ยาหมดอายุ-เสื่อมคุณภาพ...อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม! พร้อมวิธีสังเกตและตรวจสอบยาเสื่อมสภาพ - Page 3 of 3 - Amarin Baby & Kids

ยาหมดอายุ-เสื่อมคุณภาพ…อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม! พร้อมวิธีสังเกตและตรวจสอบยาเสื่อมสภาพ

event

วิธีการตรวจสอบและสังเกตยาเสื่อมคุณภาพ

ถึงแม้ยาที่ผลิตมานั้นจะผ่านกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตยา และผ่านการตรวจสอบคุณภาพมาอย่างเข้มงวดแล้ว แต่ไม่อาจคงคุณภาพนั้นไว้ได้ตลอดกาล เนื่องจากยาแต่ละชนิดมีความคงตัวแตกต่างกัน เมื่อเวลาผ่านไป ยานั้นๆ จะมีคุณภาพเปลี่ยนแปลงไป จึงต้องมีการกำหนดอายุการใช้ยา เพื่อไม่ให้มีการจัดเก็บยาไว้นานจนเกินไปจนยาหมดอายุและเสื่อมสภาพลงจนมีผลให้คุณภาพลดน้อยลงไปจากเดิม

ตัวอย่างลักษณะยาที่เสื่อมสภาพ

ยาเม็ด

เมื่อหมดอายุก็มักมีสีเปลี่ยนไปมีจุดด่างขึ้นรา และสังเกตได้ว่าเม็ดยาจะแตกร่วน เป็นผงง่าย เอามือจับรู้สึกเม็ดยานิ่ม ๆ บีบเบา ๆ ก็แตกแล้ว

ส่วนยาเม็ดที่เคลือบน้ำตาล (เช่น วิตามินรวม) เม็ดยามักดูเยิ้มเหนียว มีกลิ่นหืน ๆ บูด ๆ ผิดไปจากเดิม

 cc
ยาแคปซูล

> แคปซูลแข็ง: แคปซูลมักจะบวมโป่งอาจมีจุดเชื้อราขึ้นที่เปลือกแคปซูล ภายในแคปซูลจะสังเกตเห็นว่าผงยาเปลี่ยนสี จับกันเป็นก้อน เช่น ยาเตตราซัยคลินที่เสียแล้ว ผงยาจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาล ซึ่งเป็น อันตรายต่อไต

> แคปซูลนิ่ม : เปลือกแคปซูลเยิ้มเหลวเหนียวกว่าปกติ แคปซูลเปื่อยทะลุทำให้ตัวยาไหลออกมากด้านนอก

 71
ยาผงแห้ง

ผงยาจะจับตัวกันเป็นก้อนแข็งที่ไม่ปกติไม่สามารถละลายได้และถ้าที่ผนังภาชนะบรรจุมีไอน้ำหรือหยดน้ำแสดงว่ายาเตรียมนั้นไม่เหมาะที่จะนำไปใช้

แต่ถ้าเป็นยาแก้อักเสบบางชนิดที่เป็นผงต้องเติมน้ำและเขย่าก่อนกินนั้น หากเติมน้ำเข้าไปในขวดเลยบางครั้งก็เขย่ายากมาก ไม่ยอมละลาย ก่อนเติมน้ำต้องเขย่าขวดให้ผงยากระจาย ไม่เกาะติดก้นขวดก่อนเติมน้ำ และเขย่าอีกครั้ง อย่างนี้ไม่ใช่เสียเพียงแต่เขย่าผิดวิธี

 nn
ยาน้ำแขวนตะกอน

เช่น ยาลดกรดยาคาลาไมน์ ทาแก้คัน หากเสื่อมสภาพตะกอนจะจับกันเป็นก้อน เกาะติดกันแน่น เขย่าแล้วไม่กระจายตัวดังเดิม มีความเข้มข้น ทั้ง กลิ่น สี หรือรสก็เปลี่ยนไปจากเดิม

 mm
ยาน้ำอิมัลชั่น

ปกติเมื่อตั้งทิ้งไว้จะแยกเป็นชั้น และเมื่อเขย่าจะเข้ากันดี…แต่ถ้ายาเสื่อมแล้วเมื่อเขย่าจะไม่เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน

 o_1a1t5p62t1et71gq71j4fuspag5b
ยาน้ำเชื่อม

เช่น ยาแก้ไอสำหรับเด็ก หากหมดอายุ ยาจะมี ลักษณะขุ่นมีตะกอน ผงตัวยาละลายไม่หมด สีเปลี่ยน มี กลิ่นบูดเปรี้ยวหรือรสเปรี้ยว

ff
ยาขี้ผึ้ง

เกิดการแยกของของเหลวออกมาเยิ้มที่ผิวหน้าของยาเตรียมมีความข้นหนืด เปลี่ยนไป และมีกลิ่นเหม็นหืน

 uu_0
ยาครีม

การแยกของอิมัลชัน การโตของผลึก การหดตัวของเนื้อครีมเนื่องจากการระเหยของน้ำ และการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์

tt_0
ยาเจล

หากยาเสื่อมสภาพเนื้อเจลใสจะเปลี่ยนเป็นขุ่นและไม่เป็นเนื้อเดียวกัน

pp
อินซูลิน (ยาฉีด)

ลักษณะที่สำคัญที่สุดของสารละลายปราศจากเชื้อคือความใสและการคงสภาพความปราศจากเชื้อซึ่งมักสังเกตไม่ได้ด้วยตาเปล่า แต่อินซูลินชนิดขุ่น หากเสื่อมสภาพตะกอนจะจับกันเป็นก้อน เกาะ ติดกันแน่น เขย่าแล้วไม่กระจายตัวดังเดิม มีความเข้มข้น กลิ่น สีหรือรสเปลี่ยนไป

 ll
ยาหยอดตา

ถ้าเสื่อมจะเปลี่ยนจากน้ำใสๆ เป็นน้ำขุ่น หรือหยอดแล้วมีอาการแสบตา มากกว่าปกติ

kk
  • ยาบางอย่างที่ต้องเก็บในตู้เย็น มียาบางอย่างเท่านั้นที่จำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อกันการเสื่อม เช่น ยาพวกวัคซีนที่ใช้ฉีด หากคุณแม่พบเห็นคลินิกไหน เอาวัคซีนมาจากตู้ยามาฉีดโดยไม่ได้เก็บไว้ในตู้เย็น ก็ต้องทักท้วงและทวงถามกันหน่อยนะคะ
  • ยาเม็ดมากมายที่ใส่แผง (กระดาษฟรอยด์) ซึ่งกันทั้งความชื้นและกันการเสื่อมสภาพเร็ว จึงควรจะแกะยาต่อเมื่อถึงเวลาต้องกินแล้วเท่านั้น หากแกะออกมารวม ๆ กันในขวดอาจเสื่อม หมดอายุก่อนวันเวลากำหนด
  • ยาที่ได้จากโรงพยาบาลใส่ถุงซิปมาให้ ไม่มีวันหมดอายุ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะใช้ได้ถึง 5 ปี เพียงแค่วันหมดอายุอยู่ที่กระป๋องยาโรงพยาบาล ตามคลินิกมักจะไม่ได้เขียนไว้ในซองยาให้ ดังนั้นหากเป็นยาเม็ดที่เหลือค้างไว้ที่บ้าน อย่าเก็บไว้เกิน 1 ปี หากเป็นยาน้ำที่ไม่ใช่ยาแก้อักเสบเก็บได้ไม่เกิน 3 เดือน

นมผง และอาหารกระป๋อง หมดอายุ

shutterstock_112874689

นอกจากยาแล้ว อาหารหลายอย่างโดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูป นม มักมีอายุการเก็บ รวมทั้งวิธีการเก็บที่ถูกต้อง หากเก็บผิดวิธี อาจเสียก่อนหมดอายุ … หากกินอาหารหรือนมที่เสียแล้วหรือหมดอายุแล้ว อาจก่อให้เกิดภาวะอาหารเป็นพิษ โดยมีสาเหตุมาจากแบคทีเรียในอาหาร นม รวมทั้งสภาพทางชีวเคมีของอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป

การปฐมพยาบาล เมื่อกินยา หรือกินอาหารหมดอายุ

เบื้องต้นหากเพิ่งรู้ว่าทานยาหมดอายุไปอย่าตกใจเกินเหตุ และไม่ต้องล้วงคอ ไม่ต้องดื่มนม แต่ควรดื่มน้ำตามไปก่อน และเก็บฉลากให้รู้ชนิดยาที่กิน จำนวนที่กินเข้าไป สังเกตลักษณะที่ผิดปกติ เช่น สีที่เปลี่ยน กลิ่นที่ผิดปกติ และโทรถามศูนย์พิษวิทยา รพ.รามาธิบดี หมายเลข 02-201-1083 ซึ่งศูนย์พิษนี้จะเปิด 24 ชั่วโมง มีนักเภสัชวิทยาคอยให้คำแนะนำ บอกวิธีการปฐมพยาบาล และความจำเป็นที่จะต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือไม่ 

ดังนั้น ก่อนใช้ยาใดๆ จึงควรดูวันหมดอายุ และสังเกตสภาพยาว่าเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เพราะนอกจากจะรักษาไม่หายแล้ว ยังเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้ หากไม่แน่ใจให้ทิ้งไป และเพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : med.mahidol.ac.th

www.pharmacy.mahidol.ac.th

www.thaihealth.or.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up