AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เผย 7 กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ควรปฏิบัติตามมาตรการรัฐบาลอย่างเคร่งครัด

ระวัง!! “ลูก เป็น G6PD” หนึ่งใน กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ใช้ยารักษา COVID-19 บางตัวไม่ได้

ใครป่วยเป็นโรค G6PD ระวังให้ดี!! หนึ่งใน กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่สามารถใช้ยารักษา COVID-19 บางตัวได้ .. เตือนทุกคนที่เสี่ยงติดเชื้อง่ายควรปฏิบัติตามมาตรการควบคุม COVID-19 ของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด

ระวัง!! “ลูก เป็น G6PDหนึ่งใน กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19
ใช้ยารักษา COVID-19
บางตัวไม่ได้

โรคแพ้ถั่วปากอ้า หรือ โรค G6PD ย่อมาจาก Glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency โดยทางการแพทย์จะเรียกโรคนี้ว่า ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งทำให้ร่างกายขาดเอนไซม์ที่ช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดงทำงานได้เป็นปกติ จึงอาจส่งผลให้เซลล์เม็ดเลือดแดงสลายตัวจนเกิดภาวะโลหิตจางตามมาได้ หรือ ทำให้เกิดอาการเม็ดเลือดแดงแตกได้ง่ายนั่นเอง

โดยสาเหตุของการพร่องเอนไซม์ G6PD เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมของโครโมโซมเพศชนิดโครโมโซมเอกซ์ มีการถ่ายทอดยีน G6PD เป็นแบบ X-linked recessive จากแม่ … โดยมีโอกาสที่ลูกชายจะเป็นโรคร้อยละ 50 ลูกสาวจะเป็นพาหะร้อยละ 50 ดังนั้นโรคนี้จึงพบในเด็กผู้ชายได้มากกว่าเด็กผู้หญิง

Must read >> 5 โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ที่พบได้บ่อยในครอบครัวไทย

โรคนี้ในภาวะปกติจะไม่มีอาการ แต่มักเกิดขึ้นหลังมีภาวะติดเชื้อ โดยจะมีอาการซีดเมื่อมีเหตุปัจจัยภายนอกที่เป็นสิ่งกระตุ้นได้แก่ การติดเชื้อต่างๆ เช่น ไข้หวัด ตับอักเสบจากเชื้อไวรัส ไข้เลือดออก มาลาเรีย เป็นต้น รวมไปถึงการได้รับยาปฏิชีวนะในกลุ่มซัลฟา แอสไพริน ยารักษามาลาเรียพวก primaquine ได้สัมผัสสารเคมี เช่น ลูกเหม็น รับประทานถั่วปากอ้า ที่จะเป็นตัวชักนำให้เกิดการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดง อาการประกอบด้วย ซีด เหลืองหรือดีซ่าน และปัสสาวะสีโคคาโคลา ถ่ายปัสสาวะน้อยจนอาจนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลันได้ นอกจากนี้ยังส่งผลให้การควบคุมสมดุลของสารเกลือแร่ต่างๆ ในร่างกายเสียไปด้วย โดยเฉพาะการเกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง ซึ่งมีความรุนแรงมากและมีอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม

Must read >> โรค G6PD หรือโรคแพ้ถั่วปากอ้าคืออะไร? ห้ามกินอะไรบ้าง?

ซึ่งจากอาการข้างต้นที่กล่าวมาของโรค G6PD ถือเป็น หนึ่งใน กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 (COVID-19) ทางกรมการแพทย์ของไทย ได้มีเอกสารแจ้งถึงแนวทางการดูแลรักษา และการใช้ยาต้านไวรัส กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ว่าหนึ่งในนั้นมีการใช้ยารักษามาลาเรีย ซึ่งยาตัวนี้หากใช้ในคนที่เป็น G6PD จะทำให้เม็ดเลือดแดงเขาแตกและเป็นอันตรายได้

จากเรื่องนี้เองจึงทำให้มีคุณแม่ท่านหนึ่งได้โพสต์ภาพขึ้นในเฟซบุ๊ก โดยต้องขึ้นป้ายเตือนหน้าบ้านว่า “ลูกชายบ้านนี้ เป็น G6PD ไม่สามารถใช้ยาบางตัวในการรักษาไวรัสโควิด-19 ได้”

นั่นเป็นเพราะออปชั่นในการรักษาของพวกเขา น้อยกว่าคนทั่วไป จึงขอความร่วมมือเพื่อลดความเสี่ยงที่ลูกชายของคุณแม่จะติดเชื้อโดยการห้ามเข้ามาในบ้าน (ทางบ้านของคุณแม่เป็นร้าน ออกแบบ+ติดตั้งงานป้าย)

 

ซึ่งหากใครที่เห็นป้ายเตือนแบบนี้ หรือคนที่เป็นโรค G6PD ก็ถือเป็น กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ต้องระวัง และให้ทำตามที่ป้ายเตือนอย่างเคร่งครัด เพราะสำหรับคนไทยแล้วโรคนี้ไม่ใช่แค่เด็กเท่านั้นที่เป็นกัน แต่ผู้ใหญ่ที่เป็นภาวะนี้ ประมาณ 10% ของประชากร จึงจำเป็นต้องระวังเป็นอย่างดีที่สุดกว่าคนอื่นด้วยนะคะ

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก คุณแม่แก้ม (จากผู้ใช้เฟซบุ๊ก ชื่อ อิ กิม)

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :

ดูต่อ >> “7 กลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อโรคโควิด-19” คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ใครเสี่ยงติดเชื้อโรคโควิด-19 บ้าง?

ด้วยสถานการณ์ของโรคระบาดโควิด-19 ที่มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอยู่ทั่วโลกตลอดทุกวัน ซึ่งในส่วนของประเทศไทยบ้านเรา นับตั้งแต่เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2563 ที่มีการยืนยันว่าทีผู้ติดเชื้อรายแรกเกิดขึ้น จนถึงวันที่ 1 เมษายน 63 ก็พบว่ามีผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน >> รวมทั้งหมด 1,771 ราย กำลังรักษาตัวอยู่ 1,343 ราย รักษาหายแล้ว 416 ราย และเสียชีวิตไปแล้ว 12 ราย (อ้างอิงจาก www.sanook.com) … ซึ่งในอนาคตก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ทำให้ใครหลายคนเป็นกังวล และคอยติดตามข่าวสารกันอยู่ตลอดถึงจำนวนผู้ติดเชื้อ อัตราการเสียชีวิต รวมไปถึงการป้องกันตัวเองให้รอดพ้นจากการติดเชื้ออันตรายนี้

และแม้ว่าอาการโดยทั่วไปจะดูเหมือนเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา แต่ที่กลัวกันทั่วโลกเป็นเพราะเชื้อไวรัสนี้เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่มียาปฏิชีวนะตัวไหนที่สามารถรักษาให้หายได้โดยตรง การรักษาเป็นไปแบบประคับประคองตามอาการเท่านั้น นอกจากนี้ อันตรายที่ทำให้เสี่ยงถึงชีวิต จะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิต้านทานโรคของเราไม่แข็งแรง หรือเชื้อไวรัสเข้าไปทำลายการทำงานของปอดได้ จนทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายลุกลามมากขึ้น รวดเร็วขึ้น

กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19

ด้วยเหตุนี้เอง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงได้ออกมาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.-30 เม.ย.2563 โดยใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2548 ซึ่งได้มีการออกข้อกำหนด ฉบับที่ 1 ตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 โดยมี 16 ข้อ

และหนึ่งในประเด็น สำคัญคือข้อ 8 ได้ระบุว่า …

มาตรการพึงปฏิบัติสำหรับบุคคลบางประเภท ให้ กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีโอกาสสูง ดังต่อไปนี้ อยู่ในเคหสถาน หรือบริเวณสถานที่พำนักของตน เพื่อป้องกัน ตนเองจากการติดเชื้อจากสภาพแวดล้อมภายนอก

ซึ่งก็ตรงกับข้อมูลที่ทางศ.ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ รศ.ดร.รศรินทร์ เกรย์ คณะทำงานโครงการวิจัยประเทศไทยในอนาคต สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยผลการศึกษาว่า กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แก่

1. กลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีลงมา

2. วัยกลางคนจนถึงกลุ่มผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป

3. คนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่นโรคหัวใจ เบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง

4. คนที่กินยากดภูมิต้านทานโรคอยู่

5. ผู้ที่เดินทางไปในประเทศเสี่ยงติดเชื้อ เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อิตาลี อิหร่าน ฯลฯ

6. ผู้ที่ต้องทำงาน หรือรักษาผู้ป่วย ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือไวรัสโควิด-19 อย่างใกล้ชิด

7. ผู้ที่ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมาก เช่น คนขับแท็กซี่ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ลูกเรือสายการบินต่าง ๆ เป็นต้น

ซึ่งจากผลการวิจัยอัตราการติดเชื้อและความรุนแรงของโรคโควิด-19 ทั้งจากองค์การอนามัยโลก ประเทศจีน และอิตาลี พบข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่สุดที่จะติดเชื้อรุนแรงและเสียชีวิต โดยความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปีมีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่า 1% ในขณะที่ผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปมีอัตราการเสียชีวิต 8.0-9.6% และอายุ 80 ปีขึ้นไปมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 14.8-19.0%

ดังนั้นจึงจำเป็นที่ทุกบ้านต้องดูแล กลุ่มคน 7 กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคประจำตัว และกลุ่มเด็กเล็ก เป็นพิเศษ

โดยควรปฏิบัติตามมาตรการที่รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัด อยู่ในเคหสถานหรือสถานที่พัก อยู่ในบ้าน เพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ และเมื่อมีอาการป่วยต้องรีบรายงานแพทย์โดยเร็ว เพื่อลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์และลดจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตของประเทศไทย เพราะการจะผ่านวิกฤตในครั้งนี้ไปได้ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่ายและพ่อแม่พี่น้องประชาชนชาวไทยทุกคนนะคะ

♥ ทั้งนี้หากพบว่ามีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้แจ้งบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค DDC Hotline 1422 ทันที

10 ข้อต้องปฏิบัติทันที ถ้าเสี่ยงสัมผัสผู้ป่วยโควิด-19

ขอบคุณภาพจาก www.thairath.co.th

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก Drama-addictwww.pobpad.comtsh.or.thdric.nrct.go.thwww.bangkokbiznews.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids