ปีจอดุจริง! โรคพิษสุนัขบ้า ระบาดหนัก ประเทศไทยควบคุมพื้นที่สีแดงกว่า 22 จังหวัด เตือนคุณพ่อคุณแม่ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการป้องกัน โดยการฉีด วัคซีนพิษสุนัขบ้า ด้วยสิทธิประกันสังคมได้ แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย
จากกรณีโรคพิษสุนัขบ้าระบาดในหลายพื้นที่ และมีจำนวนผู้เสียชีวิตแล้วในตอนนี้ 6 ราย รวม 6 จังหวัด ได้แก่ สุรินทร์ สงขลา ตรัง นครราชสีมา และประจวบคีรีขันธ์ และ บุรีรัมย์นั้น อ่านข่าว >> เด็กหญิง วัย 14 ปี เสียชีวิต เพียงแค่ถูกลูกสุนัขที่พ่อแม่นำมาเลี้ยงข่วน แต่ไม่ได้ฉีด วัคซีนพิษสุนัขบ้า
“พิษสุนัขบ้า” ระบาดหนัก! พ่อแม่ รีบไป…
วัคซีนพิษสุนัขบ้า ใช้สิทธิประกันสังคมได้!
โรคพิษสุนัขบ้ากำลังระบาด จนกรมปศุสัตว์ต้องออกมาประกาศเขตโรคระบาด พิษสุนัขบ้าเป็นเขตพื้นที่สีแดงในหลายจังหวัด อันได้แก่
- ภาคเหนือ 3 จังหวัดเชียงราย ตาก และ น่าน
- ภาคกลางและตะวันออก 9 จังหวัด กทม. นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงครามฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง สระแก้ว และ ประจวบคีรีขันธ์
- ภาคอีสาน 8 จังหวัด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
- ส่วนภาคใต้ 2 จังหวัด ตรัง และ สงขลา
ขอบคุณภาพจาก : www.facebook.com/WorkpointNews
ซึ่งทาง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานควบคุมป้องกันบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ ได้สรุปสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในปี 2561 ช่วงวันที่ 1 ม.ค.- 8 มี.ค. พบการเกิดโรคในพื้นที่ 37 จังหวัด จำนวน 346 ตัวอย่าง จากตัวอย่างที่ส่งตรวจทั้งหมด 2,358 ตัวอย่าง คือร้อยละ 14.67 จังหวัดที่พบโรคมากที่สุด คือ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ยโสธร มหาสารคาม สงขลา กาฬสินธุ์ เชียงราย อำนาจเจริญ ชลบุรี ศรีสะเกษ เชียงราย
โดยชนิดสัตว์ที่พบมี 3 ชนิด เรียงลำดับจากที่พบมากไปหาน้อย คือ…..
- สุนัข ร้อยละ 33
- โค ร้อยละ 69
- และแมว ร้อยละ 02
ส่วนตัวอย่างที่พบเชื้อผลบวกสุนัขและแมว พบที่มีเจ้าของร้อยละ 30.64 ไม่มีเจ้าของร้อยละ 30.64 และไม่ทราบประวัติร้อยละ 7.23 และพบว่าสุนัข แมว ไม่ได้ฉีดวัคซีนร้อยละ 45.38
สำหรับข้อมูลการให้ วัคซีนพิษสุนัขบ้า ในสัตว์ ปี 2561 พบสัตว์มีเจ้าของฉีดวัคซีน ร้อยละ 50.20 และสัตว์ไม่มีเจ้าของฉีดวัคซีน ร้อยละ 13.50 ไม่ทราบประวัติ ร้อยละ 36.25
การฉีด วัคซีนพิษสุนัขบ้า
โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงมากในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด โดยพบว่าสุนัขและแมวที่ติดเชื้อเป็นพาหะนำโรคสู่คน ปัญหาที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า คือ เจ้าของไม่นำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกัน ปล่อยสัตว์เลี้ยงไปนอกบ้านเสี่ยงถูกกัดจากสัตว์ที่มีเชื้อ
ซึ่งเจ้าโรคพิษสุนัขบ้า สามารถติดต่อได้โดยตรงจากการถูกสัตว์ที่ติดเชื้อกัด ขวน หรือทำให้ได้รับเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อ โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า คือ ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคที่ถูกต้อง หลังจากถูกกัดหรือสัมผัสเชื้อ เพราะ
- ไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคพิษสุนัขบ้า
- เข้าใจว่าลูกสุนัขหรือลูกแมว และ/หรือสัตว์เลี้ยงตัวเล็กๆ ไม่สามารถเป็นพาหะโรคพิษสุนัขบ้าและที่สำคัญขาดความตระหนักถึงการป้องกันการติดเชื้อ จึงขอความร่วมมือเจ้าของรีบนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันให้เร็วที่สุด
เมื่อคุณพ่อคุณแม่ทราบถึงพิษภัยของโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว หากตนเองหรือลูกรัก ถูกสุนัข แมว หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที
วัคซีนพิษสุนัขบ้า ใช้สิทธิประกันสังคมได้!
และหากคุณพ่อคุณแม่เป็นผู้ประกันตน สิทธิประกันสังคมให้ความคุ้มครองสามารถเข้ารับการรักษาที่รพ.ตามสิทธิฯได้ด้วยโดยการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า เพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้านี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถไปใช้สิทธิประกันสังคมโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และในการเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มต่อไป ต้องไปฉีดที่รพ.ตามสิทธิ
ส่วนกรณีผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลเอกชน แบบเป็นผู้ป่วยนอก สามารถไปฉีด วัคซีนพิษสุนัขบ้า ใช้สิทธิประกันสังคมได้โดย สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ได้เท่าที่จ่ายจริง ไมเกินครั้งละ 2,000 บาท และจ่ายเพิ่มตามรายการการรักษาที่กำหนดตามหลักเกณฑ์
และหากไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่รพ.ตามสิทธิฯได้ โดยให้รีบเข้ารับการรักษาฉีดวัคซีนเข็มแรกที่สถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด แล้วนำใบเสร็จรับเงินที่สำรองจ่าย พร้อมใบรับรองแพทย์มายื่นเรื่องเบิกคืนที่สำนักงานประกันสังคม
วิธีการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า
วัคซีนนี้เป็นวัคซีนที่จะต้องฉีดภายใต้คำแนะนำของแพทย์ และต้องเข้ารับการฉีดโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งก่อนฉีดจะต้องอ่านเอกสารกำกับยาให้ชัดเจน เพื่อปริมาณการใช้ยาที่ถูกต้อง การฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า ทำได้ 2 แบบคือ….
- ฉีดเพื่อป้องกันก่อนได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้า ผู้ซึ่งสมควรได้รับวัคซีนนี้ได้แก่ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า ผู้ที่ต้องทำงานและอยู่ใกล้ชิดสัตว์ป่า ผู้ที่ทำงานในพื้นที่ปฏิบัติการที่ต้องสัมผัสเชื้อไวรัสดังกล่าว หรือผู้ที่มีความเสี่ยงจะได้รับเชื้อ เช่น บุรุษไปรษณีย์ สัตว์แพทย์ ครูฝึกสอนสัตว์เลี้ยง หรือผู้ดูแลสัตว์
- ฉีดเพื่อป้องกันเมื่อต้องสงสัยว่าอาจได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้า แพทย์จะพิจารณาให้รับวัคซีนนี้เมื่อถูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด หรือข่วน ซึ่งจะต้องได้รับวัคซีนเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
ก่อนฉีดควรสังเกตลักษณะหรือความผิดปกติของวัคซีนอย่างละเอียด หากตัววัคซีนมีสีและลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือบรรจุภัณฑ์แตกร้าวไม่ควรนำมาใช้ เพราะตัวยาอาจเสื่อมสภาพแล้ว การได้รับวัคซีนพิษสุนัขบ้าอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานกับเครื่องจักรเพื่อความปลอดภัย
วัคซีนพิษสุนัขบ้า ต้องฉีดภายในกี่วัน
ในการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า ผู้เข้ารับวัคซีนจะต้องได้รับวัคซีนอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์กำหนด และควรได้รับจนกว่าจะครบ สำหรับการฉีดวัคซีนหลังสัมผัสโรคในผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน
- โดยมากจะเป็นวัคซีนชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขน
- ฉีด 5 ครั้งในวันที่ 0 3 7 14 และ 30 (วันที่ 0 หมายถึงวันแรกที่ฉีด)
- ในกรณีนี้ถ้าหลังจากเกิดเหตุ 10 วันแต่สัตว์ยังปกติดีให้หยุดฉีดวัคซีนได้ เพราะสัตว์ที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าและอยู่ในระยะแพร่เชื้อจะแสดงอาการจนถึงตายภายใน 10 วัน และเท่ากับว่าเราได้รับวัคซีนแล้ว 3 ครั้ง ถือเป็นการฉีดป้องกันล่วงหน้า
- ส่วนเซรุ่มนั้นจะฉีดในวันแรกแค่ครั้งเดียวโดยฉีดรอบบาดแผลและฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
สำหรับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า เพื่อกระตุ้นผู้ที่สัมผัสกับโรคหรือเคยได้รับวัคซีนจนครบมาก่อนแล้ว ในกรณีที่ผู้ป่วยเคยได้รับวัคซีนแบบก่อนสัมผัสโรค หรือหลังสัมผัสโรคจนครบชุดแล้ว มีการสัมผัสกับโรคซ้ำ แพทย์จะฉีดวัคซีนให้ผู้ป่วยซ้ำ โดยยึดหลักดังต่อไปนี้
- สัมผัสโรคภายใน 6 เดือน หลังจากได้รับวัคซีนครั้งสุดท้ายฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 เข็ม ครั้งเดียว หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 1 จุด ปริมาณ 1 มิลลิลิตรครั้งเดียว
- สัมผัสโรคหลังจากได้รับวัคซีนครั้งสุดท้าย 6 เดือนขึ้นไปฉีด 2 ครั้ง โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 3 วัน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ทั้งนี้ในการฉีดเข้าใต้ผิวหนังให้ฉีดครั้งละ 1 จุดปริมาณ 1 มิลลิลิตร
ไปรับ วัคซีนพิษสุนัขบ้า ผิดนัด ต้องทำไง
ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับวัคซีนไม่ครบ ไปรับ วัคซีนพิษสุนัขบ้า ผิดนัด หรือไม่สามารถมาฉีดได้ตามกำหนด ควรแจ้งแพทย์โดยทันที ซึ่งหากคลาดจากกำหนดเดิมเพียง 2-3 วันก็สามารฉีดต่อไปโดยไม่ต้องเริ่มใหม่
เพราะประสิทธิภาพของวัคซีนอาจลดลงได้หากใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน อีกทั้งวัคซีนอาจไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อพิษสุนัขได้ 100% นอกจากนี้ส่วนประกอบของอัลบูมิน ที่อยู่ในวัคซีนอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อหรือโรคเกี่ยวกับประสาทส่วนกลางได้ แต่เป็นไปได้น้อยมาก
ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้วัคซีนดังกล่าว ไม่ว่าจะมีสุขภาพปกติ หรือมีปัญหาสุขภาพหรือไม่เพื่อความปลอดภัยจากอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
สำหรับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า ของ แม่ท้อง หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร หากจำเป็นต้องได้รับวัคซีนควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึงประโยชน์และโทษที่จะได้รับจากการฉีดวัคซีนนี้ เพราะตัวยาอาจปนไปในน้ำนม หรือถ่ายทอดจากแม่สู่ทารกในครรภ์ได้
อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!
- ลูกโดนหมากัด ต้องดูแล และ ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า กี่เข็ม?
- Kid safety รักน้องแมวรักน้องหม ต้องพาไปฉีด วัคซีนพิษสุนัขบ้า
- 6 โรคหน้าร้อน เตือนพ่อแม่เตรียมรับมือไว้ให้ดี!
- อยากท้อง แต่เลี้ยงน้องสุนัขได้ไหม?
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.fm91bkk.com , www.pobpad.com