AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ส่าไข้ สังเกตอาการลูกป่วยได้อย่างไร?

ส่าไข้ โรคหัดกุหลาบ มีอาการอย่างไร?

ส่าไข้ คืออะไร? มีแม่ๆ ลูกเล็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปถามกันเข้ามาเยอะมาก และก็อยากรู้ว่าลักษณะอาการ รวมทั้งวิธีการดูแลรักษาต้องทำอย่างไร แล้วถ้าลูกป่วยจะอันตรายหรือเปล่า เอาเป็นว่าเพื่อคลายข้อสงสัย กังวลใจให้กับคุณแม่ทุกคนทีมงาน Amarin Baby & Kids จะพาไปทำความรู้จักกับโรคนี้กันค่ะ

 

ส่าไข้ คืออะไร?

สำหรับ ส่าไข้ ทางการแพทย์จะเรียกชื่อโรคนี้ว่า โรคหัดกุหลาบ (ROSEOLA INFANTUM) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ไข้ผื่นกุหลาบ ซึ่งโรคนี้มักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส Human Herpesvirus 6 (HHV-6) และกลุ่มที่มีโอกาสป่วยด้วยส่าไข้บ่อยที่สุดคือในเด็กช่วงอายุระหว่าง 6-24 เดือน

โรคหัดกุหลาบ พบว่าเด็กๆ มีอัตราการเจ็บป่วยได้ตลอดทั้งปี โดยหลังจากได้รับเชื้อจะมีระยะฟักตัวของโรคอยู่ที่ประมาณ  5-15 วัน คุณแม่อาจส่งสัยว่าแล้วทำไมลูกถึงป่วยได้ล่ะ สาเหตุหลังมาจากระบบภูมิคุ้มค่ะ หากในช่วงนั้นๆ ร่างกายลูกมี ระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรงก็ทำให้เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย โดยเชื้อไวรัส HHV-6 จะแพร่กระจายผ่านน้ำมูก น้ำลายจากการไอ หรือจาม แล้วถ้าลูกไปสัมผัสเข้ากับน้ำมูก น้ำลาย ของคนที่มีเชื้อไวนัส HHV-6 เข้าก็จะทำให้ร่างกายเกิดอาการป่วยขึ้นมานั่นเองค่ะ

บทความแนะนำ คลิก กรมควบคุมโรคเตือน! ระวัง “ลูกแรกเกิด-4ปี” เสี่ยงป่วย โรคหัด

คุณแม่พอจะทราบที่มาที่ไปของโรคหัดกุหลาบกันแล้ว ทีนี้เราจะไปสังเกตอาการของโรคนี้กันต่อค่ะ เพื่อที่ว่าหากเจ้าตัวเล็ก ที่บ้านเกิดมีความผิดปกติขึ้น จะได้รู้ว่าป่วยด้วยอาการส่าไข้ ใช่หรือไม่…

อ่านต่อ โรคหัดกุหลาบ มีอาการอย่างไร? หน้า 2 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ส่าไข้ โรคหัดกุหลาบ มีอาการอย่างไร?

อย่างที่บอกไปค่ะว่าหลังจากที่ลูกได้รับเชื้อไวรัส HHV-6 เข้าสู่ร่างกายแล้วนั้น จะมีระยะฟักตัวของโรคอยู่ที่ประมาณ 5-15 วัน ถึงจะมีอาการแสดงออกมาว่าร่างกายกำลังมีความผิดปกติเกิดขึ้น ซึ่งอาการของหัดกุหลาบ มีดังนี้ คือ…

บทความแนะนำ คลิก ลูกชักจากไข้สูง กับวิธีรับมือที่ถูกต้อง!!

หากเด็กๆ ป่วยออกผื่นเป็นส่าไข้ หรือหัดกุหลาบแล้วได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และถูกต้องจากคุณหมอ อาการของโรคก็จะทุเลาลงได้เร็วค่ะ แต่สำหรับเด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสามารถเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ปอดอักเสบ ตับอักเสบ สมองอักเสบ  หรือความผิดปกติของระบบเลือดเช่น จำนวนเม็ดเลือดและจำนวนเกล็ดเลือดต่ำลง และ การติดเชื้อที่หู1 เป็นต้น

อ่านต่อ การป้องกันโรคหัดกุหลาบ หน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

Credit Photo : Shutterstock

การป้องกัน และดูแลรักษาอาการส่าไข้ ให้ลูกน้อย

โดยปกติแล้วอาการโรคหัดกุหลาบเมื่อเด็กป่วยจะค่อยๆ หายเป็นปกติประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากมีอาการ ส่วนผิวหนังที่ออกผื่นก็จะดีขึ้นตามลำดับ การดูแลรักษาโรคนี้เนื่องจากเด็กจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน คุณหมอจะจัดยาแก้ไข้ ยากันชัก และรักษาประคับประคองไปตามอาการที่เกิดขึ้นค่ะ

แนะนำว่าการป้องกันเบื้องต้น เพื่อไม่ให้ลูกได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย คือ…

คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมว่า โรคหัดกุหลาบ เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ตลอดทั้งปี และก็เกิดจากการสัมผัสกับเชื้อไวรัสที่ง่ายมาก เพียงแค่การหายใจ ไอ จามรดใส่กัน ก็ทำให้ได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแล้ว ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกป่วยควรต้องใส่ใจดูลุขภาพลูกให้มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะช่วงวัย 6 เดือน ถึง 2 ขวบ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

ลูกไอมีเสมหะ เสี่ยงเป็น 6 โรคร้าย กับระบบทางเดินหายใจ
โรคไข้กาฬหลังแอ่น ระบาดหนักในรอบปี พบเด็กเล็กเสี่ยงที่สุด!


อ้างอิงข้อมูลจาก
1พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ.โรคหัดกุหลาบ.มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
ส่าไข้.www.pobpad.com

Summary
Review Date
Reviewed Item
ส่าไข้
Author Rating
4