AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

7 อาการเสี่ยง ช็อกโกแลตซีสต์ เป็นแล้วมีลูกได้ไหม ท้องยากจริงหรือ?

ช็อกโกแลตซีสต์

‘ซีสต์’ เป็นโรคที่พบได้ในผู้หญิงทุกเพศทุกวัยและพบได้ในหลายจุด และสำหรับผู้หญิงที่วางแผนจะมีบุตรควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์ เพราะหากเป็น ช็อกโกแลตซีสต์ อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคตได้

โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) หรือโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ คือ ถุงน้ำในรังไข่ประเภทหนึ่งที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ และสามารถมีการเจริญเติบโตได้จากการที่ได้รับฮอร์โมนในร่างกายมากระตุ้น โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศหญิง เซลล์เหล่านี้จะมีขนาดเป็นจุดเล็กๆ สีน้ำตาลคล้ายจุดห้อเลือด ในแต่ละเดือนเมื่อถึงเวลาเป็นประจำเดือนก็จะมีเลือดสะสมและตกค้างก่อตัวเป็นซีสต์โตขึ้น เมื่อมีการสะสมของเลือดนาน ๆ  สีเลือดจึงเปลี่ยนเป็นสีเข้ม จึงทำให้เกิดลักษณะของเหลวเหนียวข้นสีน้ำตาลเข้มและข้น คล้ายสีและลักษณะของช็อกโกแลต และแทนที่เลือดจะไหลออกมาทางช่องคลอดตามปกติ แต่กลับมีประจำเดือนส่วนหนึ่งไหลย้อนไปทางหลอดมดลูกเข้าไปในช่องท้องแล้วไปฝังตัวที่รังไข่จนทำให้เกิดเป็นถุงน้ำ หรือถุงที่มีเลือดคั่งและไปเจริญเติบโตในอวัยวะต่าง ๆ เช่น อุ้งเชิงกราน ท่อรังไข่ ลำไส้ช่องคลอด มดลูก กระเพาะปัสสาวะ

ช็อกโกแลตซีสต์ เป็นแล้วมีลูกได้ไหม ท้องยากจริงหรือ?

นพ.ธีรยุทธ์ จงวุฒิเวศย์ สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ผู้มีประสบการณ์ด้านสูตินรีเวชและเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลพญาไท ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องซีสต์ที่รังไข่ว่า ซีสต์ที่ทำให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ มักจะเกิดจากซีสต์ที่เป็นโรค เช่น ช็อกโกแลตซีสต์ ซึ่งมักจะส่งผลต่อกลไกการทำงานของรังไข่และทำให้คนไข้มีลูกได้ยากขึ้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดตามตำแหน่งที่เกิดโรค

เพราะฉะนั้นแล้วไม่ว่าซีสต์จะเกิดขึ้นในรังไข่หรือนอกรังไข่ก็สามารถส่งผลกระทบกับการตั้งครรภ์ได้ทั้งสิ้น เพราะว่าระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงเป็นกลุ่มโรคที่โยงถึงกันอยู่

7 อาการที่เสี่ยงเป็นช็อกโกแลตซีสต์

ช็อกโกแลตซีสต์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและไม่ค่อยเป็นอันตราย แต่ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เพียงแต่จะแสดงอาการหรือส่งผลต่อร่างกายมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล เริ่มตั้งแต่ไม่มีความผิดปกติใด ๆ แสดงอาการเพียงเล็กน้อย หรือรุนแรง ซึ่งอาการที่พบบ่อย เช่น

1.ปวดท้องมากผิดปกติเวลามีประจำเดือน และปวดมากขึ้น ๆ ทุกเดือน ซึ่งมักจะเริ่มปวดก่อนประจำเดือนมา 2-3 วันไปจนหมดรอบเดือน โดยอาจจะปวดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ตั้งแต่สะดือไปถึงอุ้งเชิงกรานและตั้งแต่บั้นเอวไปถึงก้นกบ ต่างกับการปวดประจำเดือนปกติที่มักปวดในช่วงวันแรก ๆ และไม่รุนแรง รวมถึงการปวดท้องน้อยเวลามีเพศสัมพันธ์

2.ประจำเดือนมานานผิดปกติหรือมามากกว่า 7 วัน และการมีเลือดออกทางช่องคลอดอย่างผิดปกติ

3.ประจำเดือนมาถี่ มีระยะห่างระหว่างที่เป็นประจำเดือนแต่ละรอบสั้นกว่าปกติ คือประจำเดือนมามากกว่าเดือนละ 2 ครั้ง

4.ปัสสาวะบ่อยขึ้น อาจเป็นเพราะก้อนซีสต์มีขนาดใหญ่ และไปเบียดกระเพาะปัสสาวะจนทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติ

5.ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะเป็นเลือด ในช่วงมีประจำเดือน บางรายอาจมีอาการปวดขณะถ่ายอุจจาระหรือปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานมากขณะปัสสาวะ

6.มีเลือดออกกะปริบกะปรอยทางช่องคลอด หรืออาการอื่น ๆ คล้ายกับช่วงมีประจำเดือน

7.ปวดไมเกรนบ่อย โดยเฉพาะช่วงก่อนและระหว่างมีประจำเดือน

บางรายอาจไม่มีอาการใด ๆ แสดงออกมาเลย แต่ถ้าคลำพบก้อนแข็งบริเวณท้องน้อย ซึ่งอาจจะอยู่ตรงกลางหรือด้านข้าง ก็มีความเสี่ยงที่ในระยะที่เป็นอันตรายได้ เนื่องจากถุงน้ำโตขึ้นจนมีขนาดใหญ่ หรือถ้าเป็นคนผอมแต่มีพุงให้ตั้งข้อสงสัยว่าอาจมีถุงน้ำขนาดใหญ่เกิดขึ้นภายในท้อง หากสังเกตตัวเองแล้วพบว่ามีอาการดังที่กล่าวมานี้ ก็เป็นไปได้ว่ามีความเสี่ยงที่กำลังป่วยเป็นโรคช็อกโกแลตซีสต์ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาต่อไป เพื่อไม่ปล่อยให้อาการลุกลามจนกลายเป็นระยะที่รุนแรง ที่จะสร้างความทรมานให้กับร่างกายได้ไม่น้อย

อ่านต่อ วิธีรักษาเมื่อตรวจพบช็อคโกแลตซีสต์ คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

วิธีรักษาเมื่อตรวจพบช็อคโกแลตซีสต์

ทั้งนี้การผ่าตัดก็มีผลข้างเคียงและความเสี่ยงจากการผ่าตัดด้วยเช่นกัน เช่น การดมยาสลบ การสอดกล้องในหน้าท้องที่มีพังผืดเยอะซึ่งเกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อาจจะไปโดนอวัยวะต่าง ๆ ข้างในได้ การลอกซีสต์ออกจากรังไข่อาจทำให้เนื้อที่ดีของรังไข่ที่ติดกับผนังซีสต์ออกไปด้วย เมื่อผนังรังไข่หายไปส่วนหนึ่ง จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของรังไข่ ปริมาณฟองไข่ และการโตของไข่ก็อาจจะลดลงตามไปด้วย ถ้าซีสต์มีขนาดเล็กอาจจะลอกง่ายและไม่มีผลกับผนังรังไข่มาก แต่ถ้าซีสต์มีขนาดใหญ่มาก ต้องลอกเนื้อรังไข่ออกไปมากก็อาจจะทำให้รังไข่ผลิตไข่ได้น้อยลงหรือผลิตไม่ได้เลยก็เป็นได้ ซึ่งก็จะส่งผลต่อการมีลูกยากได้

อย่างไรก็ตามวิธีการรักษาซีสต์ที่เหมาะกับแต่ละคนนั้นจะแตกต่างกันไปตามลักษณะของโรคและความต้องการในการรักษา สำหรับครอบครัวที่ต้องการจะมีลูก คุณหมอก็จะหาวิธีช่วยให้ปลอดโรคและวางแผนสำหรับการมีบุตรต่อไปในอนาคต ทั้งนี้เมื่อตั้งครรภ์ได้อาการของโรคนี้จะดีขึ้น โดยในช่วง 1-2 ปี หลังการผ่าตัด พบว่าเป็นช่วงเวลาทอง (Golden period) ของการมีบุตร ที่ผู้ป่วยจะมีโอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์สูงขึ้น เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์จะไม่มีประจำเดือนเกิดขึ้นจนถึงหลังคลอดและช่วงให้นมแม่ที่จะทำให้ประจำเดือนมาช้าออกไปอีก โอกาสเกิดประจำเดือนไหลย้อนก็จะน้อยลง

Chocolate Cyst

ขณะตั้งครรภ์เป็นช็อกโกแลตซีสต์ ควรทำอย่างไร?

สำหรับแม่ท้องที่ตรวจพบว่ามีช็อกโกแลตซีสต์ตอนตั้งครรภ์ คุณหมอก็จะติดตามอาการและขนาดของก้อนถุงน้ำจากการตรวจอัลตร้าซาวด์เป็นระยะ โดยถ้าก้อนขนาดเท่าเดิมหรือเล็กลงก็จะติดตามขนาดของก้อนถุงน้ำต่อไปเรื่อยๆ  ซึ่งส่วนใหญ่มักพบว่าก้อนยุบลงหรือหายไป เนื่องจากตลอดการตั้งครรภ์จะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูง ซึ่งจะไปต้านการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ช็อกโกแลตซีสต์ฝ่อเล็กลงหรือหายไปในระหว่างตั้งครรภ์ แต่ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือโตเร็ว ก็อาจพิจารณาเรื่องของการผ่าตัดเป็นราย ๆ ไป เพื่อป้องกันการแตกของก้อนกรณีที่ก้อนมีขนาดใหญ่มากกว่า 5 เซนติเมตร หรือสงสัยว่าเป็นเนื้องอกชนิดลุกลามในกรณีที่พบว่าก้อนโตเร็ว ซึ่งจะพบได้น้อยมาก

ถึงแม้ว่าโรคช็อกโกแลตซีสต์นั้นแม้จะเป็นโรคเนื้องอกถุงน้ำที่ไม่ใช่เนื้อร้าย ไม่ใช่โรคร้ายที่อันตรายถึงชีวิต แต่ก็นับว่าเป็นโรคของผู้หญิงที่พบได้บ่อยขึ้นในปัจจุบัน ถ้าหากมีอาการแล้วไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยทิ้งไว้ให้มีอาการมาก ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีลูกยากได้ หรือถ้าเป็นแล้วได้รับการรักษาก็สามารถมีลูกได้ค่ะ ดังนั้นสำหรับคุณผู้หญิงที่ต้องการจะเป็นคุณแม่ควรที่จะวางแผนก่อนมีบุตร และตื่นตัวที่จะมารับการตรวจมากขึ้น เพื่อให้เกิดความสบายใจหายกังวลนะคะ.

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.paolohospital.comwww.phyathai.comwww.haijai.com

อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

4 โรคของผู้หญิง ที่ไม่ควรมองข้าม อย่าอายที่จะไปตรวจ!

9 คาถากันโรคภัยไข้เจ็บ สวดได้ทุกวันทั้งครอบครัว

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids