AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

จะรู้ได้อย่างไร ลูกแพ้อาหาร พบ 8 วิธี! ป้องกันลูกแพ้อาหาร

อุ้ม ลักขณา เล่าประสบการณ์สุดระทึก หลังยกครอบครัวไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น และเกิดเหตุไม่คาดฝันกับ น้องดิสนีย์ ลูกสาววัย 7 เดือน เกิดอาการแพ้อาหารอย่างหนัก จนต้องส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลเป็นการด่วน

การแพ้อาหารในเด็กน่ากลัวมาก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรรู้ถึง วิธีรับมือ และ ป้องกันลูกแพ้อาหาร เพื่อไม่ให้อาการแพ้ของลูกเป็นหนักจนยากเกินแก้ไข

พ่อแม่จะ ป้องกันลูกแพ้อาหาร ได้อย่างไร?

โรคภูมิแพ้อาหารในเด็ก สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่แรกเกิด โดยเด็กทุกคนมีโอกาสที่จะแพ้อาหารได้ทุกชนิด แต่ขึ้นอยู่กับว่าได้รับเมื่อไหร่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหลังจากที่ได้กินอาหารเสริมตามวัยแล้ว นั้นคือประมาณ 6 เดือนขึ้นไป หรือเด็กบางคนอาจจะแพ้อาหารผ่านน้ำนมแม่ก็ได้

Must read : วิธีรับมือสำหรับแม่ให้นม เมื่อลูกกลายเป็น เด็กแพ้อาหาร

ซึ่งก็เช่นเดียวกับ “น้องดิสนีย์” ลูกสาวสุดน่ารักของแม่อุ้ม ลักขณา ที่จู่ๆ ก็แพ้อาหารเสริมเด็กสำเร็จรูป ที่คุณแม่อุ้มได้ป้อนให้น้องดิสนีย์กิน แต่น้องก็ดันแพ้อาหารนั้นอย่างหนักถึงขั้นต้องนำส่งโรงพยาบาลด่วนกันเลยทีเดียว เรียกได้ว่าทำเอาหัวอกคนเป็นใจแทบขาด

โดยคุณแม่อุ้ม ได้เล่าประสบการณ์สุดระทึกนี้ผ่าน Instagram @lukkanaaum หลังยกครอบครัวไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น และเกิดเหตุไม่คาดคิดกับน้องดิสนีย์ ลูกสาววัย 7 เดือน ว่า… 

“วันที่ 2 พ.ย.ที่ญี่ปุ่น แม่กำลังป้อนอาหารเสริมแบบสำเร็จรูปที่ซื้อที่ญี่ปุ่นซึ่งดูจากรูปส่วนผสมข้างขวดมีแครอท ไก่ ฟักทอง ปกติดิสนีย์กินได้ไม่แพ้ก็เลยป้อนน้องปกติ หลังจากกินได้สัก 5-6 คำเริ่มเห็นผื่นขึ้นรอบปากแม่ก็หยุดป้อน และน้องเริ่มเกาตรงคอสักพักคอแดงเป็นลมพิษเห่อขึ้นมาแม่รีบทายาให้ทันที ก็ยังไม่หายน้องเริ่มร้องมากขึ้น ลมพิษเริ่มลามที่หน้า หู มือ เท้า ขา ตัว ทั่วไปหมดจนน้องตัวแดงและร้อน แม่จึงป้อนยาแก้แพ้ที่พกไปด้วย น้องร้องหนักมากจนเหนื่อยและเริ่มหลับไป สักพักน้องไม่เกาและลมพิษเริ่มจางลงแต่หน้าและทุกอย่างยังแดง

แต่ที่ผิดสังเกตคือปากเริ่มม่วงแม่จึงรีบให้ทางรร.โทรติดต่อรพ.ที่เป็นInternationalเพราะต้องสื่อสารภาษาอังกฤษ และ รพ.ที่ใกล้รร. ที่สุดก็ดันปิด รพ.ที่ญี่ปุ่นเค้ามีหยุด ส.-อ.ด้วย ทางรร.รีบโทรติดต่อรพ.และแจ้งว่าเป็นฉุกเฉินและเรียกTaxiให้ จากชินจูกุไปที่รพ.ประมาน 40 นาที(นี่ขนาดใกล้แล้ว) พอไปถึงได้พบคุณหมอก็ตรวจดูพบว่าในอาหารนั้นมีส่วนผสมของนมวัวและแป้งสาลี ซึ่งไม่ได้มีรูปอยู่ในฉลากและข้างขวดเป็นภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด

คุณหมอจึงบอกน้องอาจจะแพ้ตัวใดตัวนึงในนี้ โชคดีที่น้องไม่ได้เป็นทางระบบหายใจเป็นทางผิวหนัง คุณหมอจึงสั่งยาแก้แพ้ให้กิน ยาของญี่ปุ่นเป็นผงๆผสมกับน้ำแล้วกิน คือ ขมมากๆๆๆๆ(พี่บอลลองชิม) ขมชนิดที่ผู้ใหญ่ยังไม่ไหว แต่ดิสนีย์ต้องโดนป้อน กินไปก็ร้องไปจะอ้วกไป แม่นี่ร้องไห้อยู่ในหัวใจสงสารลูกแทบขาดใจ แต่ต้องมีสติมากๆ ทุกๆวินาที เพื่อดูแลลูก

พอกินยาปุ๊ปดีขึ้นทันที ดิสนีย์คนเดิมก็กลับมายิ้มได้อีกครั้ง เป็นประสบการณ์ที่แม่ไม่ลืมเลย เวลาลูกไม่สบายน่าสงสารที่สุดเลย กลับมาแม่คงต้องเทสว่าลูกแพ้อะไร และคอยระวังให้มากกว่านี้ ค่ารักษาพยาบาล15,000 บ.เลยกะยา 2 ซอง ดีที่ทำประกันการเดินทางและสุขภาพของดิสเอาไว้ ด้วย คุณแม่ที่มีแพลนจะพาลูกไปเที่ยวตปท.เตรียมการณ์ไว้ให้ดีด้วยนะคะ ด้วยรักและห่วงใยจ๊ะ”

อาหารที่พบว่าทำให้ เด็กมีการแพ้

ทั้งนี้การจะ ป้องกันลูกแพ้อาหาร คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ก่อนว่าอาหารชนิดบ้างที่ทำให้ลูกเกิดอาการแพ้ได้ ซึ่งอาหารที่พบมีรายงานว่าทำให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อย คือ ไข่ นม ถั่วลิสง ถั่ว (Tree nuts) ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ส่วนอาหารอื่นๆได้แก่ งา เมล็ดพืช อาหารทะเล เนื้อสัตว์ และผลไม้

 

อ่านต่อ >> “วิธีรับมือและการปกป้องลูกจากการแพ้อาหาร” คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ลูกแพ้อาหาร  มีอาการอย่างไร ?

อาการของการแพ้อาหารในเด็ก สามารถเกิดขึ้นได้ทุกระบบของร่างกาย ซึ่งที่พบบ่อย คือ อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คันปาก อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ส่วนที่ 2 คืออาการทางผิวหนัง เช่น ผื่นคัน ลมพิษ  และอาการทางระบบหายใจ คือ จาม มีน้ำมูก ไอ หอบ และแน่นหน้าอก ในบางรายอาการแพ้อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

8 วิธี ป้องกันลูกแพ้อาหาร

เพราะการแพ้อาหารไม่ใช่เรื่องล้อเล่น และมีหลายคนที่ยังไม่เข้าใจถึงอันตรายจากการแพ้อาหาร ซึ่ง ดังนั้นเพื่อ ป้องกันลูกแพ้อาหาร หรือ อันตรายจากการกินอาหารที่อาจก่อให้เกิดการแพ้ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งพ่อแม่สามารถทำได้ดังนี้

1. ต้องให้ลูกกินนมแม่อย่างน้อย 4-6 เดือนขึ้นไป ซึ่งนอกจากนมแม่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกได้แล้ว ยังสามารถป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้ได้อีกด้วย

2. สำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูก ควรงดอาหารที่เป็นสาเหตุของการแพ้บ่อยๆ เช่น ไข่ นมวัว อาหารทะเล ถั่วลิสงในช่วงระยะที่ให้นม

3. การให้อาหารเสริมกับลูก ควรเริ่มเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป และต้องค่อยๆ ให้ลูกเริ่มทีละอย่าง เช่น กินไข่แดงก่อนไข่ขาว เพราะไข่ขาวมีโปรตีนสูง อาจทำให้ลูกแพ้ได้ หรือควรกินปลาน้ำจืดก่อนปลาทะเล เป็นต้น

4. เลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดการแพ้ โดยเฉพาะช่วงที่ตั้งครรภ์ คุณแม่ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ หลากหลาย เลี่ยงการโด๊ป หรือกินอาหารซ้ำๆ โดยเฉพาะอาหารที่มีโอกาสทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ง่ายมากเกินไป เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม นมวัว ไข่ อาหารทะเล ถั่วลิสง ช็อกโกแลต และแป้งสาลี เป็นต้น เพราะอาหารเหล่านี้อาจทำให้ลูกได้สัมผัสกับสิ่งก่อภูมิแพ้เร็วเกินไป

Must read : เตือนจากแม่ถึงแม่!! ลูกแพ้อาหาร เพราะแม่ท้องโด๊ปอาหารกลุ่มเสี่ยงมากเกินไป

5. อ่านฉลากอาหารให้ดี และควรหลีกเลี่ยงขนม อาหารเสริม หรืออาหารนอกบ้านหากไม่แน่ใจในวัตถุดิบที่ใช้ปรุง

6. ทำข้าวให้ลูกกินเอง เพราะคุณแม่จะรู้ดีว่าลูกแพ้อะไร และสามารถกินอะไรได้บ้าง ซึ่งหากจำเป็นจะต้องเินทางไปไหนมาไหน คุณแม่ก็ควรจะทำอาหารเตรียมพร้อมไปไว้ให้ลูกด้วย

Must read : 7 เมนูอาหารและขนม สำหรับเด็กแพ้อาหาร

7. หากลูกโตจนเข้าเรียนแล้ว ให้แจ้งคุณครูที่โรงเรียน พร้อมแนบเอกสารทางการแพทย์ยืนยันว่าลูกแพ้อาหารอะไรบ้าง เพื่อให้ช่วยสอดส่องดูแลให้ หรืออาจจะต้องปักรายการอาหารที่ลูกแพ้ไว้ที่ผ้ากันเปื้อนหรือกระเป๋าด้วยก็เป็นอีกทางที่ช่วย ป้องกันลูกแพ้อาหาร ได้

8. พาลูกไปทำสกินเทสต์ SkinTest หรือ การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง เป็นอีกหนึ่งวิธี ป้องกันลูกแพ้อาหาร เพราะจะช่วยในการหาชนิดของอาหารที่เป็นสาเหตุของการแพ้ด้วยโดยทั่วไปสามารถทดสอบได้ทุกเพศทุกวัยแต่ในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน (อ่านเพิ่มเติม ข้อสรุปสำหรับพ่อแม่ เรื่องการแพ้อาหารในเด็ก คลิก!!) ทั้งนี้การทดสอบอาการแพ้ทางผิวหนังประกอบด้วย การทดสอบ 3 ประเภท ดังนี้

แพทย์จะใช้สารก่อภูมิแพ้ที่เลือกไว้ ทาลงบนผิวหนัง แล้วมีการสะกิดเอาผิวหนังออก เพื่อให้สารเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกาย วิธีนี้เป็นการตรวจที่รวดเร็ว  ใช้เวลาประมาณ 20 นาที หากพบว่าผิวหนังเกิดผื่นแดง และมีอาการคัน หมายความว่า ผู้เข้ารับการตรวจมีอาการแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดนั้น

ในการทดสอบประเภทนี้ สารก่อภูมิแพ้จะถูกฉีดเข้าผิวหนัง การทดสอบประเภทนี้ เป็นการทดสอบที่ละเอียดอ่อนกว่า การทดสอบโดยการสะกิดผิว แต่เหมาะกับผู้ที่ไม่เกิดอาการแพ้ ต่อสารก่อภูมิแพ้ที่เลือกฉีดเข้าไป

การทดสอบประเภทนี้ มักใช้สำหรับอาการภูมิแพ้สัมผัสที่บริเวณผิวหนัง โดยบริเวณที่ถูกทดสอบจะได้รับการตรวจ 2-3 วันหลังจากมีการใช้แผ่นปิดผิว หรือประมาณ 24 – 72 ชั่วโมง อาการที่แสดงว่าแพ้ คือผิวบริเวณนั้นจะแดงหรือมีตุ่มขึ้น

ทั้งนี้การรักษา หรือ ป้องกันลูกแพ้อาหาร ที่ดีที่สุดและได้ผล คือการหลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่แพ้ โดยต้องงดอาหารทุกชนิดที่มีส่วนประกอบของสารอาหารที่แพ้ เช่น แพ้นมวัว ก็งดอาหารที่มีนมเป็นส่วนประกอบอย่างไอศครีม หรือคุ้กกี้ และให้กินนมถั่วเหลืองหรือนมสูตรพิเศษสำหรับผู้ที่แพ้นมวัวแทน ส่วนการรักษาด้วยยา เป็นการรักษาตามอาการ เช่น ยารักษาอาการผื่นคัน ยาลดน้ำมูก ยาแก้อาการหอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น

 

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก : 


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.vejthani.comwww.vibhavadi.comwww.sanook.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids