AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ระวัง! ลูกจ้องจอนาน เสี่ยง สายตาสั้นเทียม ตัดแว่นได้ไม่ตรงค่าสายตา

พ่อแม่ระวังให้ดี ปล่อยให้ลูกเล่นแท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน เสี่ยงลูกเกิดภาวะ “ตาเพ่งค้าง” ก่อ สายตาสั้นเทียม ด้านจักษุแพทย์เตือน หากพาไปตัดแว่นที่ร้านระวังได้แว่นที่ไม่ตรงค่าสายตา

ในเด็กไทย และเด็กชาวเอเชีย พบว่ามีอุบัติการณ์สายตาสั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก และรวดเร็ว จากการศึกษาพบว่า สายตาสั้นนั้นจะพบน้อยในเด็กที่ใช้ชีวิตอยู่นอกบ้าน หรือนอกห้องเรียน เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่อยู่ในบ้านบ่อยกว่า ส่วนหนึ่งเชื่อว่าการที่มองระยะใกล้นานๆ น่าจะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการสายตาสั้นได้

ทั้งนี้อาการสายตาสั้นในเด็กต้องระวังว่า อาจเป็นสายตาสั้นเทียมได้ เนื่องจากในเด็กชอบการเพ่งมอง การเพ่งมองนั้นจะทำให้การวัดสายตาออกมาเป็นสายตาสั้นมากกว่าความเป็นจริงหรือที่เรียกว่า “สายตาสั้นเทียม” นั่นเอง

สายตาสั้นในเด็กถือว่าเป็นความผิดปกติทั้งหมด เด็กที่มีสายตาสั้นมักมาด้วยอาการมองไม่เห็นที่ไกล ต้องเดินไปดูใกล้ๆ หรืออาการหยีตาเวลาที่ต้องการจ้องมองวัตถุไกล

ลูกจ้องจอนาน เสี่ยง สายตาสั้นเทียม
ตัดแว่นได้ไม่ตรงค่าสายตา

ส่วนสายตาสั้นเทียม ในเด็ก รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า การใช้มือถือสมาร์ทโฟนของเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี จะมีลักษณะการใช้สายตาในการเพ่งมองใกล้มากกว่าการใช้คอมพิวเตอร์ จนเกิดภาวะที่เรียกว่า “ตาเพ่งค้าง” อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว ตาพร่าได้ หรือที่เรียกว่า สายตาสั้นเทียม ชั่วคราว ซึ่งขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและภาวะของแต่ละคนด้วย

อาการของสายตาสั้นเทียม

ตาสั้นเทียมอาจจะมีอาการเล็กน้อยไปจนถึงมีอาการมาก อาการที่พบบ่อยคือ

อ่านต่อ >> ลูกจ้องจอนาน เสี่ยงสายตาสั้นเทียม ตัดแว่นได้ไม่ตรงค่าสายตา” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือพ่อแม่มักพาเด็กกลุ่มนี้ไปตัดแว่นที่ร้านแว่นต่างๆ เพราะเข้าใจว่าลูกสายตาสั้น แต่จริงๆ แล้วอาจไม่ใช่ ซึ่งสายตาสั้นเทียมบางรายเกิดแค่ไม่กี่นาทีก็หาย บางคนเป็นวัน ทำให้เมื่อสวมใส่แว่นตาแล้วสุดท้ายมีอาการปวดสายตาและส่งผลเสียต่อตาในที่สุด

โดยการตรวจรักษาตาในเด็กของ รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ซึ่งมีกว่า 500 คนต่อเดือน พบว่า…

อาการตาพร่ามัว ที่พ่อแม่เข้าใจว่าลูกสายตาสั้นจากการเล่นเกมนั้น ร้อยละ 50 เป็น “สายตาสั้นเทียม” โดยวิธีในการตรวจว่าเป็นสายตาสั้นเทียมหรือไม่ จะตรวจสายตาตามปกติก่อน ซึ่งมักจะได้ค่าสายตามากกว่าปกติ จากนั้นจะหยอดยาลดการเพ่ง เพื่อปรับสายตาให้คงที่ แล้วจึงวัดค่าสายตาว่าจริงๆ แล้วสายตาเด็กยังปกติอยู่หรือไม่ เป็นเพียงสายตาสั้นเทียม หรือว่าสายตาสั้นเท่าไร เป็นต้น

สายตาสั้นเทียม เสี่ยงตัดแว่นได้ไม่ตรงค่าสายตา

ทั้งนี้หากเป็นร้านแว่นจะตรวจละเอียดเช่นนี้ไม่ได้ว่า เป็นสายตาสั้นเทียมหรือไม่ …เพราะไม่สามารถหยอดยาดังกล่าวได้ เนื่องจากผิดกฎหมายการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สุดท้ายหากพ่อแม่พาไปตรวจที่ร้านแว่นลูกก็จะได้แว่นสายตาที่ไม่ตรงกับค่าสายตาจริงๆ ดังนั้น การตรวจจึงควรมาพบแพทย์มากกว่า

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในหลายประเทศ พบว่าในกลุ่มเด็กที่มีการใช้สายตาในระยะใกล้ หรือเล่นสมาร์ทโฟนก็มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะสายตาสั้นจริงสูงขึ้นกว่าสมัยก่อน เช่นเดียวกับในประเทศไทยเมื่อหลายสิบปีก่อนที่ได้สำรวจค่าสายตาของเด็กนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาพบเด็กสายตาผิดปกติประมาณร้อยละ 5-8 เท่านั้น

แต่จากการสำรวจล่าสุด ในกลุ่มเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี พบมีปัญหาสายตาสั้นเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10-15 เยอะขึ้นประมาณเท่าตัว ซึ่งสอดคล้องกับประเทศที่มีการใช้สมาร์ทโฟนอย่างแพร่หลาย เช่น เกาหลี ไต้หวัน และฮ่องกง ที่มีเด็กสายตาผิดปกติกว่าร้อยละ 40-50

แต่หากสงสัยว่าเด็กจะมีปัญหาด้านสายตา เช่น มองกระดานไม่ชัด หรือมองทีวีใกล้ ๆ และเป็นในเด็กอายุน้อยกว่า 13 ปี ให้พาไปพบจักษุแพทย์ ไม่แนะนำให้ไปร้านแว่นเพราะเด็กอาจจะมีภาวะสายตาสั้นจริงปนอยู่กับสายตาสั้นเทียมก็ได้ หรืออาจจะเป็นสายตาสั้นเทียมล้วน ๆ เลยก็ได้ การพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดให้ค่าที่แม่นยำจะดีกว่า

ลักษณะของสายตาสั้นชั่วคราว

ด้าน นพ.ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข ประธานราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า…

การเพ่งมองสมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ต้องพิจารณาว่าใช้งานมากน้อยแค่ไหน อย่างการเพ่งมองสมาร์ทโฟน หรืออ่านหนังสือเตรียมสอบของนักเรียน ส่วนใหญ่จะส่งผลกระทบกับสายตา คือ สายตาสั้นชั่วคราว แต่เมื่อออกจากการใช้สายตาลักษณะดังกล่าวก็จะกลับมาเหมือนเดิม

แต่กรณีที่ใช้สายตาแบบนั้นนานๆ หลายชั่วโมงกินเวลาเป็นปีๆ ก็มีโอกาสสายตาสั้นถาวรได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อตาโดยปกติจะมีการปรับการมองเห็นใกล้และไกลอย่างอัตโนมัติ แต่หากมองอะไรเป็นเวลานานๆ ก็จะทำให้ระบบกล้ามเนื้อตาดังกล่าวไม่ทำงานอัตโนมัติอีก ซึ่งปกติระบบกล้ามเนื้อตาจะเสื่อมลงตามอายุ แต่หากใช้โทรศัพท์ หรือจ้องมองอะไร หรือใช้งานสายตามากๆเป็นเวลานานติดต่อกันย่อมทำให้เสื่อมเร็ว และมีโอกาสสายตาสั้นถาวร

อ่านต่อ >> การแก้ปัญหาเมื่อลูกสายตาสั้นเทียม” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

สายตาสั้นเทียม แก้โดยการออกกำลังกายตา ได้จริงหรือ?

สำหรับความเข้าใจผิดที่ว่าสามารถแก้ไขปัญหาสายตาสั้นเทียมได้โดยการออกกำลังกายตา เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ด้วยการเพ่งมองปลายนิ้วแล้วขยับเข้าออก ฯลฯ นั้น รศ.นพ.ศักดิ์ชัย อธิบายว่า… วิธีดังกล่าวไม่สามารถช่วยแก้ไขอาการสายตาสั้นเทียมได้แต่อย่างใด

การแก้ปัญหาสายตาสั้นเทียม

ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาสายตาสั้นเทียมและเพื่อไม่ให้เป็นการกีดกันการเรียนรู้ของเด็ก แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องกำหนดระยะเวลาการเล่นสมาร์ทโฟนในระยะเวลาที่เหมาะสม คือ “การพักการใช้สายตา” อย่างการใช้สายตาทุกๆ 30-45 นาที ควรหยุดพักการใช้สายตาประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้ตาคลายภาวะการเพ่ง ไม่ให้เกิดอาการเพ่งค้าง

การรักษาดูแลและป้องกันตาสั้นเทียม

แนวทางการรักษาการดูแลตนเองและการป้องกันตาสั้นเทียมได้แก่

อย่างไรก็ตามปัญหาจากการใช้สมาร์ทโฟนนั้นถือว่าหนักมากกว่าสมัยที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก เพราะคอมพิวเตอร์วางห่างจากสายตาอย่างน้อย 2 ฟุต แต่สมาร์ทโฟนอยู่ติดกับตาในระยะห่างประมาณ 15 เซนติเมตรเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเกิดการเพ่งรุนแรงกว่าและเป็นปัญหาที่เจอเยอะขึ้นเรื่อย ๆ

และไม่เพียงแต่เด็กเท่านั้น ปัจจุบันวัยรุ่น วันทำงาน กระทั่งวัยชรา ต่างมีอัตราการใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณ ซึ่งว่างจากการทำงานและมักหันมาใช้โซเซียลเน็ตเวิร์กในการพูดคุยกับเพื่อนฝูง ควรใช้สมาร์ทโฟนอย่างพอดี พักสายตาบ้าง เนื่องจากการมองหน้าจอนานๆ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ “ตา” ซึ่งถือเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญของร่างกายเลยทีเดียว ดังนั้นเมื่อเลี่ยงไม่ได้เพราะเป็นยุคแห่งการใช้เทคโนโลยี แต่ก็ต้องมีเส้นแบ่งของความพอดีเอาไว้ด้วย

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.manager.co.th และ เรื่อง ตาสั้นเทียม (Pseudomyopia) โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต วว. จักษุวิทยา >> haamor.com