ถึงแม้กระแสการรับประทานผักผลไม้ กินคลีน จะมีให้เห็นกันอยู่ตามสื่อออนไลน์ แต่ก็มีข้อมูลที่น่าตกใจว่ากว่า 75% ของ คนไทยกินผักผลไม้น้อย ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนด คืออย่างน้อยวันละ 400 กรัม ทำให้เกิดความเสี่ยงโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเรื้อรัง
ซึ่งต่ำกว่าที่ทาง องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ว่าควรไม่น้อยกว่าวันละ 400 กรัม เพราะลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้ถึง 50% โรคหัวใจ 30% โรคหลอดเลือดสมอง 6% และโรคมะเร็งทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร หลอดอาหาร 1-6% นอกจากนี้ยังช่วยให้น้ำหนักตัวลดลง เพราะผักมีพลังงานต่ำ ถ้ารับประทานในปริมาณที่กำหนด จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง ทั้งเบาหวาน และความดัน
ผศ.ทัศนีย์ โรจนไพบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและโภชนาการ สถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล เสริมว่า กำมือของตัวเองเป็นตัวกำหนด เช่น ในกลุ่มเด็กมีขนาดมือเล็ก ปริมาณผักผลไม้ก็ต้องลดสัดส่วนลงไปด้วยนั่นเอง
อ่านต่อ “ผักผลไม้ 5 สีที่พ่อแม่ลูกควรรับประทาน” คลิกหน้า 2
ผักผลไม้ 5 สีที่พ่อแม่ลูกควรรับประทาน
ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย แนะนำว่า ใน 1 วันควรรับประทานผักให้ได้อย่างน้อย 2 ทัพพี ควบคุมกับผลไม้ทุกมื้อเป็นประจำ และผักควรรับประทานให้ครบ 5 สี ดังนี้
2.สีเหลือง ให้สารเบต้าแคโรทีน และฟลาโวนอยส์ ช่วยรักษาสุขภาพของหัวใจ หลอดเลือด ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย บำรุงสายตา เช่น แครอท ฟักทอง มันเทศ
3.สีม่วง ให้สารแอนโทไซยานิน ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมองยับยั้งเชื้ออีโคไลในทางเดินอาหาร ซึ่งทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ เช่น กะหล่ำสีม่วง มะเขือม่วง ดอกอัญชัน
5.สีแดง มีสาร ไลโคพีน อยู่ในปริมาณสูง มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยมีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระที่สูงมาก มีความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระมากกว่าวิตามินอี 100 เท่า และมากกว่ากลูตาไธโอนถึง 125 เท่าสารไลโคพีนช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งปอด และยังช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งเยื่อบุมดลูก เช่น มะเขือเทศ หอมแดง พริกหวาน เป็นต้น
เคล็ดลับ
ก่อนรับประทานผักผลไม้ทุกครั้ง ควรล้างด้วยน้ำสะอาด 1-2 ครั้ง เพื่อลดสารพิษและยาฆ่าแมลงที่ตกค้าง แล้วแช่ผักผลไม้ในน้ำเกลือ 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร หรือผสมน้ำส้มสายชูครึ่งถ้วยตวงต่อน้ำ 4 ลิตร หรือน้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 15-30 นาที แล้วล้างน้ำเปล่าอีก 2 ครั้ง สำหรับผักบางชนิด เช่น คะน้า กะหล่ำ ถั่วฝักยาว ถ้ามีคราบขาวจับที่กาบใบหรือฝักมากเกินไปล้างน้ำหลายๆ ครั้ง และคลี่ใบถูหรือล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านผักสดอย่างน้อย 2 นาที
อ่านต่อ “การทดลองอาหารในจานมีผักมากแค่ไหน?” คลิกหน้า 3
การทดลองอาหารในจานมีผักมากแค่ไหน?
ต่อไปนี้คือภาพการทดลองว่าอาหารที่เรารับประทานเข้าไปมีผักมากน้อยแค่ไหน ไปชมภาพกันค่ะ
1.จากการทดลองได้นำอาหารตัวอย่างทั้งหมด 6 อย่างมาตรวจสอบสารอาหารที่ได้จากผักว่ามีมากน้อยแค่ไหน
อ่านต่อ “การทดลองอาหารในจานมีผักมากแค่ไหน?” คลิกหน้า 4
3.เพื่อตรวจสอบว่าในอาหารแต่ละจานมีสารอาหารจากผักประมาณเท่าไร
เครดิต: health.kapook.com, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, www.youtube.com/watch?v=S34EFhWzoXY