อะไรคือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ ปวดประจำเดือน?
- การที่มีประจำเดือนเร็ว ยกตัวอย่างเช่น การมีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุน้อยกว่า 12 ปี
- การไม่มีบุตร ทำให้รังไข่ต้องทำงานตลอดเวลาและมีรอบประจำเดือนมากกว่าคนที่มีลูก ซึ่งจะได้หยุดพักการมีประจำเดือนไปในช่วงตั้งครรภ์ไปจนถึงหลังคลอดอีกสักระยะหนึ่ง
- ประจำเดือนมามากและนาน
- การใส่ห่วงอนามัย
- การสูบบุหรี่
- ความอ้วน
- การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
- การมีเนื้องอกมดลูก
วิธีแก้ ปวดประจำเดือน
- ประคบร้อนด้วยกระเป๋าน้ำร้อนหรือถุงน้ำร้อน เพราะความร้อนมีคุณสมบัติทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย การเอากระเป๋าหรือถุงน้ำร้อนวางบริเวณที่ปวด ก็จะสามาระช่วยบรรเทาอาการลงได้เป็นอย่างดี
- ดื่มน้ำอุ่นให้มาก การดื่มน้ำมาก ๆ ในขณะที่มีประจำเดือนนั้น สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้ตับสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถควบคุมปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนให้อยู่ในระดับปกติได้ แต่ทั้งนี้ ต้องดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำที่อุณหภูมิห้องเท่านั้นนะคะ เพราะถ้าขืนดื่มน้ำเย็นเข้าไปละก็ จะยิ่งทำให้เลือดจับตัวกันเป็นก้อนและขับถ่ายออกมาได้ยาก และยิ่งส่งผลให้อาการปวดรุนแรงขึ้น
- รับประทานยาแก้ปวด
- นอนตะแคงข้าง จะนอนตะแคงด้านไหนนั้นขึ้นอยู่กับระดับมดลูกของแต่ละบุคคลด้วยนะคะ ดังนั้น เวลาปวด ลองนอนตะแคงดูทั้งสองข้างค่ะ แล้วสังเกตดูว่านอนข้างไหนแล้วรู้สึกว่าอาการปวดน้อยลง ก็ให้นอนตะแคงด้านนั้น
นอกจากที่กล่าวไปแล้วในข้างต้นถึงวิธีแก้ปวดประจำเดือนนั้น ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่จะไม่ทำให้อาการปวดนั้นแย่ลงก็คือ การทำจิดใจให้สบาย ไม่หงุดหงิด และที่สำคัญต้องไม่เครียดด้วยนะคะ มิเช่นนั้น อาจจะส่งผลให้เกิดอาการเกร็งเช่นเดียวกับเจ้าของโพสต์ได้
เครดิต: Honestdocs และ Medthai
อ่านเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่