AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เตือนภัย! ยาชุดแก้ปวดเมื่อย ไม่ช่วยให้หาย…แถมเสี่ยงตายไม่รู้ตัว

การกิน ยาชุดคลายกล้ามเนื้อ หรือ ยาชุดแก้ปวดเมื่อย นอกจากจะไม่ทำให้หายแล้ว ยังทำให้อาการแย่ลง เพราะมีโอกาสที่ผู้กินจะได้รับอันตรายจากสารพิษของยาเพิ่มขึ้น เสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้อีกด้วย

ยาชุด หรือ หมายถึง ยาที่ผู้ขายจัดไว้เป็นชุด ซึ่งมักจะมีขายตามร้ายขายของชำที่อยู่ตามชนบท โดยทั่วไปจะมียาตั้งแต่ 3-5 เม็ดขึ้นไป มีรูปแบบและสีต่างๆ กัน ในยา 1 ชุด จะประกอบด้วยยาหลายๆ ชนิดรวมกัน ผู้ขายจะให้ผู้ซื้อทานครั้งละ 1 ชุด โดยไม่มีการแบ่งว่าเป็นยาชนิดใด ควรทานเวลาใด และผู้ขายมักเป็นผู้ไม่มีความรู้เรื่องโรค อาการของโรค ยาและการใช้ยา จึงมีความเสี่ยงอย่างมากที่ผู้ซื้อยาไปกิน อาจเสี่ยงอันตรายได้รับสารพิษของยาเพิ่มขึ้น เสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้

เตือนภัย! พ่อแม่ กิน ยาชุดแก้ปวดเมื่อย
ไม่ช่วยให้หาย แถมเสี่ยงตายไม่รู้ตัว!

ซึ่งอันตรายของเจ้า ยาชุดคลายกล้ามเนื้อ นี้ ก็ดันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ตัวผู้เขียนเป็นอย่างมาก จึงอยากจะขอนำมาเป็นอุทาหรณ์เพื่อเตือนภัยคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายให้ระมัดระวังในการซื้อยามารับประทาน โดยเรื่องราวมีอยู่ว่า…

คุณป้าวัย 65 ปี จู่ๆ ก็มีอาการปวดเมื่อย พอนวดเสร็จ ก็ได้กินยาคลายเส้น ที่ซื้อมาจากร้ายขายาแถวบ้านที่ต่างจังหวัด ซึ่งลักษณะของยา เป็นยาชุด 4 เม็ด ซองดูเก่าๆ แล้ว

เมื่อกินเข้าไปคุณป้าก็บอกว่า ช่วยคลายปวดได้ ซึ่งคุณป้ากินยาไปตอนบ่าย 3 แต่หลังจากนั้น เวลาใกล้ หกโมงเย็น ก็มีสายด่วนจากป้าอีกคนโทรมา บอกว่าคุณป้าที่กินยาคลายกล้ามเนื้อไปนั้นเข้าห้องฉุกเฉินที่โรงพยาบาล ซึ่งคุณหมอบอกพอได้ความสั้นๆ ว่า มีอาการแพ้รุนแรง

โดยอาการของคุณป้าเมื่อไปถึง รพ. คือ ท้องเสีย ตัวสั่น พูดไม่รู้เรื่อง ตาเบลอ และยังบอกอีกว่าเหมือนมองไม่ชัด หายใจไม่ออก คุณหมอจึงต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้น้ำเกลือ และฉีดยา โดยคุณหมอยังบอกอีกว่าถ้ามาช้า 5-10 นาที อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

ทั้งนี้เบื้องต้นคุณหมอคาดว่าน่าจะแพ้ ยาชุดคลายกล้ามเนื้อ ตัวนี้ แต่เพื่อความแน่ใจต้อหายาชุดนี้ไปตรวจอีกครั้ง ซึ่งคุณหมอบอกว่าต้องหาให้ได้ว่าใน 4 เม็ดนี้ แพ้ตัวไหนกันแน่

…อันตรายของ ยาชุดคลายกล้ามเนื้อ ที่พ่อแม่ควรรู้!..

สำหรับ ยาชุดคลายกล้ามเนื้อ หรือ ยาชุดแก้ปวดเมื่อย เป็นการรวมตัวกันของยาหลากหลายหลายชนิด หลากหลายสีสันหลายรูปทรงและขนาด บรรจุอยู่ในซองยาใสๆ มีขายตามร้านขายของชำหรือแม้แต่ร้านขายยาบางร้าน

โดยมักจะมีการโฆษณาสรรพคุณเว่อวังอลังการว่าสามารถรักษาได้ทั้ง แก้ปวดเมื่อย การอักเสบตามจุดต่างๆ และยังรักษา อาการเป็นหวัด มีไข้ น้ำมูกไหล ไอ หอบหืดและอีกร้อยแปดพันกว่าสรรพคุณอื่นๆ

ซึ่งก็มีคุณพ่อคุณแม่หลายคนที่อยู่ต่างจังหวัด ห่างใกล้ คลินิก โรงพยาบาล ได้เลือกซื้อยาชุดแก้ปวดเมื่อยนี้มากิน เพราะ มันมีราคาถูกและเชื่อว่ามันสามารถรักษาอาการป่วยได้มากกว่ายาชนิดอื่นๆ …แต่คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่า ยาชุดมรณะ นี้ถ้ารับประทานเข้าไปแบบไม่ระวัง สุขภาพของคุณอาจจะเสี่ยงพังได้แบบไม่รู้ตัว! เหมือนกับเหตุการณ์ที่ผู้เขียนเจอมา

ประเภทของยาชุด

ยาชุดสด = ผู้ขายจะจัดยาให้เป็นชุดด้วยวิธีการซักถามอาการจากผู้ซื้อ โดยผู้ขายมักเป็นผู้ไม่มีความรู้เรื่องโรค อาการของโรค ยาและการใช้ยา
ยาชุดแห้ง = เป็นยาชุดที่จัดบรรจุไว้ในซองพลาสติก มีการพิมพ์ฉลากบรรยายสรรพคุณของยา โดยสรรพคุณที่บรรยายไว้มักโอ้อวดเกินความจริง เพื่อให้ผู้ซื้อเกิดความสนใจ เช่น

ยาแก้ผิดสำแลง สรรพคุณ : แก้กันของผิดสำแลง ปวดศีรษะ ตามืดตามัว ลิ้นกระด้าง คางแข็ง จุกเสียด แน่นท้อง ปวดท้อง ปวดหลัง ปวดเอว เบื่ออาหาร สะบัดร้อนสะบัดหนาว

ยาชุดแก้ปวดเมื่อยนั้น มักจะเป็นการนำยาแก้ปวดหลายๆชนิดที่ใช้รักษาในอาการต่างๆมารวมตัวกัน โดยยาแก้ปวดส่วนใหญ่ในยาชุดนั้นมักจะประกอบด้วย NSAIDs หรือ ยาต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs) โดยยาที่เรารู้จักกันดีที่สุดน่าจะเป็น แอสไพริน นั่นเอง

ยากลุ่มนี้จะใช้รักษาอาการปวดที่เกิดจากการอักเสบ เช่น

NSAIDs หรือ เอ็นเสด คือ…

เป็นกลุ่มยาที่ถูกนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อและเอ็นอักเสบ ข้ออักเสบ ปวดประจำเดือน ปวดศีรษะ และ ไมเกรน ปวดฟัน ปวดหลังทำการผ่าตัด และอาการปวดอื่นๆ โดยจะออกฤทธิ์ไปยับยั้งกระบวนการสร้างสารสื่อกลางการอักเสบ

โดยเอ็นเสดนั้นจะไปยับยั้งเอนไซม์ “ไซโคลออกซีจีเนส (cyclooxygenase)” ที่มีส่วนในการสร้างสาร “พรอสตาแกลนดิน (prostaglandin)” ที่ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น ควบคุมปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงไต สร้างเมือกและด่างเพื่อปกป้องกระเพาะอาหาร

อันตรายจากการกินยาชุด

คำแนะนำในการซื้อยา

อย่างไรก็ดี ยารักษาโรคต่างๆ ถึงแม้จะมีประโยชน์มากมายมหาศาล แต่ถ้าใช้ยาไม่ถูกวิธีก็อาจจะเป็นพิษร้ายแรงต่อตัวเราเองได้ สิ่งสำคัญคือ การใช้ยาทุกครั้งควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง และควรศึกษาวิธีการใช้ยาและสรรพคุณของยาให้ละเอียด และเลือกซื้อยาจากสถานที่ที่ได้รับการรับรองเท่านั้นเพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณเองนะคะ

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : เอกสารเผยแพร่ กองเผยแพร่และควบคุมการโฆษณา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,

finance.rabbit.co.th , elib.fda.moph.go.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids