AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ไวรัสโรต้า ระบาดหน้าหนาว ลูกเป็นแล้วเป็นอีกได้!

กรมควบคุมโรค ออกประกาศเตือนพ่อแม่ดูแลลูกเล็กให้ดี เสี่ยงป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงจาก ไวรัสโรต้า  ชี้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีโอกาสป่วยซ้ำได้หลายครั้ง

กรมควบคุมโรค เตือน!! ไวรัสโรต้า ระบาดหน้าหนาว
เป็นแล้วเป็นอีกได้

นายแพทย์อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีและโฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวว่า…

ช่วงฤดูหนาว ความเสี่ยงของการที่ประชาชนจะป่วยด้วยโรคติดต่อก็อาจเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะโรคติดต่อทางเดินหายใจ อันเป็นโรคติดต่อที่ทำให้ประชาชนป่วยเป็นจำนวนมาก เช่น โรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่และโรคปอดบวม เป็นต้น นอกจากนี้ โรคติดต่อทางอาหารและน้ำที่ต้องระวังเป็นพิเศษในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี คือ โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า

สถานที่เสี่ยงต่อการพบและติดเชื้อไวรัสโรต้า

โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า พบมากในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และสถานที่ที่พบมาก คือ สถานสงเคราะห์เด็ก โรงพยาบาล นอกจากนี้ อาจพบการติดเชื้อได้ในคุณพ่อคุณแม่ ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานว่า…

พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงตลอดปี 2560 จำนวน 985,544 ราย เสียชีวิต 4 ราย ในจำนวนนี้เป็นการป่วยในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 226,909 ราย คิดเป็นร้อยละ 23 ของผู้ป่วยทั้งหมด และเสียชีวิต 3 ราย

ซึ่งจากการสำรวจของกรมควบคุมโรค เมื่อ ปี 2544-2546 พบว่า…

การป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า ประมาณร้อยละ 43 และจะมีเด็กป่วยเป็นโรคอุจจาระร่วงที่เข้ารับการรักษาในคลินิก ประมาณ 131,000 รายต่อปี และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 56,000 รายต่อปี

อ่านต่อ >> อาการของโรคและวิธีป้องกันไวรัสโรต้า” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

 

นายแพทย์อัษฎางค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า…

โรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า เกิดจากการรับเชื้อเข้าทางปาก  จากการปนเปื้อนของเชื้อในน้ำดื่มและน้ำใช้ หรือการสัมผัสกับเครื่องใช้หรือของเล่นต่างๆ ที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสโรต้า โดยมักจะมีอาการภายใน 2-10 วันหลังการรับเชื้อเข้าไป

อาการของโรคไวรัสโรต้า คือ

การป้องกันโรคอุจจาระร่วง สามารถทำได้ ดังนี้…

1. หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่หรือเจลล้างมือทั้งก่อนปรุงประกอบอาหาร และภายหลังการใช้ห้องน้ำ
2. กำจัดขยะมูลฝอย เศษอาหารเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน
3. รับประทานอาหารที่ปรุง “สุก ร้อน สะอาด”

ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด หากเริ่มมีความผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันที หรือหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคต่างๆ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

ข้อมูลจาก: กองป้องกันโรคด้วยวัคซีน/ สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค

อ่านต่อ >> “ลูกติดเชื้อไวรัสโรต้าได้อย่างไร? และมีวิธีอย่างไร” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ไวรัสโรต้า เป็นเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายได้ง่าย ทำให้เกิดการอักเสบในกระเพาะอาหารและลำไส้ โดยเฉพาะในช่วงต้นถึงปลายฤดูหนาว อาจทำให้เกิดอาการท้องเดินและอาเจียนรุนแรง เป็นไข้ ปวดท้องในทารกเด็กเล็กและผู้ใหญ่บางคน หากติดเชื้อไวรัสโรต้ายังไม่มียาเพื่อช่วยในการรักษาอาการเหล่านี้

ลูกติดเชื้อไวรัสโรต้าได้อย่างไร?

แม้ว่าเชื้อไวรัสโรต้าจะพบมากในช่วงฤดูหนาว แต่ก็สามารถพบได้ในฤดูอื่นๆ  ได้เช่นกัน สามารถรับเชื้อได้ง่ายๆ จากการรับประทานอาหารที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่  เช่น เด็กเล็กๆ ชอบหยิบ ชอบจับสิ่งของเข้าปาก (ตามพัฒนาการ) ทำให้มีความเสี่ยงสูง เพราะเชื้อไวรัสโรต้าจะมีชีวิตอยู่ตามวัตถุสิ่งของในอุณหภูมิปกติ  ติดจากมือ ของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก และการใช้ห้องน้ำที่ไม่สะอาด รวมถึงอุจจาระของผู้ป่วย

ไวรัสโรต้าสามารถแพร่กระจายไปกับทุกสิ่งที่สัมผัสได้รวมถึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้ 

หากสัมผัสสิ่งสกปรกที่ปนเปื้อน และหยิบสิ่งของปากอาจติดเชื้อได้เช่นกัน

ใครเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโรต้าบ้าง?

√ การรักษา

ไม่มียาเฉพาะสำหรับรักษาไวรัสโรต้า ที่สำคัญคือเฝ้าระวังไม่ให้ขาดน้ำ และคำแนะนำคือ พ่อแม่ควรพาลูกน้อยไปรับวัคซีนป้องกันโรคท้องร่วงจากไวรัสโรต้า ซึ่งถึงแม้จะได้รับวัคซีนแล้วก็สามารถติดเชื้อได้ เพราะไวรัสโรต้ามีหลายตัว แต่ทั้งนี้เมื่อเด็กติดเชื้ออาการจะไม่รุนแรงเท่าเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนชนิดนี้เลย

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : hellokhunmor.com