โรคกระดูกอ่อน คืออะไร แล้วเกี่ยวข้องอย่างไรกับสุขภาพลูก มีวิธีป้องกันหรือไม่ไปดูกัน
รู้จักกับ โรคกระดูกอ่อน
โรคกระดูกอ่อนหรือ Rickets คือภาวะที่มีความบกพร่องในการสะสมแร่ธาตุหรือการสะสมแคลเซียมในกระดูกระยะก่อนที่จะมีการปิดของแผ่นสร้างกระดูก เนื่องจากการขาดหรือความผิดปกติของกระบวนการสร้างและสลายวิตามินดี ฟอสฟอรัส หรือแคลเซียม ซึ่งอาจทำให้เกิดกระดูกหักหรือผิดรูปได้ โรคนี้ถือเป็นโรคที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้น ๆ ในประเทศที่กำลังพัฒนาเลยละค่ะ
สาเหตุของการเกิดคือ การขาดวิตามินดี และแคลเซียม หรือได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ นั่นเองค่ะ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะวิตามินดีเป็นตัวควบคุมเมตาโบลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยรวมฟอสฟอรัสกับแคลเซียมให้เป็นเกลือของสารนี้เกาะตามเนื้อของกระดูก ถ้าร่างกายขาดเพียงแต่วิตามินดี หรือแร่แคลเซียมหรือขาดทั้งสองอย่าง ร่างกายจะไม่สามารถสร้าง กระดูกที่แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของร่างกายได้ค่ะ
ชนิดของโรคมีกี่ประเภท อ่านต่อได้ที่หน้าถัดไปค่ะ
ชนิดและอาการของโรค
ทั้งนี้โรคกระดูกอ่อนนั้นสามารถแบ่งได้ตามอายุของผู้ป่วยดังนี้ค่ะ
- โรคกระดูกอ่อนในทารก เป็นโรคที่เกิดกับเด็กอายุไม่เกิน 2 ปี ส่วนมากจะพบในทารกที่มีอายุ 3-10 เดือน ซึ่งวัยทารกเป็นระยะที่โครงกระดูกกำลังอยู่ในระยะเติบโต ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักจะเป็นโรคนี้ได้ง่าย เพราะไม่มีโอกาสที่จะดึงเอาแคลเซียมจากมารดามาสะสมไว้ก่อนคลอด อาการของโรคได้แก่ โครงกระดูกโตช้า ไม่แข็งแรง เจ็บปวดตามแขนขาอารมณ์เสียง่าย ขี้แย กระวนกระวาย กลางวันกวนมาก ส่วนกลางคืนนอนไม่หลับ เหงื่อออกที่ศีรษะมาก มีอาการสั่นของลูกตา ในตาเหลืองนั่งไม่ตรง โดยจะก้มศีรษะตัวโยกไปมา
- อาการที่น่ากลัวที่สุดก็คือ อยู่ดี ๆ เด็กจะร้องแล้วเกิดการเกร็งของกระเดือก ทำให้หายใจไม่ออก ตาเหลือก หน้าตาตื่นตระหนก หนาเขียวซีด ถ้าเป็นในระยะสั้นเด็กจะถอนหายใจยาวและแรง และอาจมีการชักกระตุกตามมาได้
- โรคกระดูกอ่อนในเด็ก เป็นโรคกระดูกอ่อนที่เป็นกับเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป แต่จะพบโรคนี้มากในเด็กอายุ 3-4 ปี ซึ่งอาการของโรคก็ได้แก่ รูปหน้าของเด็กจะกว้างและใหญ่ขึ้นเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยม หน้าอกยื่นเป็นหน้าอกไก่ เนื่องจากตรงรอยต่อระหว่างกระดูกอ่อนของกระดูกซี่โครง หรือกับกระดูกหน้าอกจะเป็นปุ่มแข็งนูนยื่นออกมา กระหม่อมของลูกจะปิดช้ากว่าปรกติ กระดูกแขนและขาคด โค้ง และงอ หลังโก่ง เพราะทานน้ำหนักของร่างกายไม่ได้ เป็นต้น
- โรคกระดูกอ่อนในผู้ใหญ่ นั้นเกิดจากร่างกายมีเกลือของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระดูกน้อยลง หรือถูกดูดออกจากกระดูก มักพบโรคนี้ในสตรีขณะมีครรภ์ สตรีที่เลี้ยงบุตรด้วยนมตนเอง อาการที่พบได้แก่ ปวดตามกระดูกและข้อคล้ายโรครูมาติซึม อ่อนเพลีย กระดูกขา กระดูกสันหลัง และกระดูกเชิงกรานอาจจะโค้ง หักง่าย และมีรูปลักษณะผิดไปจากเดิม สตรีมีครรภ์ที่ขาดวิตามินดีมาก ๆ จะมีเกลือแคลเซียมเกาะที่กระดูกเชิงกรานน้อย เป็นเหตุให้กระดูกเชิงกรานอ่อน และคด กล้ามเนื้อจะดึงกระดูกเชิงกรานให้เคลื่อนลง เลยทำให้กระดูกเชิงกรานแคบเข้า การคลอดจึงยากนั่นเองค่ะ
วิตามินดีพบได้ที่ไหนบ้าง คลิก!
เครดิต: Healthcarethai
หากสังเกตให้ดีจะพบว่า โรคดังกล่าวเกิดขึ้นกับคนที่ร่างกายขาดวิตามินดีนั่นเองค่ะ ว่าแต่วิตามินดีคืออะไร หาได้จากอาหารประเภทไหนบ้าง ไปดูกันค่ะ
วิตามินดี คืออะไร?
วิตามินดีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันและสังเคราะห์ผิวหนัง ซึ่งหน้าที่ของวิตามินดีคือทำหน้าที่ร่วมกันกับแคลเซี่ยมในการสร้างกระดูกและฟัน และช่วยเร่งการดูดซึมแคลเซี่ยมในลำไส้ เป็นต้น
วิตามินดี สามารถพบได้จากอาหารประเภทไหนบ้าง
1.น้ำมันตับปลา
2.นมสด
3.ปลาแซลมอล
4.ปลาทู
5.ปลาทูน่า
6.ปลาซาดีน
7.ไข่ไก่
8.เนื้อหมูสับ
9.เนื้อไก่
10.เห็ด
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกหรือแม้แต่ตัวของคุณพ่อคุณแม่เองเป็นโรคดังกล่าวละก็ อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดวิตามินดีโดยเด็ดขาดนะคะ และนอกจากอาหารดังที่กล่าวไปแล้วนั้น แสงแดด ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งกับร่างกายเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสงแดดในตอนเช้านั่นเองค่ะ
เครดิต: Siam Health
อ่านต่อเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
- แม่แชร์ประสบการณ์ ลูกขาดวิตามินซี หกล้มจนเดินไม่ได้เป็นเดือน!
- 13 วิตามินที่ร่างกายของลูกน้อยขาดไม่ได้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่