เจ็บหัวนม อย่านิ่งนอนใจ! อาจเสี่ยงเป็นโรคร้าย โดยไม่รู้ตัว พบ 13 สาเหตุที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม!
หากคุณแม่คิดว่า อาการเจ็บหัวนมที่กำลังเป็นอยู่นั้น เป็นเรื่องปกติละก็ หยุดค่ะ!! หยุดคิดเช่นนั้นทันที เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่า อาการดังกล่าว อาจเป็นสัญญาณบอกว่า เรากำลังเป็นโรคอะไรอยู่ ก็เป็นได้
แต่ก่อนที่เราจะไปดูกันว่า อาการดังกล่าวนั้นเกิดจากอะไร เรามาทำความเข้าใจกับความหมายของคำว่า “เจ็บหัวนม” กันก่อนค่ะ ซึ่งวันนี้ทีมงาน Amarin Baby and Kids ก็ได้รวบรวมเนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับคุณแม่ทุกท่านมาให้แล้วค่ะ พร้อมแล้วไปอ่านบทความนี้พร้อม ๆ กันเลย
ความหมายของคำว่า เจ็บหัวนม
เจ็บเต้านม เป็นอาการปวด เจ็บ หรือรู้สึกไม่สบายบริเวณเต้านม ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงประมาณ 50-70 เปอร์เซ็นต์ บางส่วนอาจพบได้ในผู้ชาย อาการปวดมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนรุนแรง โดยอาจปวดตุบๆ เจ็บแปลบ รู้สึกแน่นๆ หนักๆ แสบร้อนหน้าอก ขึ้นอยู่กับสาเหตุการเกิด บางครั้งอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดในบริเวณใกล้เคียงกับเต้านมได้ ซึ่งบทความในวันนี้จะไม่ขออนุญาตกล่าวถึงคุณแม่ถึงคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นะคะ
อ่านต่อเนื้อหาเพิ่มเติม คลิก!
อาการ เจ็บหัวนม
อาการดังกล่าวนั้น อาจจะแยกออกได้ยากนิดนึงนะคะ แต่โดยทั่วไปแล้วก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะด้วยกัน นั่นคือ
- อาการเจ็บเต้านมที่สัมพันธ์กับประจําเดือน เป็นอาการปวดเต้านมที่พบในผู้หญิงได้มากที่สุด มักเกิดขึ้นในช่วงไข่ตกหรือช่วงมีประจำเดือนของทุกๆ เดือน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย โดยลักษณะอาการยกตัวอย่างเช่น ปวดเต้านมในลักษณะตื้อๆ หนักๆ หรือปวดร้าว เต้านมบวมและแข็งเป็นก้อน
- อาการเจ็บเต้านมที่ไม่สัมพันธ์กับประจําเดือน เป็นอาการปวดที่ไม่สัมพันธ์กับรอบประจำเดือน ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของเต้านม การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อรอบเต้านม จึงอาจส่งผลกระทบให้เกิดอาการปวดเต้านมตามมา ซึ่งอาการปวดเกิดเป็นพักๆ หรือปวดเรื้อรัง ส่วนใหญ่จะปวดเฉพาะบางจุดของเต้านมข้างใดข้างหนึ่ง และพบมากในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือใกล้หมดประจำเดือน
นอกจากนี้ ยังมีอาการปวดอีกประเภทหนึ่งที่คล้ายกับอาการเจ็บเต้านม คือ อาการปวดภายนอกเต้านม เป็นอาการปวดที่ไม่ได้เกิดจากภายในเต้านมโดยตรง แต่มาจากจุดใดก็ได้ในบริเวณใกล้เคียงเต้านม เช่น การใช้กล้ามเนื้อบริเวณช่วงอก อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บของผนังเต้านมหรือกระดูกซี่โครงหน้าอกจนลามไปยังเต้านม ซึ่งทำให้รู้สึกเหมือนเจ็บเต้านมได้เช่นกันค่ะ
แม้ว่าอาการปวดเต้านมในผู้หญิงมักเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีอาการปวดบริเวณใดบริเวณหนึ่งของเต้านมอย่างต่อเนื่องมากกว่า 2-3 สัปดาห์ คลำแล้วพบก้อนในเต้านม รู้สึกปวดมากจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ให้ตรวจดูอาการทันที
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เจ็บ อ่านต่อ คลิก!
เครดิต:Pobpad
อาการ เจ็บหัวนม เกิดจากอะไรได้บ้าง
1. ถึงวัยเจริญพันธุ์ ฮอร์โมนในร่างกายของเด็กผู้หญิงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เต้านมมีขนาดใหญ่ หัวนมขยายและไวต่อความรู้สึกมากขึ้น ดังนั้น แค่เพียงสัมผัสจากเสื้อผ้าที่แผ่วเบาก็อาจทำให้รู้สึกเจับหัวนมได้ หรืออยู่เฉยๆ ก็จะรู้สึกคัดตึงที่เต้านมและหัวนม ซึ่งถือเป็นความปกติของร่างกายเมื่อฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง
2. ฮอร์โมนเปลี่ยนจากการตกไข่ ระยะตกไข่ของผู้หญิงทำให้เรามีรอบเดือน พร้อมกันนั้นฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนก็จะเพิ่มสูงขึ้น ต่อมน้ำนมก็จะขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับกรณีที่ตั้งครรภ์ สาเหตุนี้แหละค่ะที่ทำให้คุณแม่รู้สึกคัดเต้านม รวมทั้งอาการเจ็บหัวนมจี๊ดๆ ก็ด้วย ซึ่งอาการเจ็บหัวนมเพราะสาเหตุนี้จะเกิดขึ้นกับผู้หญิงแต่ละคนในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน โดยบางคนอาจรู้สึกเจ็บหัวนมก่อนมีประจำเดือน ในขณะที่บางคนรู้สึกเจ็บหัวนมระหว่างหรือหลังมีประจำเดือนก็ไม่ถือว่าผิดปกติ
3. ส่วนเสี้ยวหนึ่งจากอาการ PMS เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในร่างกายของผู้หญิงระหว่างที่มีประจำเดือนเกิดไม่สมดุลกัน อาการ PMS จะเข้ามาครอบงำผู้หญิงทุกคนอย่างไม่เคยปรานีใคร โดยเฉพาะหากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงกว่าโปรเจสเทอโรน จึงส่งผลทำให้คุณแม่ ๆ รู้สึกหงุดหงิด ท้องอืด คัดเต้านมและเต็บหัวนมได้ด้วย
4. อาการหนึ่งของคนวัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเพศอย่างเอสโตรเจนและโปรเจสเทอโรนนี่มีผลอย่างมากกับผู้หญิงเราจริงๆ ไม่ว่าจะมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ หรือแม้แต่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนก็ยังตามมารังควานไม่หยุดหย่อน ยิ่งในช่วงแรก ที่ฮอร์โมนปั่นป่วนหนักๆ อาการเจ็บหัวนม ปวดหัว บ้านหมุน จะทวีความรุนแรงขึ้นจนแทบทำอะไรไม่ได้ แต่พอร่างกายเริ่มปรับสภาพได้แล้ว ฮอร์โมนที่เคยหลั่งออกมาจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ พร้อมพาเอาอาการผิดปกติที่เคยเกิดขึ้นไปจากเราด้วยค่ะ
5. สัญญาณบอกเมื่อตั้งครรภ์ ในช่วงที่ผู้หญิงตั้งครรภ์ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเทอโรนออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเอสโตรเจนจะทำหน้าที่ขยายเนื้อเยื่อเต้านมให้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เต้านมจะมีขนาดใหญ่ขึ้นโดยธรรมชาติ ส่วนโปรเจสเทอโรนจะช่วยในเรื่องเติมน้ำให้เต้านม ด้วยเหตุนี้จึงอาจรู้สึกคัดแน่นเต้านมและเจ็บหัวนมได้
6. กรดไขมันในร่างกายเกิดความไม่สมดุล เมื่อร่างกายได้รับกรดไขมันไม่เพียงพอ จนทำให้ไขมันในเซลล์ไม่สมดุล เคสนี้ก็มีส่วนทำให้เรารู้สึกคัดแน่นและเจ็บหัวนมได้เช่นกัน เนื่องจากการทำงานของเซลล์ผิวหนังและการผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายจำเป็นต้องอาศัยกรดไขมันสำคัญในการขับเคลื่อน ดังนั้นพยายามรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ไว้จะดีที่สุดนะคะ
อ่านต่อสาเหตุของการเจ็บเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไปค่ะ >>
8. แพ้ยา ยาคุมกำเนิด ยาประเภทเพิ่มฮอร์โมนหรือตัวยาที่ส่งผลต่อฮอร์โมน และยาคลายเครียด ล้วนแต่มีผลข้างเคียงไปถึงเต้านมกลม ๆ ของเราได้ทั้งสิ้น ดังนั้น หากคุณกำลังรับประทานยาเหล่านี้อยู่แล้วรู้สึกเจ็บหัวนมก็อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ เพราะมันคือผลข้างเขียงจากตัวยาอย่างที่บอกนั่นเอง
9. ผลพวงจากอาการเจ็บหน้าอกและหัวใจ อย่างที่บอกว่าหัวนมเป็นส่วนที่ไวต่อความรู้สึก ดังนั้น เมื่อเราเจ็บหน้าอกและหัวใจ ก็อาจส่งผลให้สะเทือนไปเจ็บที่หัวนมด้วยก็ได้เช่นกัน
10. ความเครียด เหลือเชื่อเลยใช่ไหมละคะ ว่าความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฮอร์โมนและระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายเปลี่ยนแปลงฉับพลัน ฉะนั้นหากไม่ได้จะเป็นประจำเดือน ไม่มีโอกาสตั้งครรภ์ หรือไม่มีความเสี่ยงจากทางร่างกายอื่น ๆ ความเครียดก็อาจเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คุณรู้สึกเจ็บหัวนมจี๊ด ๆ ไม่ต่างอะไรจากตอนที่มีประจำเดือนเลยละค่ะ
11. อาการแพ้ ไม่ว่าคุณแม่จะแพ้อากาศ แพ้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอย่างสบู่ หรือแชมพู แพ้สารเคมีจากผลิตภัณฑ์บำรุงผิว หรือแพ้สารสังเคราะห์จากเส้นใยผ้า สิ่งเหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุให้เจ็บและคันหัวนมได้ทั้งสิ้น
12. กิจกรรมทางเพศ หากคุณแม่หนักหน่วงหรือทำกิจกรรมบนเตียงที่ค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะกับเต้านมและหัวนมอาจเป็นสาเหตุของอาการเจ็บตึงหัวนมไดด้วยเช่นกันนะคะ ทั้งนี้ คุณแม่สามารถบรรเทาอาการได้โดยทามอยส์เจอไรเซอร์หรือเจลเย็นบรรเทาอาการแสบร้อนเบื้องต้นก่อน พร้อมกันนั้นก็พยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมทางเพศสักระยะด้วยค่ะ
13. โรคพาเจ็ต (Paget’s disease) เป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของกระดูก ซึ่งจะเกิดกับกระดูกส่วนไหนในร่างกายก็ได้ แต่หากเกิดกับกระดูกส่วนเต้านมจะเรียกว่า Paget’s disease of the nipple ซึ่งเป็นอาการร่วมอย่างหนึ่งของโรคมะเร็งเต้านม โดยลักษณะอาการของโรค คือ กระดูกจะหนาขึ้นและมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ มีอาการบวมแดงที่หัวนมและเต้านม พร้อมกับอาการเจ็บจี๊ด ๆ ที่หัวนม แต่ทว่าโอกาสเกิดโรคพาเจ็ตร่วมกับอาการมะเร็งเต้านมค่อนข้างเป็นไปได้ยากนะคะ เฉลี่ยแล้วพบโรคนี้ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพียงแค่ 1% เท่านั้นเอง และสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัด การรักษาด้วยคลื่นรังสี และการรักษาโรคมะเร็งเต้านมแบบอื่น ๆ
หากคุณแม่พบว่าตัวเองมีอาการเจ็บหัวนมละก็ อย่าลืมลองคลำบริเวณเต้านมของตัวเองดูนะคะ และหากเจอก้อนแข็ง ๆ ละก็ อย่าลืมรีบไปพบแพทย์โดยทันที เพื่อจะได้ตรวจสอบอาการอย่างละเอียดนั่นเอง
ขอบคุณที่มา: WeBMD และ Sanook
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่