหันต์ และยังส่งผลให้แผลอาจติดเชื้อได้โดยง่ายอีกด้วย!!

แผลไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก แบ่งได้ 3 ระดับ

  1. แผลในระดับแรก เป็นการโดนไหม้ หรือลวกในระดับแค่เล็กน้อย โดนทำลายแค่ผิวหนังกำพร้าชั้นนอกเท่านั้น โดยแผลนั้นจะไม่มีตุ่มพองใส แต่จะแค่ผิวหนังบริเวณนั้นมีสีแดงกว่าปกติ มีความรู้สึกว่าปวดแสบและร้อนไม่มากนัก จะไม่ทิ้งรอยแผลเป็นไว้เมื่อหายปวด โดยทั่วไปแผลระดับแรกนี้จะหายไปในระยะเวลา 7 วัน

วิธีการรักษา แค่ใช้น้ำอุณหภูมิปกติไหลผ่านแผล แล้วจึงใช้น้ำเย็น หรือน้ำแข็งประคบไว้สักครู่หนึ่ง อาการปวดก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ หรือถ้าใครมีคูลฟีเวอร์ ( แปะหน้าผากลดไข้เด็ก ) ก็สามารถนำมาแปะที่แผลไว้ พออาการปวดดีขึ้นก็ให้ทายารักษาอาการ ยาทานั้นมีขายทั่วไปตามร้านขายยา ถ้าไม่รู้ยี่ห้อก็สามารถสอบถามได้จากเภสัชกรในร้าน

  1. แผลในระดับที่สอง คือแผลที่โดนลึกขึ้น และกินบริเวณกว้างกว่าแผลในระดับแรก เข้าไปถึงชั้นหนังกำพร้า แล้วลึกลงไปถึงชั้นหนังแท้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังหลงเหลือเซลล์ที่สามารถเจริญเติบโตมาทดแทนชั้นหนังที่ตายแล้วได้อยู่ แผลนั้นจะมี 2 แบบ คือทั้งแบบเป็นตุ่มพองมีน้ำใส ๆ ข้างใน พอแกะน้ำออกมาผิวบริเวณนั้นจะมีสีชมพู และมีน้ำเหลืองไหลออกมาเล็กน้อย แผลระดับนี้จะเริ่มมีอาการปวดแสบมากขึ้น เพราะเส้นประสาทถูกทำลายไปด้วย แต่ไม่เยอะมากนักและแผลจะหายภายใน 2-3 สัปดาห์ และจะไม่เกิดแผลเป็น ส่วนอีกแบบนึงจะเป็นแผลที่ไม่มีตุ่มพองแผลจะแห้ง มีสีเหลืองขาวและไม่ค่อยปวด แต่จะทำให้เกิดแผลเป็นได้

วิธีการรักษา แผลระดับนี้ ยังคงใช้วิธีการรักษาเบื้องต้น แบบแผลระดับแรก เพียงอาจจะต้องมีการสะกิดตุ่มหนองในแผลแบบที่ 1 ออก แล้วจึงทายาเพื่อรักษาอาการต่อไป และต้องมีการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับแผลแบบที่ 2 เพื่อลดการติดเชื้อ

  1. แผลในระดับที่สาม เป็นแผลที่ลึกลงไปทำลายหนังกำพร้า, หนังแท้, รูขุมขน, ต่อมเหงื่อ และเซลล์ประสาทจนหมด ซึ่งแผลระดับนี้ถือว่ารุนแรงมาก เพราะอาจกินลึกไปถึงชั้นกล้ามเนื้อและกระดูก แต่จะไม่มีอาการปวดจากแผล เพราะเซลล์ประสาทโดนทำลายไปทั้งหมด ทำให้ไม่รับรู้ถึงอาการปวด ลักษณะของแผลจะมีสีซีดออกเหลือง หรืออาจจะมีสีไหม้ออกดำ จะแข็งด้าน ในบางรายอาจมองเห็นได้ถึงเส้นเลือด แผลชนิดนี้จะมีอาการผิวหนังตึง และขยับร่างกายลำบาก เมื่อหายแล้วก็จะเป็นแผลเป็น หรือในบางรายอาจกลายเป็นแผลนูนขึ้นมาแทนก็ได้

วิธีการรักษา แผลชนิดนี้เมื่อเป็นแล้ว ไม่สามารถรักษาอาการเองได้ ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์เท่านั้น และมีเพียงแค่การปลูกถ่ายผิวหนังใหม่เท่านั้น ที่เป็นวิธีการรักษา แผลระดับสามนี้ต้องดูแลเป็นอย่างดีจากแพทย์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่รุนแรงกว่าแผลระดับอื่น

การเริ่มต้นรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

อันดับแรก เมื่อลูกน้อยถูกน้ำร้อนลวก หรือโดนไฟไหม้ที่ผิวหนัง ให้คุณพ่อคุณแม่รีบล้างแผลด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำสบู่อ่อน ๆ เพื่อฆ่าเชื้อในแผล แต่ห้ามถูแรงเด็ดขาดเพราะจะยิ่งทำให้เกิดอาการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น พอล้างเสร็จแล้วก็ให้ใช้ผ้าซับให้แห้ง แล้วจึงทายาและทานยาปฎิชีวนะ เพื่อป้องกันแผลติดเชื้อบาดทะยักต่อไป

อ่านต่อ >> “ขั้นตอนการเริ่มต้นรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ก่อนพาลูกหาหมอ” คลิกหน้า 3

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up