AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกชอบอมมือ-เอามือเข้าปาก พรากชีวิตลูกได้จากโรคท้องเสียในเด็ก

ลูกชอบอมมือ

ลูกชอบอมมือ ทำอย่างไรดี? คำถามที่พบได้บ่อย ๆ กับเด็กเล็กวัย 0-24 เดือน แม้ว่าการอมมือ หรือเอามือเข้าปากจะช่วยเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ให้ลูกได้ แต่ก็นำเชื้อโรคมาให้ลูกได้เช่นกัน

ลูกชอบอมมือ-เอามือเข้าปาก พรากชีวิตลูกได้จากโรคท้องเสียในเด็ก

ท้องเสียในเด็กคืออะไร?

ท้องเสียในเด็ก เป็นกลไกการกำจัดเชื้อโรคออกจากร่างกาย พบว่าประมาณ 70% ในเด็กเล็กอายุไม่เกิน 1 ปี เกิดจากการได้รับเชื้อโรคเข้าไปในร่างกาย โดยจะดูที่ลักษณะและความถี่ของอุจจาระ  โดยใช้ลักษณะอุจจาระที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติเช่น เป็นเนื้อเหลวมีความถี่ 3 ครั้งขึ้นไป หรือเป็นมูกเลือด 1 ครั้ง หรือเป็นน้ำปริมาณมาก 1 ครั้งขึ้นไป ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง โดยคำจำกัดความนี้ ไม่รรวมถึงเด็กเล็กที่กินนมแม่ ซึ่งมักจะถ่ายบ่อยอยู่แล้ว แต่อุจจาระจะเป็นเนื้อดีและมีน้ำหนักตัวขึ้นได้ตามปกติ โดยทั่วไป อาการท้องเสียเฉียบพลันมักหายได้เอง แต่หากทารกท้องเสียต่อเนื่องเป็นเวลา 1-2 วัน ก็อาจทำให้ร่างกายเด็กสูญเสียของเหลวและเกลือแร่จำนวนมากจนอาจเกิดภาวะขาดน้ำตามมาได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของทารกได้

ลูกชอบอมมือ-เอามือเข้าปาก ต้นเหตุอาการท้องเสียในเด็ก

ในเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี พบว่าประมาณ 70% เกิดจากการได้รับเชื้อโรคเข้าไปในร่างกาย ซึ่งมักจะเข้าทางปากโดยการกินอาหารหรือดื่มนมซึ่งปนเปื้อนเชื้อโรค หรือการหยิบจับของเล่นเอาเข้าปาก หรือแม้กระทั่งมือของตัวเอง ซึ่งหยิบจับสิ่งของหรือคลานเล่นแล้วเอาเชื้อโรคเข้าปากตัวเอง เป็นต้น ดังนั้นโรคนี้จึงเป็นปัญหาที่พบในเด็กมากกว่าผุ้ใหญ่ เพราะเด็กมีโอกาสได้รับเชื้อโรคมากกว่า เพราะยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และไม่รู้จักวิธีป้องกันตนเอง รวมทั้งเด็กยังมีภูมิต้านทานโรคต่ำ แม้ว่าภูมิต้านทานโรคส่วนหนึ่งอาจจะได้รับมาจากการกินนมแม่และการได้รับวัคซีน และอีกส่วนหนึ่งที่ภูมิต้านทานโรคถูกสร้างขึ้นจากร่างกายของตนเองก็ตาม แต่สำหรับเชื้อไวรัสบางตัว เช่น ไวรัสโรตา ไวรัสอะดิโน ไวรัสโนโร ไวรัสไข้หวัดใหญ่ และเชื้อแบคทีเรียบางตัว เช่น ซาลโมเนลลา ชิเกลลา สแตฟิโลค็อกคัส แคมปีโลแบคเตอร์ อีโคไล เป็นเชื้อที่มักจะทำให้เกิดอาการรุนแรง ภูมิต้านทานก็ไม่สามารถที่จะป้องกันเชื้อเหล่านี้ได้

ลูกชอบเอามือเข้าปาก

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์ ?

ทารกที่ท้องเสียอาจมีอาการนานตั้งแต่ 5-14 วัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้ท้องเสีย ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องเฝ้าดูลูกน้อยอย่างใกล้ชิด หากทารกมีอายุต่ำกว่า 3 เดือน ควรพาเด็กไปพบแพทย์ รวมถึงในกรณีที่พบว่ามีอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ด้วย

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ ทำอย่างไรและป้องกันอย่างไรไม่ให้ทารกท้องเสีย?

ทำอย่างไรเมื่อทารกท้องเสีย?

อาการท้องเสีย เป็นกลไกการกำจัดเชื้อโรคออกจากร่างกาย ดังนั้น เมื่อเชื้อโรคถูกขับออกจากร่างกาย ก็จะทำให้ไม่สะสมจนเกิดปริมาณมากและดูดซึมเข้าระบบการไหลเวียนโลหิตของร่างกายจนเกิดปัญหาการติดเชื้อในกระแสเลือดตามมา จึงไม่ควรพยาายามให้ยาหยุดถ่าย เพราะอาจทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคและสารพิษ และกระจายเชื้อออกนอกลำไส้ได้ ควรให้ลูกทานสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ เพื่อทนแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ที่ออกจากร่างกาย หากลูกน้อยไม่มีอาการอาเจียนร่วมด้วย คุณแม่จะยังสามารถให้ทารกดื่มนมแม่หรือนมผงได้ตามปกติ แต่หากทารกอาเจียนและไม่สามารถดื่มนมได้ แพทย์อาจให้เด็กดื่มสารละลายอิเล็กโทรไลต์สำหรับทารก โดยการให้สารละลายน้ำตาลเกลือแร่กับทารก ควรใช้ช้อนตักป้อนทีละน้อย เพื่อช่วยลดปัญหาการอาเจียน การปฏิเสธการกิน และยังช่วยให้ดูดซึมได้ดีกว่าการให้ดูดจากขวด

สำหรับอาหารสำหรับเด็กท้องเสีย ในเด็กเล็กที่ทานนมแม่ สามารถให้ทานนมแม่หรือนมผสมต่อไปได้และควรให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้นกว่าปกติ สำหรับเด็กที่โตแล้ว ทานอาหารเป็นหลักแล้ว ควรให้ทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก เป็นต้น

ท้องเสียในเด็ก

วิธีป้องกันอาการท้องเสียในเด็ก

การที่ ลูกชอบอมมือ เป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งของทารก โดยสาเหตุที่ลูกเอามือเข้าปากเป็นเพราะ

จะเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้วสาเหตุที่ ลูกชอบอมมือ เป็นเพราะพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก ดังนั้น การจะไปห้ามไม่ให้ ลูกชอบอมมือ ก็ดูจะเป็นการไปปิดกั้นพัฒนาการของลูกมากจนเกินไป แต่จะทำอย่างไรที่จะป้องกันไม่ให้ลูกท้องเสียจากการอมมือหรือเอาของเข้าปาก? ทีมงานจึงขอนำข้อมูลจาก นายแพทย์วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ที่ได้กล่าวไว้ว่า วิธีป้องกันท้องเสียที่ดีที่สุดคือ การรักษาความสะอาดเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าปากเด็ก โดยควรปฏิบัติ ดังนี้

นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นทำความสะอาดของเล่น ของใช้ ต่าง ๆ ที่ลูกอาจจะหยิบจับเอาเข้าปากได้ เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อาจเข้าสู่ร่างกายของลูกได้ เพราะสิ่งเหล่านี้ หากทำเป็นประจำ นอกจากจะช่วยป้องกันโรคท้องเสียในเด็กได้ ยังสามารถป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น โรคมือ เท้า ปาก โรคไข้หวัดต่าง ๆ เป็นต้น

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เด็กท้องเสีย อาเจียน เพราะโนโรไวรัสระบาด

เสียหลานชายวัย 1 ขวบ เพราะ โรต้าไวรัส

ระวัง! ลูกอาเจียน เสี่ยงเป็น 6 โรคร้าย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, Pobpad, นมพ่อแบบเฮฟวี่

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Summary
Review Date
Reviewed Item
ลูกชอบอมมือ
Author Rating
5