อาหาร ต้านมะเร็ง …นี่คือสุดยอด “5 แกงไทย” ที่ฆ่าเซลล์มะเร็งได้ แต่ละเมนูทำไม่ยาก และเป็นแกงแบบไทยๆ อร่อยเต็มไปด้วยคุณประโยชน์ ให้คุณแม่บ้านทำให้คนในครอบครัวทาน เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคนในบ้าน
สุดยอด 5 แกงไทย อาหาร ต้านมะเร็ง
ขึ้นชื่อว่า”แกงไทย” หลายคนก็คงติดใจ ทั้งรสชาติที่อร่อยถึงใจ ถูกปากคนไทย และงานวิจัยของ รศ.ดร.สมศรี เจริญเกียรติกุล อาจารย์ประจำฝ่ายเคมีทางอาหาร สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จะทำให้เรารู้ว่า “แกงไทย” ยังมีประโยชน์ในด้านการลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้จริง เมื่อน้ำแกงจากแกงไทยยอดนิยม เช่น แกงเลียง แกงป่า แกงเหลือง แกงส้ม และต้มยำ ซึ่งเป็นอาหารที่ไม่ทำลายเซลล์ดี และไม่ได้รักษา แนะต้องกินหลากหลาย ไม่ซ้ำซากในทุกวัน
Must read : สัญญาณเตือนโรคมะเร็งในเด็กที่พ่อแม่ควรรู้
ได้ทดลองในห้องปฏิบัติการด้วยการนำพริกแกงและส่วนผสมในการทำอาหารแกงทั้ง 5 ชนิดในรูปของน้ำแกง มาทดลองกับเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในจานเพาะเชื้อ เพื่อดูว่าเซลล์มะเร็งตายมากน้อยแค่ไหน โดยทำการทดลองในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว เปรียบเทียบกับการเลี้ยงเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวตามปกติ และการให้ยาเคมีบำบัด เพื่อดูว่ามีเซลล์มะเร็งรอดชีวิตกี่เปอร์เซ็นต์ ตายกี่เปอร์เซ็นต์ และการตายของเซลล์มะเร็งนั้นเป็นการตายแบบธรรมชาติ คือ ค่อย ๆ ฝ่อ แบบค่อยเป็นค่อยไป หรือเซลล์ตายแบบไม่เป็นธรรมชาติ คือ เซลล์บวมแตก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเซลล์โดยรอบด้วย
เนื่องจากลักษณะการตายของเซลล์มะเร็งเป็นแบบบวมแตกและกระจายไปอวัยวะอื่นได้ ผลการทดลองพบว่า
- เซลล์มะเร็งที่ได้รับแกงป่า สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งให้ตายแบบธรรมชาติร้อยละ 38.82 และร้อยละ 43.93 ตายแบบผิดธรรมชาติ คืออาจลุกลามไปเซลล์ดีอื่นๆ
- ส่วนแกงส้ม เซลล์มะเร็งรอดตายได้ร้อยละ 29.08 และฆ่าเซลล์มะเร็งตายแบบไม่ลุกลามไปเซลล์อื่นถึงร้อยละ 43.59 แต่ในทางกลับกันมีเซลล์ที่ตายถึงร้อยละ 27.33 อาจกระจายไปเซลล์อื่นได้
- ส่วนแกงเหลืองพบว่า ตายตามธรรมชาติร้อยละ 22 เซลล์ตายผิดธรรมชาติถึงร้อยละ 46.13
- ส่วนแกงเลียงพบว่า ฆ่าเซลล์มะเร็งให้ตายโดยไม่กระทบเซลล์อื่นๆ ร้อยละ 38.98 มีเพียงร้อยละ 3.78 เท่านั้นที่เซลล์ตายแบบกระจาย
อย่างไรก็ตาม จากผลการทดลองทำให้อาจมองว่า แกงส้ม สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้มากที่สุดถึงร้อยละ 43.59 แต่หากพิจารณาดีๆ จะพบว่าตัวเลขฆ่าเซลล์มะเร็งแบบผิดธรรมชาติที่อาจลุกลามไปถูกเซลล์ดีอื่นๆในแกงส้มก็สูงเช่นกัน
แต่หากเป็น แกงเลียง จะพบว่า แม้การฆ่าเซลล์มะเร็งจะน้อยกว่า คือ ร้อยละ 38.98 แต่การลุกลามไปเซลล์ดีอื่นๆน้อยกว่ามาก โดยหลักส่วนผสมของแกงเลียงก็จะมี หอมแดง พริกไทย กะปิ ซึ่งหอมแดงมีประโยชน์มาก เพราะมีสารฟลาโวนอยด์ (flavonoid)สารพฤกษเคมี มีคุณสมบัติทำลายสิ่งผิดปกติ พวกอนุมูลอิสระ สารอักเสบที่เป็นบ่อเกิดการเกิดมะเร็งได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า ควรบริโภคแกงเลียงมากกว่าแกงอื่นๆ เพราะ แกงทั้ง 4 ชนิดมีประโยชน์ในแง่ต้านการเกิดมะเร็งได้ ไม่ได้รักษา สิ่งสำคัญคือ ต้องกินอย่างหลากหลาย ไม่ซ้ำซากในทุกวัน
Must read : แนะนำเมนูสำหรับคุณแม่หลังคลอด ลดอาการเจ็บปวด+ฟื้นฟูร่างกาย+กระตุ้นน้ำนม
อ่านต่อ >> “นักโภชนาการเผยผลวิจัย สุดยอด 5 แกงไทย อาหารต้านมะเร็งได้” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ผศ.สมศรี กล่าวด้วยว่า หลังได้ทดลองในห้องปฏิบัติการแล้ว ยังได้ทดลองประสิทธิภาพของแกงเลียงในหนูทดลอง โดยศึกษาหาสารต้านความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ มะเร็งในระยะเริ่มต้น ว่าลดลงหลังรับแกงเลียงหรือไม่?
โดยนักวิจัยได้นำส่วนผสมของแกงเลียง มีกุ้งแห้ง หอมแดง กะปิ พริกไทย ฟักทอง บวบ ตำลึง ใบแมงลัก จากนั้นนำมาต้นทำเป็นอาหาร และนำไปแช่แข็ง จนนำมาปั่นละลายน้ำให้หนูทดลองกิน ในปริมาณ 2 ระดับ คือ 1 หน่วยบริโภค ของน้ำหนักตัวหนู และ 2 หน่วยบริโภค โดยเทียบกับหนูที่กินอาหารปกติที่ไม่ใช่แกงเลียง
ทั้งนี้ พบว่า หนูที่เป็นมะเร็งและกินแกงเลียงในปริมาณ 1 หน่วยบริโภคเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ปรากฏว่าเซลล์มะเร็งลดลงร้อยละ 45 ขณะที่หนู กลุ่มที่กินแกงเลียงปริมาณ 2 หน่วยบริโภค เซลล์มะเร็งลดลงร้อยละ 48
สรุปคือ ไม่ว่าจะกินแกงเลียงปริมาณเท่าไรไม่ได้มีผลแตกต่าง แต่สามารถลดเซลล์มะเร็งในลำไส้ลงได้ร้อยละ 45-48 ทั้งนี้ เป็นผลวิจัยในสัตว์ทดลอง จึงไม่แนะนำให้กินเพื่อรักษาโรคมะเร็งลำไส้ แต่แนะนำให้กินเพื่อเสริมการรักษา เพราะเบื้องต้นพบว่า อาจลดการขยายของเซลล์มะเร็งไม่ให้ลุกลามได้ ซึ่งควรใช้ในแง่การป้องกันการเกิดโรคมากกว่า
ทุกคนในครอบครัวจะสามารถป้องกันมะเร็งได้อย่างไร?
มะเร็งเป็นโรคที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ แต่โดยส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก และจะพบได้สูงในผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
“มะเร็ง” หรือทางการแพทย์เรียกว่า “เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย” เป็นกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของเซลล์ที่มีความผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้อร้าย และรุกรานไปยังอวัยวะส่วนข้างเคียง หรือแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายที่อยู่ห่างไกล ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด
Must read : 19 สัญญาณเตือนโรคมะเร็ง ที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม
ผลการวิจัยจากทั่วโลกยืนยันตรงกันว่าโรคมะเร็งร้อยละ 60 สามารถป้องกันได้ โดยการ
- ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี
- ตรวจเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม
- ฉีดวัคซีนป้องกันในมะเร็งบางประเภท
- ไม่สูบบุหรี่หรือยาเส้น
- ไม่ดื่มสุรา
- ไม่สำส่อนทางเพศ
- ปกป้องตัวเองจากแสงแดดจัด
- รับประทานอาหารที่ช่วยต้านมะเร็ง
- ผักและผลไม้บางประเภท ที่มีสารช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการทำลายเซลล์ที่ก่อมะเร็ง เช่น คะน้า บร็อกโคลี กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก มะเขือเทศ กระเทียม หัวหอม ขึ้นฉ่าย ผักโขม แครอท แอปเปิล ส้ม บีทรูท เห็ดหลินจือ
- ธัญพืช ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกจึงลดการเกิดโรคมะเร็งได้ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวสาลี ลูกเดือย งาดำ
- ดื่มน้ำสะอาดที่มีอุณหภูมิปกติไม่ร้อนหรือเย็น ให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อช่วยทำความสะอาดและขจัดสารพิษสิ่งสกปรกออกจากเซลล์ในร่างกาย
- ชาเขียว ที่ประกอบด้วยสารคาเทชินและสารเคมีอีกหลายชนิด ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระในระดับสูง จึงช่วยป้องกันโรคมะเร็ง รวมถึงลดการเติบโตของมะเร็งได้ แต่ควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นอาหารจากพืชมากขึ้นทั้งผักและผลไม้ เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ผ่านการขัดสีให้มากขึ้น
- ไม่รับประทานอาหารที่ผ่านกรรมวิธีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น อาหารปิ้งย่างและรมควัน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
อ่านต่อ >> “ คลิปวีดีโอสุดยอด “5 แกงไทย” ที่ฆ่าเซลล์มะเร็งได้” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
คลิปต่อไปนี้เหมาะสำหรับทุกคนในครอบครัวเพื่อสุขภาพที่ดี โดยเนื้อหาในคลิปจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ สุดยอด “5 แกงไทย” ที่ฆ่าเซลล์มะเร็งได้ แต่ละเมนูทำไม่อยาก จะมีเมนูอะไรบ้าง ลองไปชมจากในคลิปนี้กันเลย
ผู้ป่วยมะเร็งหากจะหันมาบริโภคแกงเลียงได้หรือไม่ ?
ผศ.สมศรี กล่าวว่า หากป่วยก่อนอื่นต้องรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันก่อน ส่วนการบริโภคแกงเลียงสามารถทานได้ แต่ไม่ใช่ทานทุกวันทานตลอด โดยหวังว่าจะทำให้หายจากโรค เพราะการบริโภคที่ถูกต้องคือ ต้องทานอย่างหลากหลาย ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า หากอยากมีสุขภาพดีต้องปรับพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกต้อง โดยเฉพาะการกินผักและผลไม้ ควรทานวันละอย่างน้อย 4 ขีด หรือ 400 กรัม สิ่งสำคัญคือ ทานอะไรก็ตามต้องไม่มากเกินไป อย่ากินอะไรซ้ำซาก เพราะจะทำให้ร่างกายขาดสมดุลของสารอาหารอื่นๆไปด้วย
อาหาร แกงและต้ม ทั้ง 5 ชนิดมีประโยชน์ช่วยต้านการเกิดมะเร็งได้ อาจลดการขยายของเซลล์มะเร็งได้ ควรใช้ในแง่การป้องกันมากกว่าการรักษาโรค หากป่วยก็ควรรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันก่อน ส่วนงานวิจัยดังกล่าวทำขึ้นเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน การโฆษณาโดยนำผลวิจัยไปอ้างอิงต้องระวัง เพราะคนที่มีปัญหาสุขภาพแล้วไม่เข้าใจ เมื่อกินไปแล้ว กินมาก ๆ ก็อาจส่งผลต่อการรักษาในแพทย์แผนปัจจุบันได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ หากจะกินควรปรึกษาแพทย์
…นอกจากนี้ การกินอาหารอะไรก็ตามขอให้กินอย่างมีสติ กินอาหารอย่างหลากหลาย แม้พิสูจน์แล้วว่าอาหารนั้นดี มีประโยชน์ ก็ไม่ควรกินซ้ำ ๆ ทุกวัน แต่ควรเปลี่ยนอาหาร กินหมุนเวียนไปเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดความสมดุลของอาหารตามที่ร่างกายควรได้รับ
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- 5 มะเร็งในผู้หญิง ที่เสี่ยงเป็นกันมาก
- 10 สัญญาณเตือน มะเร็งปากมดลูก
- สัญญาณ มะเร็งอัณฑะ จากปัสสาวะคุณผู้ชาย
- ข่าวดีเพื่อทุกครอบครัว! 10 โรคมะเร็งรักษาฟรี ประกันสังคมจ่ายให้
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.phukethospital.com , www.komchadluek.net , www.manager.co.th
ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : Mahidol Channel มหิดล แชนแนล