เด็กออทิสติก ความผิดปกติอย่างหนึ่งที่พ่อแม่สามารถสังเกตได้จากลูก คือความไม่สมบูรณ์ทางสติปัญญา ที่อาจแสดงออกมาให้เห็นทางกายภาพ คือกลุ่มอาการของโรคออทิสติก ทีมงาน Amarin Baby & Kids มี 14 ข้อสำคัญ เพื่อรับมือกับลูกน้อยที่เป็นโรคออทิสติก มาให้คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบกันค่ะ
เด็กออทิสติก คืออะไร?
โรคออทิสติกเป็นความผิดปกติในสมอง ซึ่งส่งผลให้เด็กมีความบกพร่องทางพัฒนาการด้านสังคม อารมณ์ และพฤติกรรม กลุ่มอาการออทิสติกในเด็กจะเริ่มแสดงออกมาให้เห็นในช่วงอายุ 18 เดือน ถึง 2 ปี เด็กออทิสติกจะมีปัญหาในการเข้าสังคมและสื่อสารกับผู้อื่น อีกทั้งยังขาดความสนใจอย่างชัดเจนในการเข้าร่วมหรือทำกิจกรรมบางอย่าง
ในอดีต เป็นเรื่องยากที่จะวินิจฉัยอาการของโรคออทิสติก แต่จากการศึกษาและงานวิจัยสมัยใหม่ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญคุ้นเคยกับโรคนี้ในเด็กวัยเตาะแตะมากขึ้น ทั้งนี้ ไม่มีเด็กออทิสติกสองคนไหนที่จะมีอาการเหมือนกันทุกประการ นี่เป็นเหตุผลที่โรคนี้จัดเป็นความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน นั่นคือ ความรุนแรงของอาการจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน เด็กคนหนึ่งอาจจะต้องมีผู้ดูแลไปตลอดชีวิต ในขณะที่อีกคนอาจจะสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างค่อนข้างปกติ
อ่านต่อ >> “สาเหตุของโรคออทิสติก ที่พ่อแม่ควรรู้!” หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
สาเหตุของโรคออทิสติก
แม้ว่าจนถึงปัจจุบันนี้ เรายังไม่รู้แน่ชัดถึงสาเหตุที่แท้จริงของโรค แต่พบว่าในเด็กประมาณ 100 คน จะมี 1 คนที่เป็นออทิสติก
- นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโรคออทิสติกมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
- ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมนั้นรวมถึงทารกที่คลอดก่อนกำหนด นั่นคือ ทารกที่คลอดก่อน 33 สัปดาห์ จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคออทิสติก
- โรคออทิสติกมีโอกาสพัฒนาในเด็กคลอดก่อนกำหนดที่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
- ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ รวมถึงพ่อแม่ที่มีบุตรเมื่ออายุมาก การกินอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการขณะตั้งครรภ์ และการติดเชื้อ สารเคมีก็เป็นสาเหตุของโรคออทิสติกได้
- ความผิดปกติของโครโมโซมเอ๊กซ์ (X) จัดเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของโรคออทิสติก
- จากการศึกษายังพบว่าเด็กที่คลอดห่างจากคนพี่ไม่ถึง 2 ปีอาจมีอาการของโรคออทิสติก
อ่านต่อ >> “สัญญาณของโรคออทิสติกในเด็กวัยเตาะแตะ” หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
5 สัญญานของโรคออทิสติกในเด็กวัยเตาะแตะ
สัญญานของโรคออทิสติกในเด็กวัยเตาะแตะที่พ่อแม่ควรระวังมีดังนี้
1. มีพัฒนาการช้า
เด็กออทิสติกจะมีพัฒนาการแตกต่างจากเด็กทั่วไป
- เด็กจะโตช้าและมีทักษะด้านการสื่อสารจำกัดอยู่แค่คำพูดและท่าทางเพียงไม่กี่อย่าง
- การแสดงออกทางสีหน้าและภาษากายก็แตกต่างออกไปด้วย
2. เลี่ยงการสบตา
ข้อบ่งชี้สำคัญของเด็กออทิสติกคือไม่สบตากับพ่อแม่ แม้จะโดนเรียกชื่อ
- มักจะเพ่งหรือจ้องมองแบบแปลก ๆ
- ไม่แสดงความสนใจต่อสิ่งรอบข้างเลย
3. แสดงพฤติกรรมซ้ำๆ
เด็กออทิสติกบางคนจะยึดติดกับกิจวัตรประจำวันของตนเองอย่างเคร่งครัดมาก
- มักจะเล่นหรือทำอะไรด้วยวิธีเฉพาะของตนเอง
- การถูกขัดจังหวะในระหว่างทำกิจวัตรใดๆ จะทำให้เด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา เช่น โขกหัวตัวเอง โยกเขย่าตัว หรือแกว่งกระพือแขน เป็นต้น
4. พฤติกรรมหมกมุ่น
สัญญาณบ่งชี้สำคัญที่สุดของเด็กออทิสติกคือพฤติกรรมหมกมุ่น
- เด็กออทิสติกจะหมกมุ่นกับสิ่งของบางอย่างโดยเฉพาะ เช่น อาหาร และของเล่น
- มักจะเล่นกับของเล่นชิ้นใดชิ้นหนึ่งโดยเฉพาะ และไม่เล่นชิ้นอื่นเลย
- ในเรื่องอาหาร เด็กมักจะกินอาหารเดิมๆ ซ้ำๆ และเรื่องมากกับการกินอาหารบางชนิด พฤติกรรมหมกมุ่นนี้เกิดจากความบกพร่องในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่ ๆ หรือความเปลี่ยนแปลงนั่นเอง
- ชอบทำแต่สิ่งเดิม ๆ มากกว่าสิ่งใหม่ ๆ มักจะเพ่งความสนใจในรายละเอียดของวัตถุและชอบจัดเรียงสิ่งของเป็นเส้นตรง
5. ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
เด็กออทิสติกจะไม่สนใจทำกิจกรรมร่วมกับพ่อแม่หรือเด็กคนอื่น ๆ
- มีความบกพร่องในการเข้าใจและการฟัง
- ไม่ค่อยยิ้ม ไม่ชอบการกอดและผูกมิตร ไม่ชอบเล่นกับเด็กคนอื่น ๆ ไม่แสดงความวิตกกังวลเมื่อแยกกับแม่ ชอบอยู่คนเดียว อาจทำร้ายเด็กคนอื่นโดยไม่มีเหตุผล และไม่ชอบพึ่งพาใคร
อ่านต่อ >> “14 ข้อสำคัญ เพื่อรับมือกับลูกน้อยที่เป็น ออทิสติก” หน้า 4
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
14 ข้อสำคัญ เพื่อรับมือกับลูกน้อยที่เป็น “เด็กออทิสติก”
การรักษาโรคออทิสติกเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะด้านการสื่อสาร และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
- ควรเริ่มรักษาตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อเพิ่มพัฒนาการทางภาษาและทักษะทางสังคมด้านอื่นๆ
- จิตแพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้เด็กเข้ารับการบำบัด ซึ่งพฤติกรรมบำบัดก็เป็นหนึ่งในนั้น
- การรักษาโรคออทิสติกไม่ได้มุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฮวบฮาบ ที่จริงการเปลี่ยนแปลงไม่ส่งผลดีกับการรักษาเด็กกลุ่มนี้ เพราะเด็กจะมีอาการวิตกกังวลหรือมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
- จัดตารางกิจวัตรประจำวันเพื่อให้ลูกรู้ว่าจะต้องทำอะไรต่อไป นี่เป็นส่วนหนึ่งของการรักษา
- ตารางกิจวัตรที่มีกิจกรรมต่อเนื่องชัดเจนจะทำให้ลูกรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
- ถ้าจะส่งลูกไปโรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษ ต้องแน่ใจว่าลูกรู้สึกปลอดภัยและไม่กดดัน
- ความบกพร่องในการสื่อสารทำให้เด็กออทิสติกขาดทักษะทางภาษาที่ดี จึงมักพูดคำหรือวลีที่ไม่รู้เรื่อง อีกทั้งความบกพร่องด้านความคิดและความรู้สึกทำให้เด็กมักจะสื่อสารด้วยภาพ
- รูปภาพและบัตรคำศัพท์เป็นตัวช่วยที่ดีในการใช้สื่อสารกับลูก และยังช่วยในการฝึกพูดอีกด้วย
- ถ้าลูกหงุดหงิดหรือไม่สามารถบอกความต้องการออกมาเป็นคำพูดได้ การใช้รูปภาพจะเป็นวิธีที่ง่ายสำหรับเขาในการสื่อสาร
- อีกวิธีหนึ่งเพื่อช่วยเรื่องทักษะการสื่อสารคือการใส่ใจในสิ่งที่เด็กกำลังพูด เด็กออทิสติกมักจะใช้คำพูดซ้ำๆ ซึ่งอาจสัมพันธ์กับสิ่งที่ลูกกำลังพยายามสื่อสารกับคุณ คุณจึงต้องตีความและจดบันทึกไว้เพื่อจะได้เข้าใจเมื่อลูกใช้คำหรือท่าทางแบบนั้นอีก
- จดบันทึกคำหรือท่าทางที่ลูกใช้เสมอ ไม่นานคุณจะเห็นแบบแผนการสื่อสารของลูก
- การจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาเด็กออทิสติก
- อย่าหงุดหงิด เพราะความหงุดหงิดของคุณจะยิ่งทำให้ลูกอาละวาด
- การให้รางวัลและการชมเชยจะช่วยในการรักษาเด็กออทิสติกได้
เด็กออทิสติก จะเริ่มแสดงอาการให้เห็นในช่วงอายุตั้งแต่ 18 เดือนเป็นต้นไป พ่อแม่จึงต้องมองให้ออก การมองเห็นสัญญาณแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดผลกระทบในด้านลบของโรคออทิสติกได้ …ด้วยความห่วงใยค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก!
สมองเด็ก ออทิสติก เติบโตช้า เพราะอะไร แล้วจะพัฒนาได้ไหม ?
เรากำลังเลี้ยงลูกให้เป็น “ออทิสติกเทียม” ด้วย ทีวี แท็บเล็ต และเร่งเรียน หรือเปล่า?
ภัยจากทีวี อย่าปล่อยให้ลูกน้อยเป็นเด็กสมาธิสั้น และออทิสติก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
momjunction