โรคแปลก! ที่เป็นภัยเงียบคุกคามเพศหญิง อะไรคือ โรคฮันนีมูน ร่วมกันหาคำตอบได้ที่นี่!
โรคฮันนีมูนโรคที่ไม่ได้หวานเหมือนชื่อ … และแน่นอนว่า ไม่มีผู้หญิงคนไหนอยากเป็น เพราะถ้าเป็น รสชาติอาจจขมเหมือนยาพิษเลยก็เป็นได้
อะไรคือโรคนี้ วันนี้ทีมงาน Amarin Baby and Kids ได้เตรียมข้อมูลดังกล่าวจาก อาจารย์นายแพทย์ศิรส จิตประไพ จากคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่จะมาบอกเล่าถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันมาฝากคุณแม่ ๆ ทุกท่านได้ทราบกันค่ะ … พร้อมแล้วไปดูอ่านบทความนี้กันเลยค่ะ
โรคฮันนีมูน คืออะไร?
อาจารย์นายแพทย์ศิรส กล่าวว่า โรคฮันนีมูน หรือที่เรียกกันว่า Honeymoon disease นั้น เป็นโรคที่เกิดเฉพาะในเพศหญิงที่มีการอักเสบบริเวณท่อปัสสาวะ ช่องคลอด หรือ กระเพาะปัสสาวะ หลังจากมีเพศสัมพันธ์ ทำให้เกิดอาการแสบหรือเจ็บบริเวณท่อปัสสาวะในขณะถ่ายปัสสาวะ บางคนอาจถึงขั้นติดเชื้อแบคทีเรีย ถ้ามีภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบหลังการมีเพศสัมพันธ์ ก็จะเรียกว่า โรคฮันนีมูนซิสไตติส (Honeymoon Cystitis)
ที่มาของชื่อโรค
ในสมัยโบราณ การมีเพศสัมพันธ์จะเกิดได้ต้องหลังแต่งงานเท่านั้น และมักเกิดในช่วงที่มีเพศสัมพันธ์หลาย ๆ ครั้ง ในระยะเวลาอันสั้น ก็คือช่วงที่ฮันนีมูน โดยอาการที่คุณแม่สามารถสังเกตได้มีดังนี้ค่ะ
– ขณะถ่ายปัสสาวะ มีอาการแสบบริเวณปลายท่อปัสสาวะ หรือบริเวณปากช่องคลอด
– ถ้ามีภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบร่วมด้วย ก็จะมีอาการปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวัน กลางคืน ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะขัด กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะแล้วรู้สึกว่าไม่สุดต้องไปปัสสาวะอีกแม้เพิ่งปัสสาวะเสร็จ
– บางคนอาจจะมีอาการปวด หรือแสบบริเวณท้องน้อยร่วมด้วยทั้งตอนปวดและไม่ปวดปัสสาวะ
อ่านต่อเนื้อหาเพิ่มเติม >>
ใครคือบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ?
บุคคลที่จัดได้ว่าอยู่ในความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนั้น ก็ได้แก่
1.กลุ่มคนที่มีกิจกรรมเพศสัมพันธ์ หรือลักษณะคล้าย ๆ กันนั้นบ่อยครั้ง และหลายครั้งในเวลาอันสั้น
2.ผู้ที่ดื่มน้ำน้อย
3.ผู้ที่ชอบกลั้นปัสสาวะนาน ๆ
4.ผู้ที่เคยรับการผ่าตัด หรือการรักษาด้วยการฉายแสงบริเวณกระเพาะปัสสาวะและอวัยวะเพศมาก่อน
5.ผู้ที่มีภาวะต้านทานของร่างกายต่ำกว่าปกติ
วิธีการรักษา
- ในเบื้องต้นเลย หากรู้ว่าเป็นละก็ แนะนำว่าควรจะพักกิจกรรมทางเพศในระหว่างที่มีอาการดังก่อน
- หมั่นดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อระบายเชื้อโรคบริเวณกระเพาะปัสสาวะ หรือท่อปัสสาวะออก
- ถ้ามีอาการมากเกินไป แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ซึ่งมักจะต้องกรวดน้ำปัสสาวะ และอาจจะเพาะเชื้อน้ำปัสสาวะ ซึ่งถ้าพบว่าผิดปกติก็ต้องกินยาปฏิชีวนะ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
วิธีการป้องกัน
– ควรดื่มน้ำให้มาก ๆ อย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
– ดูแลความสะอาดบริเวณปลายท่อปัสสาวะและอวัยวะเพศ
– มีกิจกรรมทางเพศอย่างเหมาะสม โดยหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ควรไปปัสสาวะและทำความสะอาดบริเวณท่อปัสสาวะ รวมถึงอวัยวะเพศ
– ไม่ควรกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานเกินไป
– สังเกตพฤติกรรมการปัสสาวะของตนเองว่ามีการเปลี่ยนแปลงจากปกติที่เคยปฏิบัติหรือไม่ ภายหลังการเดินทาง โดยเฉพาะ”การฮันนีมูน”
– ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
เพศสัมพันธ์ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย หากแต่เรารู้จักวิธีป้องกัน และความเหมาะสม … ดังนั้น อย่าหักโหมกันนะคะ มิเช่นนั้นละก็ ความฟิน อาจจะเปลี่ยนเป็นการกลุ้มใจแทนก็เป็นได้
เครดิต: Sanook
อ่านต่อเนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่