โรคมะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยอันดับ 1 ในผู้หญิงไทยและผู้หญิงทั่วโลก โดยในปัจจุบันนี้คนไทยตื่นตัวกับโรคนี้กันมากขึ้น แต่ก็ยังมีความเชื่อที่ผิดๆ เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม
8 เรื่องเข้าใจผิด “โรคมะเร็งเต้านม” ผู้ชายก็เป็นได้
โรคมะเร็งเต้านม เป็นโรคมะเร็งที่เกิดจากเนื้อเยื่อที่มีความผิดปกติ ส่วนใดส่วนหนึ่งภายในเต้านมเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งและขยายใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นก้อนเนื้อร้าย ก่อนจะลุกลามไปสู่เนื้อเยื่อข้างเคียงและแพร่กระจายไปยังเซลล์อื่นของร่างกาย
ภายในเต้านมของผู้หญิงจะประกอบไปด้วยต่อมผลิตน้ำนม ท่อน้ำนม เนื้อเยื่อไขมัน ท่อน้ำเหลือง เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน หลอดเลือดต่าง ๆ ซึ่งเซลล์มะเร็งส่วนใหญ่ที่พบมักจะเกิดขึ้นบริเวณต่อมผลิตน้ำนม (Lobules) และท่อน้ำนม (Ducts) มากกว่าส่วนอื่น การก่อตัวของมะเร็งเต้านมสามารถเกิดขึ้นได้กับเซลล์ทุกส่วนภายในเต้านมในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากเซลล์ผิดปกติมีการแบ่งตัวมากขึ้นเป็นจำนวนมากจนไม่สามารถควบคุมได้ และขยายใหญ่ขึ้นเป็นก้อนเนื้อร้าย ก่อนจะแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง ระบบน้ำเหลือง และสุดท้ายกระจายไปยังกระแสเลือด และไปยังอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
เนื่องจากยังไม่พบสาเหตุการเกิดมะเร็งเต้านมที่แน่ชัด แต่ก็พบปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้มากขึ้น โดยเฉพาะในเพศหญิง ทั้งจากสภาพแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมการใช้ชีวิต อายุที่มากขึ้น ผู้หญิงที่ไม่มีบุตร หรือมีช่วงระยะของการมีประจำเดือนนาน และอีกหลายปัจจัย ทั้งนี้บางปัจจัยสามารถแก้ไขได้ แต่บางปัจจัยไม่สามารถควบคุมได้ แต่ก็ยังมีความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม ที่บางความเชื่อผิด ๆ นั้น อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้ ทีมงาน Amarin Baby & Kids จึงนำคลิปจาก Mahidol Channel มหิดล แชนแนล ซึ่ง ศ.ดร. นพ.พรชัย โอเจริญรัตน์ หัวหน้าสาขาวิชาศัลยศาสตร์ศ
8 เรื่องเข้าใจผิด “โรคมะเร็งเต้านม”
-
หน้าอก “ใหญ่” เสี่ยงกว่าหน้าอก “เล็ก”
ความจริงคือมีความเสี่ยงเท่ากัน ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าภายในเต้านมนั้นมีส่วนประกอบมากมาย รวมถึงไขมัน การที่หน้าอกใหญ่นั้นอาจจะเป็นเพราะมีไขมันที่บริเวณหน้าอกเยอะแต่เนื้อหน้าอกอาจจะน้อย และสำหรับคนที่หน้าอกเล็ก นั้นก็สามารถมีเนื้อหน้าอกเยอะกว่าปริมาณไขมันได้เช่นกัน ดังนั้นไม่ว่าจะหน้าอกขนาดไหน ก็มีความเสี่ยงเท่า ๆ กันหมด
2. ยกทรงคับเกินไป ต้นเหตุมะเร็งเต้านม
ความจริงคือยังไม่มีการศึกษาหรืองานวิจัยใด ๆ ที่สามารถนำมายืนยันได้ว่า การที่หน้าอกโดนบีบรัดหรือกระแทกมากจนเกินไปจะทำให้เป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ แต่การใส่เสื้อในที่มีขนาดพอดีกับขนาดเต้านม ก็จะช่วยให้ผู้สวมใส่สบายตัวและมั่นใจมากขึ้นนะคะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ 8 เรื่องเข้าใจผิด “โรคมะเร็งเต้านม”
8 เรื่องเข้าใจผิด “โรคมะเร็งเต้านม”
3. ประจำเดือนมาเร็ว เสี่ยงมะเร็งมากกว่า
โดยเฉลี่ยที่เด็กผู้หญิงไทยจะเริ่มมีประจำเดือนจะอยู่ที่ประมาณ 13 ปี แต่หากเด็กผู้หญิงคนไหนที่มีประจำเดือนก่อนอายุ 13 ปี ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่า แต่ในทางกลับกัน ผู้หญิงที่ประจำเดือนมาเร็วแต่หมดช้า ประมาณอายุ 55 ปี แต่ประจำเดือนยังไม่หมด กลับมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่า แต่เป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น และการที่ประจำเดือนหมดช้า ก็ไม่ได้ทำให้เกิดความเสี่ยงกับทุกคนเสมอไป
4. มีถุงน้ำ (ซีสต์) ในเต้านม = เป็นมะเร็งเต้านม
ถุงน้ำหรือซีสต์ในเต้านมนั้น เกิดจากภายในเนื้อเต้านมมีการตอบสนองต่อฮอร์โมนมากกว่าปกติ จนมีการสร้างน้ำและถุงน้ำขึ้นมาภายในเนื้อเต้านม ซึ่งถุงน้ำเหล่านี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับโรคมะเร็งเต้านมเลย
ขอบคุณคลิปจาก : Mahidol Channel มหิดล แชนแนล
5. แมมโมแกรม เสี่ยงมะเร็ง?
ในปัจจุบันนี้เครื่องแมมโมแกรม เป็นแบบ Digital ซึ่งมีปริมาณรังสีอยู่น้อยมาก น้อยกว่าเครื่องเอ็กซเรย์ปอดด้วยซ้ำ ดังนั้น โอกาสที่รังสีในเครื่องแมมโมแกรมจะไปเพิ่มความเสี่ยงให้เป็นโรคมะเร็งนั้น เป็นไปได้น้อยมาก ๆ
6. ศัลยกรรมเสริมหน้าอก เพิ่มความเสี่ยงมะเร็ง
การเสริมหน้าอก มักจะใช้ซิลิโคน ในการเสริมขนาด และซิลิโคนเหล่านี้ ทาง FDA ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับรองว่าปลอดภัย ดังนั้น การศัลยกรรมเสริมหน้าอก ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมแต่อย่างใด เพียงแต่สิ่งที่ยุ่งยากสำหรับผู้หญิงที่ทำศัลยกรรมเสริมหน้าอกคือความยุ่งยากในการทำแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์นั่นเอง
7. โรคมะเร็งเต้านม ผู้ชายก็เป็นได้
ใครว่าโรคนี้เป็นได้แค่กับผู้หญิง มะเร็งชนิดนี้สามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย แต่พบในเพศชายในอัตราที่น้อยมาก
8. เป็นมะเร็งเต้านม มีโอกาสรอดต่ำ
ความรุนแรงของโรคมะเร็งเต้านมขึ้นอยู่กับระยะที่พบโรค หากตรวจพบในระยะที่ 1-2 ก็จะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี อยู่ที่ประมาณ 93% – 100% เลยทีเดียว แต่หากตรวจพบในระยะท้าย ๆ แน่นอนว่าอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี ก็จะน้อยลงไปอยู่ที่เพียง 22% – 72% เท่านั้น คุณหมอจึงแนะนำว่าควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำ เพราะการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น จะเพิ่มโอกาสในการรักษาให้ผู้ป่วยหายขาดได้มากขึ้น
เมื่อทราบถึงความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว อย่าลืมไปตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมกันนะคะ โดยผู้หญิงไทย (ทั้งต่างจังหวัด และกรุงเทพฯ) อายุ 30-60 ปี สามารถเข้ารับการ ตรวจมะเร็งปากมดลูก ได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และนอกจากการตรวจคัดกรองได้ที่โรงพยาบาลแล้ว ยังสามารถ ตรวจมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านมได้ที่ ศูนย์บริการสาธารณสุขกรุงเทพ 68 แห่ง ได้ ฟรี ปีละ 1 ครั้งอีกด้วย (อ่านต่อ หญิงไทยฟังทางนี้!! ตรวจมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมฟรี!!)
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
4 วิธีการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง คลำหาง่าย ๆ ด้วยสองมือเรา (มีคลิป)
10 อาหารก่อมะเร็ง ยิ่งกินมาก ยิ่งทำลายสุขภาพ
สุดยอด 5 แกงไทย! ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้ เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคนในครอบครัว
ขอบคุณข้อมูลจาก : Mahidol Channel มหิดล แชนแนล, www.pobpad.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่