AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

มะเร็งกล่องเสียง เกิดจากอะไร ถ้าเสียงแหบ ชอบดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ไปหาหมอเลย

มะเร็งกล่องเสียง

สัญญาณมะเร็งกล่องเสียง สังเกตอย่างไร มะเร็งกล่องเสียง เกิดจากอะไร

คนเป็นพ่อเป็นแม่ย่อมอยากอยู่กับลูกให้นานที่สุด แต่ด้วยโลกปัจจุบัน มีโรคภัยมากมายที่พร้อมจะพรากชีวิตคนสำคัญในครอบครัวไป หากป้องกันได้ไวด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง ทำความรู้จักโรคต่าง ๆ อย่าง มะเร็งกล่องเสียง เกิดจากอะไร พร้อมกับสังเกตอาการป่วยให้รวดเร็ว และรีบไปพบแพทย์ก็จะสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที

หน้าที่สำคัญของกล่องเสียง

ก่อนจะไปรู้ลึกถึงอาการของมะเร็งกล่องเสียง เรามาทำความรู้จัก กล่องเสียง อวัยวะสำคัญในร่างกายกันก่อน โดยอ.นพ.วรุฒน์ ศุภนคร หน่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ ฝ่ายโสต คอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อธิบายถึงหน้าที่หลักของกล่องเสียงไว้ว่ามี 3 อย่าง

  1. การหายใจ
  2. การเปล่งเสียงออกมา
  3. การป้องกันการสำลักในขณะที่รับประทานอาหาร

รู้หรือไม่ มะเร็งชนิดนี้เป็นโรคร้ายที่ติดอันดับ 1 ใน 5

หากสงสัยว่า มะเร็งกล่องเสียงพบได้บ่อยแค่ไหน ขอตอบเลยว่าติดอันดับ 1 ใน 5 ถ้านับเฉพาะโรคมะเร็งศีรษะและคอ ความรุนแรงของมะเร็งชนิดนี้ เริ่มต้นจากก้อนเล็ก ๆ ในลำคอ ที่อาจลุกลามเป็นก้อนใหญ่จนอุดกล่องเสียงทำให้หายใจไม่สะดวก ถ้าไม่รีบรักษา หรือปล่อยทิ้งไว้นาน ก็อาจลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง หรือไปถึงอวัยวะอื่นที่อยู่ห่างไกลจากกล่องเสียงออกไป จนอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ เช่นเดียวกับโรคมะเร็งอื่น ๆ ถ้ารู้ไว รักษาทัน ร่างกายก็จะฟื้นฟูได้เร็ว

มะเร็งกล่องเสียง เกิดจากอะไร สัญญาณของโรคร้าย

หนึ่งในอาการสำคัญของผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง จะมีอาการเสียงแหบ เสียงเปลี่ยน เป็นระยะเวลานาน ไม่หายเสียที หากมีคนในครอบครัวเสียงแหบ ร่วมกับพฤติกรรมเสี่ยงมะเร็ง ก็ยิ่งต้องรีบพาไปพบคุณหมอ สำหรับพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งกล่องเสียง ได้แก่ การดื่มเหล้าชอบสังสรรค์เป็นประจำ ร่วมกับพฤติกรรมสูบบุหรี่จัด ทำให้ความเสี่ยงการเป็นมะเร็งกล่องเสียงเพิ่มขึ้นได้

สำหรับอาการหลัก ๆ ของมะเร็งกล่องเสียง สังเกตได้อย่างไร

การตรวจและวินิจฉัยมะเร็งกล่องเสียง

การตรวจวินิจฉัยมะเร็งกล่องเสียง ทำได้โดยการใช้การส่องกล่องเข้าไปดู รวมกับการใช้ภาพรังสีวินิจฉัยอย่าง CT Scan หรือ MRI เมื่อส่องกล้องเข้าไปในกล่องเสียง ก็จะนำชิ้นเนื้อที่เราสงสัยว่าเป็นมะเร็งไปส่งตรวจ

มะเร็งกล่องเสียง อันตรายไหม

ถ้าผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงเข้ารับการรักษาช้า จะเสี่ยงที่ก้อนมะเร็งกล่องเสียงกั้นทางเดินหายใจ มีผลทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ สำหรับการรักษามะเร็งกล่องเสียงมีการรักษาหลักอยู่ 2 แนวทาง

วิธีรักษาผู้ป่วยในระยะที่เป็นมะเร็งกล่องเสียงมากขึ้น หรือที่เราเรียกว่า Advance Stage หลัก ๆ เราจะใช้การรักษาอยู่ 2 วิธี

  1. ผ่าตัดตามด้วยฉายแสง
  2. ฉายแสงร่วมกับเคมีบำบัด

อย่างไรก็ตาม การทำการรักษาผู้ป่วยแต่ละราย จะต้องปรึกษาผู้ป่วยรวมกับแพทย์แผนกฉายแสง เพื่อเลือกการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคนไข้ ส่วนข้อแตกต่างของการรักษามะเร็งกล่องเสียง เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสงเสียงมักจะไม่ค่อยเปลี่ยน ไม่ค่อยมีผลต่ออาการเสียงแหบ แต่หากผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดจะส่งผลต่อเสียงแหบมากกว่า

หากจำเป็นต้องตัดกล่องเสียงออกทั้งหมด

ผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงบางรายที่อยู่ในระดับ Advance Stage อาจจำเป็นที่แพทย์จะต้องตัดกล่องเสียงออกทั้งหมด แต่ทางโรงพยาบาลมีการรักษาที่ทำให้เสียงกลับมาเหมือนเดิม เช่น การทำให้ผู้ป่วยใช้วิธีพูดผ่านหลอดอาหาร หรือการผ่าตัดฝังกล่องเสียงเทียม สุดท้าย ใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า Electrolarynx เพื่อให้คนไข้กลับมาใช้เสียงพูดได้ดังเดิม

ส่วนผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาไปเรียบร้อยแล้ว ทางแพทย์ยังคงต้องติดตามเพื่อสังเกตอาการ ด้วยการส่องกล้องดูภายในกล่องเสียง ฉายภาพรังสี CT Scan เพื่อติดตามผลการรักษามะเร็งกล่องเสียง และเป็นการเฝ้าระวังไม่ให้มะเร็งกลับมาใหม่

สิ่งสำคัญคือ พฤติกรรมการใช้ชีวิต ถ้าไม่อยากเป็นมะเร็งกล่องเสียง ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุของมะเร็งกล่องเสียง ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดบุหรี่ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง พร้อมกันนั้นต้องหมั่นสังเกตอาการต่าง ๆ เพราะสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการตรวจวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว ทำให้รักษาโรคได้ไว หากพบว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดมีอาการเสียงแหบ เสียงเปลี่ยน ไอเรื้อรัง ควรรีบไปพบแพทย์ หู คอ จมูก ให้เร็วที่สุด

เครดิต : เกร็ดความรู้คู่สุขภาพ มะเร็งกล่องเสียง ติดจอ ฬ.จุฬา

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

กระทรวงแจง “สูบบุหรี่ในบ้าน” ผิดกฎหมาย! บังคับใช้ 20 ส.ค. นี้

8 วิธีทาน “อาหารต้านมะเร็ง” กินอย่างไรให้ห่างไกลโรค?

เบคอน อาหารปลิดชีวิตคนจากมะเร็งได้พอ ๆ กับบุหรี่