ไวรัสโรต้า เป็นเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายได้ง่าย ทำให้เกิดการอักเสบในกระเพาะอาหารและลำไส้ โดยเฉพาะในช่วงต้นถึงปลายฤดูหนาว อาจทำให้เกิดอาการท้องเดินและอาเจียนรุนแรง เป็นไข้ ปวดท้องในทารกเด็กเล็กและผู้ใหญ่บางคน หากติดเชื้อไวรัสโรต้ายังไม่มียาเพื่อช่วยในการรักษาอาการเหล่านี้
ลูกติดเชื้อไวรัสโรต้าได้อย่างไร?
แม้ว่าเชื้อไวรัสโรต้าจะพบมากในช่วงฤดูหนาว แต่ก็สามารถพบได้ในฤดูอื่นๆ ได้เช่นกัน สามารถรับเชื้อได้ง่ายๆ จากการรับประทานอาหารที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ เช่น เด็กเล็กๆ ชอบหยิบ ชอบจับสิ่งของเข้าปาก (ตามพัฒนาการ) ทำให้มีความเสี่ยงสูง เพราะเชื้อไวรัสโรต้าจะมีชีวิตอยู่ตามวัตถุสิ่งของในอุณหภูมิปกติ ติดจากมือ ของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก และการใช้ห้องน้ำที่ไม่สะอาด รวมถึงอุจจาระของผู้ป่วย
ไวรัสโรต้าสามารถแพร่กระจายไปกับทุกสิ่งที่สัมผัสได้รวมถึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้
- ไวรัสโรต้าแพร่กระจายที่ดินสอสีและปากกา
- ไวรัสโรต้าแพร่กระจายที่อาหาร
- ไวรัสโรต้าแพร่กระจายที่พื้นผิวเช่นอ่างล้างหน้า และเคาน์เตอร์ครัว
- ไวรัสโรต้าแพร่กระจายที่ของเล่น รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ร่วมกัน เช่น iPads และรีโมทคอนโทรล
- ไวรัสโรต้าแพร่กระจายที่เครื่องใช้ในครัว
- ไวรัสโรต้าแพร่กระจายที่น้ำ
หากสัมผัสสิ่งสกปรกที่ปนเปื้อน และหยิบสิ่งของปากอาจติดเชื้อได้เช่นกัน
ใครเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโรต้าบ้าง?
- ทารกเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโรต้า
- เด็กเล็กเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโรต้า
- คนใกล้ชิดเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโรต้า
- คนที่ทำงานกับเด็กเช่นพี่เลี้ยงเด็ก หรือพนักงานดูแลเด็กเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโรต้า
√ การรักษา
ไม่มียาเฉพาะสำหรับรักษาไวรัสโรต้า ที่สำคัญคือเฝ้าระวังไม่ให้ขาดน้ำ และคำแนะนำคือ พ่อแม่ควรพาลูกน้อยไปรับวัคซีนป้องกันโรคท้องร่วงจากไวรัสโรต้า ซึ่งถึงแม้จะได้รับวัคซีนแล้วก็สามารถติดเชื้อได้ เพราะไวรัสโรต้ามีหลายตัว แต่ทั้งนี้เมื่อเด็กติดเชื้ออาการจะไม่รุนแรงเท่าเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนชนิดนี้เลย
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- นุสบา ท้องร่วงหนัก เชื้อไวรัสโรต้า ระบาด ยังไม่มียารักษา
- โรคอุจจาระร่วงในเด็ก ประสบการณ์ตรงที่แม่อยากแชร์
- แม่แชร์ประสบการณ์เตือน! ลูกท้องเสียถ่ายเหลว ไม่ใช่ยืดตัว แต่เพราะติดเชื้อในกระแสเลือด
- รู้จักไวรัสโรต้า ต้นเหตุลูกน้อยท้องร่วง พร้อมราคาวัคซีน
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : hellokhunmor.com