AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ฝุ่นละออง PM2.5 เด็กต่ำกว่า 5 ขวบสูด เสี่ยงสมองช้า สมาธิสั้น

ฝุ่น PM2.5 อันตรายต่อเด็กเล็ก

ฝุ่นละออง PM2.5 ที่เกินค่ามาตรฐาน สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพกับคนทุกเพศ ทุกวัย ที่สูดดมเข้าไป แต่ในเด็กเล็กที่อยู่ช่วงวัยที่ระบบทางเดินหายใจ และระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่เต็มที่ ฝุ่นละออง PM2.5 กลับทำอันตรายต่อสุขภาพได้มากกว่าผู้ใหญ่!!

ฝุ่นละออง PM2.5 เด็กต่ำกว่า 5 ขวบสูดเสี่ยงสมองช้า สมาธิสั้น

หลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล กำลังเผชิญปัญหามลพิษในอากาศ เนื่องจากฝุ่นละออง PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน ที่สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพกับคนทุกเพศ ทุกวัย ที่สูดดมเข้าไป แต่ในเด็กเล็กที่อยู่ช่วงวัยที่ระบบทางเดินหายใจ และระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้ฝุ่นละอองหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปถึงปอดส่วนลึกได้โดยตรง เร็ว และง่ายกว่าผู้ใหญ่ พญ.ปองทอง ปูรานิธี ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ รพ. รามาธิบดี ได้เปิดเผยถึงข้อมูลผลกระทบของฝุ่น PM 2.5 ที่มีผลต่อเด็กเล็ก ที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี หรือนักเรียนชั้นอนุบาล ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษ ดังนี้

  1. แสบตา แสบจมูก เป็นไข้

เป็นอาการในระยะเฉียบพลัน โดยจะทำให้มีอาการแสบจมูก แน่นจมูก แสบตา ตาแดง เป็นไข้ได้ โดยเฉพาะในเด็กมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น หอบหืด หรือภูมิแพ้ อาจอาการกำเริบได้มาก เช่น ภูมิแพ้กำเริบ หรือหายใจเร็วเฉียบพลัน แน่นหน้าอก

ฝุ่น pm 2.5 สามารถเข้าสู่ร่างกายและทำลายสมองเด็กเล็กได้ในระยะยาว

2. สมองพัฒนาการช้า หรือเสียหายถาวร, IQ หรือสมาธิสั้น

การที่ร่างกายของเด็กสะสมฝุ่นพิษอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางสมอง สติปัญญาหรือสมาธิได้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก สามารถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด ไปสู่ระบบประสาทและสมอง โดยฝุ่นที่เข้าไปนั้นจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบที่บริเวณเซลล์ต่างๆ ทำให้สารเคมีหรือการทำงานของเซลล์ประสาทผิดปกติได้ ทำให้มีผลต่อพัฒนาการทางสมองหรือสมาธิของเด็กได้

>> ดูคลิปจาก UNICEF อธิบายถึงอันตรายจากฝุ่น PM 2.5 ที่กระทบสมองในเด็ก<<

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ ฝุ่นละออง PM2.5 เด็กต่ำกว่า 5 ขวบสูด เสี่ยงอันตรายกว่าผู้ใหญ่

ฝุ่นละออง PM2.5 เด็กต่ำกว่า 5 ขวบสูด เสี่ยงสมองช้า สมาธิสั้น

3. ภูมิคุ้มกันเสื่อม, ติดเชื้ออย่างรุนแรง

สำหรับเด็กเล็กที่อยู่ในกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อง่าย อาจจะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้นกันเสื่อม และมีอาการติดเชื้อรุนแรงมากกว่าปกติได้

4. ถุงลมขยายไม่เต็มที่, มะเร็งปอด

ในระยะยาวของระบบทางเดินหายใจ อาจทำให้สมรรถภาพปอดลดลง และในระยะยาวกว่านั้น ในบางการศึกษาพบว่าอาจเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้หรือมะเร็งปอดได้ นอกจากนี้หากเด็กมีการสะสมฝุ่นพิษต่อเนื่อง อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งการพัฒนาการทางสมองของเด็ก สติปัญญาหรือสมาธิได้ด้วยเช่นกัน

9 วิธีป้องกันลูกน้อยจาก ฝุ่นละออง PM 2.5

กรมอนามัยได้กำหนดแนวทางการดูแลเด็กเล็กสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูพี่เลี้ยง เพื่อป้องกันปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ดังนี้

การดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงพอที่จะรับมือกับฝุ่นพิษ PM 2.5
  1. ติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในเว็บไซต์กรมอนามัย www.anamai.moph.go.th แอพพลิเคชั่น Air4thai ของกรมควบคุมมลพิษ หรือ AirVisual
  2. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน ในช่วงที่ปริมาณ PM2.5 ตั้งแต่ระดับสีเขียว (26-37 ไมโครกรัม/ ลูกบาศก์เมตร) ขึ้นไป
  3. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ 6-8 แก้วต่อวัน
  4. เด็กที่มีโรคประจำตัวควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดและสังเกตอาการ หากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออกให้รีบไปพบแพทย์
  5. หากค่า PM 2.5 อยู่ในระดับสีแดง (91 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) ขึ้นไป ห้ามออกนอกบ้าน
  6. ปลูกต้นไม้เพื่อดักฝุ่นละอองและมลพิษอากาศ (บทความแนะนำ 9 ต้นไม้กันฝุ่น-ดูดสารพิษ ฟอกอากาศในบ้านให้บริสุทธิ์)
  7. งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิด PM 2.5 เช่น การเผาใบไม้ เผาขยะ
  8. ไม่ติดเครื่องยนต์เป็นเวลานานในบริเวณบ้าน
  9. ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดและเปิดพัดลมให้อากาศหมุนเวียน

ทั้งนี้หากผู้ปกครองพบอาการติดเชื้อ เช่น มีไข้ ไอ แน่นหน้าอก หายใจเร็ว หรือในกรณีที่รุนแรง อาจจะมีลักษณะที่อกหรือช่องตรงซี่โครงบุ๋ม ควรพาเด็กออกจากบริเวณที่มีฝุ่น และไปพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกาย และทำการรักษาทันที

อ่านต่อ บทความดี ๆ คลิก

วิจัยเตือนพ่อ! พิษจากควันบุหรี่อันตรายกว่า ฝุ่น PM 2.5

รีวิว หน้ากากกันฝุ่น PM2.5 เลือกใส่แบบไหน ปลอดภัยทั้งแม่และลูกน้อย

หมอเตือนระวัง โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) โรคที่มากับยุง

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, พลิกปมข่าว ThaiPBS

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids